Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ - Coggle Diagram
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ
จากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ มดลูกมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทําให้รูเปิดของหลอดไตที่กระเพาะปัสสาวะเกิดการบิดงอ ขับปัสสาวะออกไม่สะดวก ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะและกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด รายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลกระทบต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด ทารกน้ําหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
อาการและอาการแสดง:
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI) จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปวดบริเวณหัวหน่าว
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI) จะพบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ําล้างเนื้อ เจ็บบริเวณชายโครงปวดหลังบริเวณตําแหน่งของไต มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน หากอาการรุนแรงอาจมีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต ปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ พบโปรตีนในปัสสาวะมาก โปรตีนในเลือดต่ํา ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวม มีผลต่อการตั้งครรภ์คือทําให้ทารกในครรภ์น้ําหนักน้อย หรือคลอดก่อนกําหนด
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ มีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัดมีไข้สูง อ่อนเพลีย และปวดบริเวณท้องน้อย
ภาวะไตวาย
ไตวายเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากโรคหลายอย่าง เช่น DM, SLE, glomerulonephritis ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการตั้งครรภ์
ตวายเฉียบพลัน มีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ (septic abortion), preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia syndrome ทําให้มารดาที่มีภาวะนี้ได้รับการดูแลและสามารถตั้งครรภ์ต่อได้
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ ไม่จําเป็นต้องได้รับการรักษา แต่หากพบในขณะตั้งครรภ์ จําเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการยืดขยายของทางเดินปัสสาวะ เชื้อโรคอาจแพร่กระจายไปยังกรวยไตทําให้เกิดกรวยไตอักเสบ
พยาธิสรีรวิทยา
การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะได้ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะตั้งครรภ์ของไต
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย จะตรวจพบปัสสาวะขุ่น หรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ําล้างเนื้อ มีไข้ ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว หากกดบริเวณcostovertebral angle จะปวดมาก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจ urine analysis จะพบไข่ขาว เม็ดเลือดขาย ตรวจ urine culture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า105 dfu/ml ในรายที่มีการติดเชื้อที่กรวยไต ควรตรวจ urine culture
ซักประวัติเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ช่น ปัสสาวะลําบาก ปัสสาวะไม่สุด หรือปัสสาวะเป็นเลือด
แนวทางการป้องกันและรักษา
การป้องกัน
แนะนําให้ดื่มน้ําอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ตรวจเพาะเชื้อปัสสาวะ ในสตรีที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกทุกรายหรือทําเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยง
แนะนําให้ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
การรักษา
การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อและปลอดภัยต่อมารดาและทารกมากที่
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายทางหลอดเลือดดํา และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดํา และส่งตรวจ Urine culture เมื่อตรวจไม่พบเชื้อในปัสสาวะจึงเปลี่ยนมาเป็นยาชนิดรับประทาน
การติดเชื้อแบบ ASB จําเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาทุกราย เพื่อป้องกันการเกิด upper UTI โดยให้ยาปฏิชีวนะ หลังจากได้รับการรักษา 7 วัน ควรตรวจ urine culture เพื่อตรวจหาเชื้อโรคซ้ําจากนั้นตรวจทุกเดือนจนกระทั่งคลอด
:การพยาบาล
ระยะตั้งคลอด
แนะนําการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อและกลับมาเป็นซ้ำ
ดื่มน้ําวันละ 8-10 แก้วและไม่กลั้นปัสสาวะ
รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะรับประทานยา
แนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบาพบแพทย์ เช่น ปัสสาวะแสบขัด
ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการติดเชื้อ
ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารกเพื่อประเมินสภาวะของทารกในครรภ์
แนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับท่อไต
สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกจากร่างกาย และติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินการทํางานของไต
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ ยากลุ่มสเตียรอยด์
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ไตวาย
ความสําคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
แนะนําเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก และแผนการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์คลายความวิตกกังวล
ระยะคลอด
เน้นเรื่องการทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่ายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การสังเกตอาการผิดปกติ
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
เน้นการคุมกําเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกําเนิดแบบถาวร เพราะการตั้งครรภ์จะทําให้โรครุนแรงมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อชีวิตของมารดาได้