Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่นๆ ขณะตั้งครรภ์ ดด - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่นๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
อธิบาย
เกิดจากการติดเชื้อ hepatitis A virus เชื้อไวรัสสามารถทำให้ตับเกิดการอักเสบ ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคตับอักเสบเอเข้าไป เชื้อไวรัสผ่านกระเพาะไปยังลำไส้ จากนั้นประมาณ 15-50 วัน (เฉลี่ย 28 วัน) เชื้อจะกระจายเข้าสู่ตับทำให้ตับเกิดการอักเสบเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ปวดข้อ
ปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน แต่เมื่อใดที่ตรวจพบน้ำดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทำงานผิดปกติ ซึ่งทำให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง
ตรวจพบ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น อาการจะมีอยู่ 10-15 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักฟื้น และหายจากการเป็นโรค
ผู้ที่หายจากการเป็นโรคแล้วมักจะมีภูมิคุ้มกัน และจะไม่เป็นพาหะ ไม่เป็น chronic hepatitis หรือ chronic liver disease
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV สามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้และมีผลคุ้มกัน ทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทำงานของตับ
การป้องกันและการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาการติดเชื้อ HAV ให้หายได้อย่างเด็ดขาด ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ ถึงแม้ว่าเชื้อ HAV จะไม่ผ่านรก แต่หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อในระยะใกล้คลอด ทารกมีโอกาสติดเชื้อหลังคลอดได้ ดังนั้นอาจพิจารณาให้ immune serum globulin (ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ หรือรายที่ต้องไปอยู่ในถิ่นที่มีการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของตับอักเสบไวรัสเอ ส่วนทารกที่คลอดจากสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอดควร ได้รับ ISG ขนาด 0.5 mg แก่ทารกทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสมและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
อธิบาย
เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus ผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะแบ่งตัวได้รวดเร็วส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง โดยผู้ที่ติดเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการของตับอักเสบทำให้ไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย
ตับยังคงมีการอักเสบเรื้อรังอย่างต่อเนื่องทำให้กลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับในอนาคต
ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อ Hepatitis B virus ประมาณ 2.2 – 3 ล้านคน พบมากในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป คาดว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศไทยติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก ประมาณ 3,800 ราย
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรก เมื่อได้รับเชื้อ Hepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับ เชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ แต่ หากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (viral load) จำนวนมาก
ระยะที่สอง ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง anti-HBe ขึ้นมาเพื่อทำลาย HBeAg
ระยะที่สาม เป็นระยะที่ anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier) ซึ่งหากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวกและค่าเอนไซม์ ตับปกติ
ระยะที่สี่ เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทำให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน) ดังนั้นในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ
ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลำพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้ จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้นและส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์
มีบางส่วนที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะตับวายกลายเป็นมะเร็งตับและเสียชีวิตในที่สุด โดยโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งตับจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนเชื้อไวรัสในร่างกายและอายุที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิดและทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นบวกจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสตรี ตั้งครรภ์ไปสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 90 และสามารถพัฒนาเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคตในขณะที่สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นลบจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อเพียงร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 20 เท่านั้น
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลือง ตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจการทำงานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody ของ ไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
แนวทางการป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกและตรวจซ้ำอีกครั้ง ในไตรมาสที่ 3 หากผลเป็นบวก ตรวจหา HBeAg
2.กรณีที่เป็นให้รักษา
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทำงานหนักหรือออกกำลังกาย
แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน อาจให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
แนะนำให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด เพื่อหา HBsAg และ HBsAb
รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ ต้องให้การรักษา ด้วยยา Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) ขนาด 300 mg รับประทาน วันละ 1 ครั้ง เริ่มรับประทานเมื่ออายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ และให้ต่อเนื่องจนครบ 4 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อลดการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus แต่ค่า HbeAg เป็นลบ และเอนไซม์ตับปกติ ไม่จำเป็นต้องรักษา
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด เพราะอัตราการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากมารดาสู่ทารก
ทารกที่เกิดจากสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus ควรได้รับการฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุด และฉีด HB vaccine ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด ถ้าไม่สามารถ ฉีด HBIG ได้ทันทีหลังคลอดจะต้องฉีดภายใน 7 วัน หลังคลอด
มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus องค์การอนามัยโลก (2016) แนะนำว่าสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมารดาได้ทันที
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ประเมินการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด และสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูกเลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้ มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด เพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด โดยฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด
ให้การดูแลผู้คลอดโดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก เนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านน้ำนมพบได้น้อยมาก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ำคาวปลา
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนำบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อ ติดตามอาการและป้องกันการติดเชื้อ
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อและอยู่ในระยะที่มีอาการ
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดำเนินของโรค
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
อธิบาย
หัดเยอรมัน (Rubella หรือ German measles) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ rubella virus (german measles virus) โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ มีระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะติดเชื้อ 7 วัน ก่อนผื่นขึ้นและ 4 วันหลังผื่นขึ้น หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะ 3-4 เดือนแรกของการ ตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสจะสามารถผ่านไปยังทารก ทำให้ทารกเกิดความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงได้
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรค
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ำเหลืองโต
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อ น้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่น ขึ้นเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย จะเริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลำตัว แขนขา จนทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว อาการจะเกิดขัดเจนใน วันที่ 7-10 และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ จากนั้นผื่นจะจางหายไป แต่ในบางรายที่ไม่มีอาการข้างต้น จะมีเพียง อาการคล้ายเป็นหวัด แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบภูมิคุ้มกันเชื้อหัดเยอรมัน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง เกล็ดเลือดต่ำ
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และ ปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย อาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต บางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI) เพื่อหา titer ของ antibody ของเชื้อหัดเยอรมัน หากผล HAI titer น้อยกว่า 1:8 หรือ 1:10 แสดงว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ และควรเจาะเลือดตรวจหา HAI titer อย่างน้อย 2 ครั้ง
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงคุ้มกับค่าใช้จ่ายและควรเน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่ง ตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อน ฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาด
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการ ติดเชื้อหัดเยอรมัน
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน การสัมผัสกับผู้ที่เป็น โรค และอาการแสดงของโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดำเนินของโรค
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อมสำหรับการทำแท้งเพื่อการรักษา
รายที่ตัดสินใจดำเนินการตั้งครรภ์ต่อและคลอดทารกที่มีความพิการ ดูแลด้านจิตใจของมารดา
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย และหลังการให้วัคซีนจะต้องคุมกำเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
อธิบาย
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Varicella-zoster virus (HZV) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น โดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ใน กรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติด เชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกใน ครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้สูง
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่มมักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผ่นหลังมีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วยคล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่บางคนอาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อสุกอีใสในผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ พบว่าความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะอายุครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอดจะยิ่งอันตราย
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทำให้ทารกเกิดความพิการก่อนกำเนิดได้ เช่น ความผิดปกติของตา (ต้อกระจก) สมอง (ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ)
การติดเชื้อปริกำเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูกและช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในรายที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของ การติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย มีไข้มีผื่นตุ่มน้ำใสตามไรผม ตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบน กลีบกุหลาบลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของ ไข้หวัดใหญ่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็น การตรวจหาการติดเชื้อของโรคสุกใสและงูสวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันคือ Varivella Zoster Virus (VZV) ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ต่ำ มีผื่นหลายลักษณะตามระยะของผื่นโดยผื่นเริ่มแรก
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็นการตรวจหาภูมิต้านทานต่อโรคสุกใสและงูสวัด
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส แต่เนื่องจากการติดต่อของสุกใสนั้น เริ่ม ได้ตั้งแต่ 2-3 วันก่อนที่จะมีผื่นขึ้น และตลอดเวลาที่กำลังมีผื่นตุ่มสุกใสอยู่ จนกว่าตุ่มเหล่านี้จะแห้ง กลายเป็นสะเก็ด จึงจะพ้นระยะติดต่อ จึงเป็นการยากที่จะรู้ว่าใครติดเชื้อตั้งแต่ระยะยังไม่มีผื่นขึ้น
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ ใช้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอลหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิด Reye’s syndrome ทำให้เด็กเสียชีวิตได้
การรักษาแบบเจาะจงโดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์ โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลัก universal precaution ในการสัมผัส
กรณีพ้นระยะการติดต่อหรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้ว แนะนำเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกาย
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที
เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและมาพบแพทย์ทันที
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
โดยปกติมักพบการติดเชื้อในผู้ใหญ่โดยอาจได้รับเชื้อทางการให้เลือดการสัมผัสทางปากหรือทางเพศสัมพันธ์ ประชากรส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อ CMV ตั้งแต่วัยเด็ก
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดา ในครรภ์ในระยะคลอดในระยะให้นมการถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ เพศสัมพันธ์ทางหายใจ (โดย สัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส (โดยสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ) แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิด
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนาน
ปวดกล้ามเนื้อ
ปอดบวม
ตับอักเสบ
อาการทางสมองการติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลง หากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่ มีการติดเชื้อซ้ำหรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์จะมีทำให้การดำเนินของโรครุนแรงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อยทารกเสียชีวิตในครรภ์และตายคลอดส่วนทารกแรกเกิดนั้นอาจไม่มีอาการแสดงใด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต ลักษณะของอาการ
การตรวจร่างกาย มีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ข้ออักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้น พบเชื้อ CMV ใน ปัสสาวะ และในเม็ดเลือดขาว หรือเจาะเลือด พบว่า IgG เพิ่มขึ้น 4 เท่าในช่วงการติดเชื้อเฉียบพลัน บางครั้งพบ IgM ในเลือดแม่ อยู่นาน 3-4 เดือน ในชนิดการกลับเป็นซ้ำจะตรวจไม่พบ IgM
Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์ เป็นวิธีที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุดในการตรวจหา CMV เริ่มตรวจได้เมื่ออายุครรภ์ครรภ์21 สัปดาห์ แต่ไม่ช้ากว่า 6-7 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ
การตรวจ Plasma specimen for culture หรือ quantitative real-time PCR ในสตรี ตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ หากพบปริมาณไวรัสมากการพยากรณ์โรคในครรภ์ก็จะแย่ลง
4. การตรวจพิเศษ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูพัฒนาการและความผิดปกติของทารกใน ครรภ์ ภาวะ microcephaly, fetal growth, hypochlorism, และความผิดปกติที่อาจพบได้ของ พัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
วัคซีนที่ให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ CMV โดยตรงนั้นยังไม่มี แต่สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีการติดเชื้อ
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี และควรเข้ารับการให้คำปรึกษาก่อนการมีบุตร
วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่ เนื่องจากการแพร่กระจายของ CMV ผ่านสารคัดหลั่ง เลือดที่มีเชื้อ โดยการสัมผัสกับมือและเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก
การรักษา
การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human เป็นการให้ยาที่มีแอนติบอดี ต่อ CMV ซึ่งได้รับจากเลือดของคนที่หายจากเชื้อไวรัสนี้และมีภูมิคุ้มกัน การให้ยานี้ในผู้ที่มีการติดเชื้อ ระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยลดการอักเสบของรก และความเสี่ยงของการติดเชื้อของทารกในครรภ์
การให้ยาต้านไวรัส เช่น Valtrex, Ganciclovil, Valavir เป็นต้น โดยขนาดและปริมาณที่ให้จะ ขึ้นอยู่กับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์และลดการติดเชื้อไวรัสในทารกในครรภ์
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ และให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการ
3.แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสำคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii การติดเชื้อเฉียบพลัน พบได้ 1-5 คน ต่อ 1000 คนของสตรีตั้งครรภ์
อุบัติการณ์
การติดเชื้อโดยกำเนิด 1-10 ต่อ 10,000 การคลอด เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากปรสิตคือToxoplasma gondii ซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดอาศัยในเซลล์โดยติดเชื้อได้ทั้งใน คนและสัตว์ มีพาหะหลักคือแมวส่วนพาหะชั่วคราวคือ หนูกระต่าย แกะ รวมทั้งคนการติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผักหรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มีoocyte ของเชื้อซึ่งขับออกมาปนกับอุจจาระแมว
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย
ปวดกล้ามเนื้อ
อาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis
ปอดบวม
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ กรณีทื่ทารกมีการติดเชื้อแต่กำเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสำคัญ คือ ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification)
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค
การตรวจร่างกาย มักไม่แสดงอาการหรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ำเหลืองดู titer IgG และ IgM
3.2 การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำ พบ IgA และ IgM
3.3 การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
หากจำเป็นต้องทำความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง ไข่ดิบ
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนำให้สวมถุงมือยางและล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ถ้าพบ IgM ในมารดา อนุมานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย spiramycin จะช่วยลดการติดเชื้อใน ครรภ์ได้
การวินิจฉัยในทารกก่อนคลอด สามารถกระทำได้การเจาะเลือดสายสะดือทารก
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถามและให้กำลังใจในการรักษา
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยาและการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
แนะนำเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อฟลาวิไวรัส (Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับที่เป็นพาหะนำโรค โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) และไข้เหลือง โดยปกติยุงลายจะออกหากินในช่วงเวลาเช้าบ่ายแก่ ๆ และช่วงเย็น เชื้อไวรัสโรคไข้ซิกาสามารถแพร่โดยยุงลายที่มีเชื้อแล้วไปกัดคน
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตาม ตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมี อาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์และทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา คือ ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติโดยการซักประวัติอาการของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย เช่น มีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำลาย
การตรวจพิเศษ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดมาตรการด้านการเฝ้าระวังคัดกรองโรค โดยระวัง ครอบคลุม 4 ด้าน คือ ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด และระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท ร่วมกับการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิกาโดยเฉพาะ การรักษาทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และรักษาตามอาการ
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
1.1 ใช้ยากำจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
1.2 นอนในมุ้งและปิดหน้าต่างปิดประตูหรือใช้มุ้งลวดติดป้องกันยุงเข้าบ้าน
1.3 สวมเสื้อผ้าเนื้อหนา สีอ่อน ๆ ที่สามารถคลุมผิวหนังและร่างกายได้มิดชิด
1.4 กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยการทำความสะอาดการเทน้ำทิ้ง
1.5 ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค
1.6 หากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
1.7 หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ หรืออาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์
1.8 ในระยะ 7 วันที่เริ่มมีไข้ จะมีปริมาณของเชื้อไวรัสในกระแสเลือดจำนวนมาก หากถูกยุงกัดในช่วงนี้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้อย่างมาก
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
2.1 อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบ
2.2 ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา
2.3 เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและติดตามผลเพื่อรายงานแพทย์
2.3 ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก
2.4 เน้นย้ำการมาตรวจครรภ์ตามนัด เพื่อประเมินสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิดประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป เน้นย้ำการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ระบาดได้รวดเร็วจนแพร่กระจายทั่วโลกเกิดจากเชื้อไวรัสตระกูล Corona ชื่อ SARS-CoV-2 การติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม
อาการของ โรคคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้น ไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ามูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ทำให้การดำเนินของโรครุนแรงขึ้นเนื่องจากภูมิต้านของร่างกายขณะตั้งครรภ์ลดต่ำลง สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อ COVID-19 ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด หรือตรวจพบภายใน 7 วันหลังคลอดได้ ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ
3.2 การยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา viralnucleic acid ด้วยวิธี real-time polymerase chain reaction (RT-PCR) จากสารคัดหลั่ง
3.3 ให้ส่งสิ่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่น
3.4 การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การตรวจพิเศษ ได้แก่การตรวจเอกซเรย์ปอด
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากร เน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPE การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในรพ.และไปกับรถพยาบาล บุคลากรต้องใส่ full PPE
2.การดูแลรักษา
2.1 สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19
2.1.1 ถ้ามีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
2.1.2 หากเป็นไปได้ให้เลื่อนการนัดผ่าตัดคลอดหรือการกระตุ้นคลอดออกไปอย่างน้อย 14 วันหรือจนกว่าผลตรวจเชื้อไวรัสเป็นลบ
2.2 สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง ให้ยาต้านไวรัส
2.3 สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง
2.3.1 หากอาการแย่ลง ควรคิดถึงภาวะ pulmonary embolism
2.3.2 ไม่ให้ออกซิเจนทาง face mask หรือ face mask with bag เนื่องจากจะเกิดการ แพร่กระจายของละอองฝอยได้ควรให้เป็น cannula แทน
2.3.3 On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
2.3.5 ยุติการตั้งครรภ์ตามขอ้บ่งชี้ด้านสูติศาสตร์หรือกรณีที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกู้ชีพมารดา
2.3.4 ให้ยาต้านไวรัสและ/หรือยาอื่น ๆ
2.4 การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน หากไม่สามารถซักประวัติได้ ให้ทำการรักษาเช่น เดียวกับผู้ป่วย ที่เข้าข่ายการสืบสวนโรค และบุคลากรใส่ชุด full PPE
2.5 การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด
2.5.1 On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
2.5.2 ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงตามความจำเป็น
2.5.3 วิธีคลอดพิจารณาตามความเหมาะสมและนโยบายของแต่ละโรงพยาบาล
2.5.4 ไม่มีข้อห้ามของการคลอดทางช่องคลอด
2.5.5 ทำ epidural block ได้และมีข้อดี กรณีที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดจะทำได้เร็วขึ้น
2.5.6 การใช้ก๊าซสูดดมเพื่อระงับความปวดควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจมีการแพร่กระจายเชื้อได้ 2.5.7 การตัดสินใจผ่าตัดคลอดควรพิจารณาให้เร็วและลดเกณฑ์ลง
2.5.8 ทำการผ่าตัดในห้องแยกความดันลบ (ถ้ามี)
2.5.9 การระงับความรู้สึกหลีกเลี่ยง general anesthesia
2.6 กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
2.6.1 การให้ corticosteroids สำหรับกระตุ้นปอดทารกในครรภ์ ควรปรึกษาอายรุแพทย์
2.6.2 การยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ทำได้ถ้ามารดาอาการไม่หนักแต่ไม่ควรใช้ยา indomethacin
2.6.4 ให้ magnesium sulfate สำหรับ neuroprotection ได้
2.6.5 ทารกที่แท้งหรือเสียชีวิต รกและน้ำคร่ำให้ส่งตรวจหาเชื้อไวรัสแล้วกำจัดแบบตัวอย่างติดเชื้อ
2.6.3 ไม่แนะนำให้ยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อรอให้ยา corticosteroids ครบ dose
2.7 การดูแลทารกแรกเกิด การให้ทารกดูดนมจากเต้า
2.8 การดูแลมารดาหลังคลอด หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด
2.9 การดูแลด้านจิตใจ เฝ้าระวังและประเมินความเครียดและอาการซึมเศร้า
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาล
1.1 หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
1.2 รักษาระยะห่าง social distancing ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ด้วยการอยู่ห่างกัน 1-2 เมตร
1.3 หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
1.4 รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ หรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
1.5 หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น
1.6 ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด
1.7 ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ถ้ามีอาการไอ จาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
1.8 สตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รีบไปพบแพทย์
1.9 เน้นย้ำให้สตรีตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดได้ตามปกติ หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัด
การดูแลสตรีตั้งครรภ์
2.1 แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
2.2 งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น และงดการพูดคุย
2.3 กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง
2.4 กรณีเจ็บครรภ์คลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันทีและแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีหลักฐาน การติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนมแต่อย่างใด
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับมารดาหลังคลอด ในกรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ
5.1 ก่อนเริ่มกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
5.2 อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
5.3ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป
5.4 สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนม และการปั๊มนม
5.5 หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
5.6 ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์
5.7 การให้นม ควรให้ผู้ช่วยเหลือ หรือญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด