Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเกี่ยวกับ การป้องกันเเละควบคุมการเเพร่กระจายเชื้อ - Coggle…
การพยาบาลเกี่ยวกับ
การป้องกันเเละควบคุมการเเพร่กระจายเชื้อ
การติดเชื้อ : Infection
โรคติดเชื้อ: Infectious disease
โรคติดต่อ: Communicable disease
แหล่งของเชื้อโรค
เป็นที่ให้โรคเจริญเติบโตและมีการขยายตัว
ทางออกของเชื้อโรคในการแพร่กระจาย
เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นได้ต้องออกจากแหล่งของมันก่อน
ทางเดินหายใจ
ทางเดินอาหาร
ทางเดินปัสสาวะ
อวัยวะสืบพันธุ์
เลือด
ผิวหนัง
สิ่งนำเชื้อ
เชื้อโรคแพร่กระจายได้จำเป็นต้องมีพาหนะในการนำเชื้อ
อากาศ
อาหารเเละน้ำ
สัมผัสโดยตรงกับคน
วัตถุต่างๆ
เเมลงเเละสัตว์
บุคคลที่มีเชื้อโรคนั้นเอง
วิธีการเเพร่กระจายเชื้อ
Vectorborne transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดย แมลงหรือสัตว์นำโรค
Air bone transmission
เป็นการแพรก่ระจายเชื้อโดย การสูดหายใจเอาเชื้อที่ลอย อยู่ในอากาศเขเาสู่ระบบทางเดินหายใจ
Contact transmission
1) Directcontact เป็นการแพรกระจายเชื้อจากคนสู่คน (person-to-person spread)
2) Indirect contact เป็นการสัมผัสสิ่งของหรืออุปกรณ์ การแพทย์ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่เป็นการที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางตัวกลาง
3) Droplet spread เกิดจากการสัมผัสกับฝอย ละออง น้ำมูก น้ำลาย
ทางเข้าของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค
เมื่อเชื้อโรคออกจากแหล่งของเชื้อโรคแล้วจะทำให้เกิดโรคได้โดยการหาทางเข้าไปในร่างกายมนุษย์ใหม่
1.ดวงตา 2. จมูก 3. ปาก
ความไวของเเต่ละบุคคลในการรับการติดเชื้อ
ความเครียด
ภาวะโภชนาการ
อ่อนเพลีย
ภูมิเเพ้
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล Nosocomial infection
การติดเชื้อที่เกิดจากการได้รับเชื้อขณะที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจ/และหรือการได้รับการพยาบาล และการติดเชื้อของบุคลากร จากการปฏิบัติงาน (โดยปกติมักเกิดข้ึนภายใน48-72ชั่วโมง เมื่อรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล)
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อหรือการกีดกั้นเชื้อ(Asepsis) หมายถึง
การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อท่ีจะเกิดกับเครื่องมือ เครื่องใช้เเละสิ่งแวดล้อมเป็นการวางกลยุทธ์ในการควบคุม การติดเชื้อ ลดแหล่งของเชื้อโรคและการแพร่กระจายเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อเเละเทคนิคปลอดเชื้อ
การกีดก้นเชื้อชนิดไม่เคร่งครัด (Medical asepsis)
1.เทคนิคการทำให้สะอาด (Clean technique)
2.การแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อด้วยวิธีการแยกเฉพาะ (Isolation technique)
การกีดกั้นเชื้อชนิดเคร่งครัด (Surgical asepsis)
1.เทคนิคการทำให้สะอาด (การใส่ถุงมือ (gloves) เสื้อคลุม (gown) ที่นึ่งแล้ว
2.การใช้ปากคีบที่ทำให้ไร้เชื้อหยิบเครื่องมือเครื่องใช้ที่สะอาดปราศจากเชื้อ
ความหมายของคำศัพธ์
Sterilization
ขบวนการทำลายเชื้อโรคทุกชนิดรวมทั้งพวกที่มีสีปอร์ให้หมดสิ้นไป
Sterile
สิ่งของหรือเครืองมือที่ปราศจากเชื้อโรครวมทั้งชนิดที่มีสีปอร์
Contamination
การสัมผัส ปนเปื้อนเชื้อโรค
Disinfection
ขบวนการทำลายเชื้อโรคแต่ไม่สามารถทำลายชนิดท่ีมีสปอร์ได้วิธีทำลายเชื้อโรคแบบนี้ เช่น การต้ม การเเช่น้ำยา
Disinfectant
สารเคมีหรือนำ้ยาท่ีใช้ทำลายจุลินทรย์แต่ไม่สามารถ ทำลายชนิดที่มีสปอร์น้ำยานี้จะทำลายเนื้ออยื่อด้วยฉะนั้นจะใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
การฆ่าเชื้อและทาให้ปราศจากเชื้อ
critical items
เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องทำให้ปราศจากเชื้อ
semi-critical or intermediate items
เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค
ยกเว้นสปอร์ของแบคทีเรีย
non-critical items
เครื่องมือที่สัมผัสกับผิวหนังภายนอก ไม่ได้สัมผัสกับเยื่อบุต่างๆ ของร่างกายก่อนใช้ต้องล้างให้สะอาด
การทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้
การล้าง (Cleansing)
การล้างเป็นขั้นแรกที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำลายเชื้อในขั้นต่อไป การล้างท่ีถูกต้องสามารถขจัดจุลชีพออกจากวัสดุเกือบทั้งหมดและเพียงพอ สำหรับการทำลายเชื้อสำหรับเครื่องใช้โดยทั่วไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดจานวนเชื้อโรคบนเครื่องมือให้เหลือปริมาณน้อยที่สุด
2.เพื่อเป็นการลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่บนผิวของเครื่องมือ
ข้อควรคำนึงในการล้าง
1 กำจัดเลือด หนอง เมือก สารคัดหลั่งและอื่น ๆ ออกก่อนทำความสะอาดเสมอ
2.สารจากสบู่มีฤทธิ์เป็นด่างหากล้างออกไม่หมดจะช่วยเคลือบเชื้อจุลชีพไว้ ดังน้ันหลังจากทำความสะอาดแล้ว ไม่ควรมีสารตกค้างหลงเหลืออยู่
วิธีทำ
1.สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความสกปรกตามความเหมาะสม ระมัดระวังไม่ให้เปื้อนบริเวณใกล้เคียง
2.ล้างคราบส่ิงสกปรก และคราบสารผงซักฟอกออกให้หมดโดยใช้น้ำก๊อกที่ไหลชะผ่าน
3.เช็ดให้เเห้งด้วยผ้าสะอาด หรือวางผึ่งลมก่อนเก็บเข้าท่ีหรือแยกไปทำให้ปราศจากเชื้อ
4.ทำความสะอาดอุปกรณ์ขัดล้างให้สะอาดทำให้เเห้งรวมทั้งถุงมือและอ่างน้ำ
การต้ม (Boiling)
การต้มเป็นวิธีการทำลายเชื้อที่ดีง่าย ประหยัด และมีประสิทธิภาพดี การต้มเดือดนาน10นาที จะสามารถทำลายเชื้อได้ ยกเว้นสปอร์แต่สำหรับเชื้อโรคที่อันตราย เช่น ไวรัสHIVองคก์ารอนามัยโลกแนะนาให้ต้มเดือดนาน20นาที เพื่อให้มั่นใจ
การเตรียมอุปกรณ์การต้ม
1.หม้อต้มที่สะอาดมีฝาปิดเพื่อให้อุณหภูมิสม่ำเสมอขณะต้ม
2.ใส่น้ำสำหรับการต้มให้มีปริมาณมากพอ การใช้น้ำประปาจะทำให้เกิดตะกรันในหม้อต้ม ซึ่งอาจจะทาำให้เกิดคราบบนผิววัสดุที่ต้ม หรือต้องใช้เวลา ต้มนาน ความร้อนจึงจะผ่านตะกรันเข้าไปได้
หลักสำคัญในการต้ม
1.น้ำต้องท่วมของทุกชนิดอย่างน้อย 1 นิ้ว
2.ในขณะต้มต้องไม่เปิดฝาหม้อต้ม เพราะจะทำให้อุณหภูมิภายในหม้อต้มลดลงเเละ ต้องไม่เพิ่มสิ่งของอื่นลงไปเมื่อของท่ีต้มอยู่ยังไม่ครบ 15 หรือ 20 นาที
3.เมื่อครบกำหนดให้เก็บของที่ต้มแล้วลงในภาชนะท่ีปราศจากเชื้อหรือ สะอาดมีฝาปิดมิดชิด
การใช้สารเคมี (Chemical method)
Disinfectant
สารเคมีหรือนำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์แตไม่ สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์น้ำยานี้จะทำลายเนื้อเยื่อด้วยฉะนั้นจะใช้กับ ผิวหนังไม่ได้
Antiseptics
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ปลอดภัย
น้ำยาที่ใช้ในการทำลายเนื้อเยื่อ
แอลกอฮอล์ (Alcohols)
ทำลายเชื้อ ได้ดีแต่ไม่ทำลายสปอร์อาจทำใหเครื่องมือโลหะเกิดสนิม
อัลดีฮัยด์(Aldehydes)
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา ในเวลา 10 นาที
ทำลายสปอร์เเบคทีเรียได้ใน 10 ชั่วโมง
ระคายผิวหนัง ทางเดินหายใจ ตา
ไดกัวไนด์ (Diguanide)
สารที่ใช้คือ chlorhexidine ถ้าความเข้มข้นต่ำกว่า 0.2% ไม่สามารถ ทำลายแบคทีเรียแกรมบวก เชื้อไวรัส เชื้อ รา และสปอร์ของแบคทีเรียได้
ฮาโลเจน (Halogens)
สามารถทำลายเชื้อโรคได้ต่างกัน
ตามความเข้มข้นของน้ำยา Hypochlorite และ Iodine
ฮัยโดเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
สามารถทำลายเชื้อโรครวมทั้ง ไวรัส โดยใช้ Hydrogen peroxide 6% นาน 30 นาที
น้ำยาฟีนอล (Phenols)
สามารถทาลายเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อวัณโรค
เชื้อรา ยกเว้นเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี และสปอร์ของแบคทีเรีย
ไม่ควรใช้กับทารกแรกเกิด บริเวณที่เตรียมอาหาร
Quartemary Ammonium Compounds (QACs)
มีฤทธิ์ทำลายเชื้อน้อยเช่น Benzalkonium chloride เป็นส่วนประกอบใน savlo
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางกายภาพ
Radiation
เป็นการใช้แสงอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นแสงสีม่วงสามารถฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย และ ไวรัสบางชนิด แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสเอดส์ ในแสงแดด มีแสงอัลตราไวโอเลตอยู่
Dry heat or hot air sterilization
สามารถทำลายเชื้อโดยใช้ ความร้อนแห้งท่ีอุณหภูมิ165-170องศาเซลเซียสระยะเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงการใช้ความร้อนแห้งนี้สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของมีคมไม่ทำให้เสียคม ใช้สำหรับเครื่องแก้วท่ีใช้ในห้องปฏิบัติ
Steam under pressure
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เชื่อถือได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการฆ่าเชื้อ และสปอร์ของเชื้อ
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อสูง สามารถทำลายได้ทั้งไวรัส แบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ ของแบคทีเรีย นิยมใช้ทําให้ปราศจากเชื้อในเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่สามารถทนความ ร้อนและความชื้นได้
การใช้ 2% Glutaradehyde
Glutaraldehyde เช่น Cidex เป็นสารเคมีที่ใช้มากที่สุดในการทำให้ปราศจากเชื้อมีประสิทธิภาพใน การทำลายเชื้อและสปอร์ของแบคทีเรีย เป็นสาร ที่ไม่ทําลายยางหรือพลาสติก
การใช้ Peracetic acid
เป็นส่วนผสมระหว่าง acetic acid กับ hydrogen peroxide มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง แต่ต้องละลายในน้ำอุ่น
การหยิบจับของปราศจากเชื้อ
ปากคีบสำหรับหยิบส่งของควรเป็นชนิดปลายเป็นร่อง และไม่มีเขี้ยว จึงจะ หยิบของได้แน่น
วิธีการใช้ปากคลีบหยิบของที่ปราศจากเชื้อ
1.เมื่อหยิบปากคีบออกจากภาชนะที่แช่ ต้องระวังไม่ให้ปากคีบแยกออกจาก กัน และป้องกันมิให้ปลายปากคีบถูกกับปากภาชนะ และรอให้น้ำยาหยดออก ให้หมดสักครู่
2.ขณะที่ถือให้ปลายปากคีบอยู่ เพื่อมิให้น้ำไหลไปสู่บริเวณที่ไม่ปราศจาก เชื้อ ทำให้ปลายปากคีบสกปรก
3.ระวังมิให้ปากคีบถูกต้องกับภาชนะอื่น ๆ ที่ไม่ปราศจากเชื้อ
4.เมื่อใช้ปากคีบเสร็จแล้วให้จับตรงกลางด้ามให้ปลายชิดกัน แล้วใส่ลงในกระปุกตรงๆ
วิธีการหยิบของในหม้อนึ่ง ในอับ หรือการแบ่งของที่สะอาดปราศจากเชื้อ
1.เมื่อเปิดฝา ถ้าต้องการจะวางกับโต๊ะให้หงายฝาขึ้น เพื่อป้องกัน ไม่ให้ขอบฝาสัมผัสกับโต๊ะ ถ้าถือไว้ให้ควฝาลง เพื่อป้องกันไม่ให้ เชื้อโรคจากอากาศตกลงไปที่ผ่านั้น2
2.ห้ามเอื้อมข้ามของ sterileที่เปิดฝาไว้และห้ามจับด้านในของฝา
3.ของที่หยิบออกไปแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ ก็ไม่ควรนำเข้าไปเก็บในหม้อนั้นอีก
หลักพื้นฐานของภาวะปราศจากเชื้อ
ดูแลให้ของปลอดเชื้อนั้นคงความปลอดเชื้อ
1.ปากคีบปลอดเชื้อ (Transfer forceps) ใช้สำหรับหยิบจับ เคลื่อนย้ายของปลอดเชื้อต้องสะอาดและคงความปลอดเชื้อตลอดเวลา
2.การเทน้ำยาปลอดเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% ให้ถือขวดน้ำยาสูงกว่าภาชนะ ปลอดเชื้อประมาณ 6 นิ้ว ปากขวดต้องไม่สัมผัสกับของใช้
3.หลีกเลี่ยงการทำน้ำยาหกเปื้อนผ้าห่อของปลอดเชื้อ จะทำให้อุปกรณ์ที่อยู่ในผ้าห่อเกิดการปนเปื้อน
4.หลีกเลี่ยงการพูดคุย ไอ จาม หรือข้ามกรายของปลอดเชื้อ เพราะเชื้อโรคมีโอกาส
แพร่กระจายไปตามละอองอากาศ
5.อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดที่จะสอด ใส่ผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยจะต้องปลอดเชื้อ
หากของปลอดเชื้อสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ปลอดเชื้อให้ถือว่าของนั้นไม่ปลอดเชื้อ หรือ เกิดการปนเปื้อนขึ้น เรียกว่า contamination
1.ใช้ปากคีบปลอดเชื้อในการหยิบของปลอดเชื้อ ไม่ใช้ปากคีบที่ไม่ปลอดเชื้อหรือผ่านการใช้งานแล้วหยิบของปลอดเชื้อ
2.หากหยิบจับของปลอดเชื้อด้วยมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่ปลอดเชื้อ จะถือว่า เครื่องมือเครื่องใช้นั้นเกิดการปนเปื้อน
3.ห่อของปลอดเชื้อที่เปิดใช้แล้ว แสดงว่าเกิดการปนเปื้อน ไม่นำไปรวมกับของปลอดเชื้อ
ของปลอดเชื้อต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวและอยู่ในสายตา
1.การถือของปลอดเชื้อหรือบริเวณที่วางของปลอดเชื้อจะต้องอยู่สูงกว่าระดับเอวเพื่อให้ แน่ใจว่าของปลอดเชื้อนั้นอยู่ในสายตา ลดโอกาสเกิดการปนเปื้อน
2.หากผู้ปฏิบัติเกิดความสงสัย ไม่มั่นใจเกี่ยวกับความปลอดเชื้อกับของใช้นั้น ต้องเปลี่ยน ของมันใหม่ทันที
วิธ๊ห่อของส่งนึง
คลี่ผ้าห่อของบนโต๊ะ สูงระดับเอวให้มุมใดมุมหนึ่งอยู่ด้านผู้ห่อ
วางของไว้ที่ศูนย์กลางของผ้าห่อ
จับมุมผ้าด้านผู้ห่อ วางพาดบนของ และพับมุมกลับเล็กน้อย
ดึงผ้าให้เรียบตึง ห่อด้านซ้ายให้มิดของ ดึงให้ตึง และพับมุมเล็กน้อย
ห่อด้านขวาให้มิดของ ดึงให้ถึงพับมุมเช่นกัน เข้าเล็กน้อย
จับผ้าที่เหลือมุมสุดท้าย ดึงให้ตึงพับมุมเข้าเล็กน้อยจัดห่อให้มิดชิดไม่หลุด
ตรึงห่อของให้แน่นด้วยเทปกาว และระบุหอผู้ป่วย ชื่อสิ่งของ วันที่ส่งนิ่งและชื่อผู้ห่อของ
ติด Autoclave tape 89°
การเปิดห่อของที่ปราศจากเชื้อ
จุดประสงค์
เพื่อคงความปลอดเชื้อของสิ่งของภายในห้อ และผ้าห่อด้านใน
เครื่องใช้
ห่อของที่ปลอดเชื้อ
วืธีทำ
1.สำรวจป้ายชื่อห่อของให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้ และตรวจสอบความปราศจากเชื้อ จาก Autoclave tape
2.วางห่อของบนโต๊ะที่สะอาดสูงระดับเอว โดยให้มุมนอกสุดของห่อของอยู่ไกลตัว
3.แกะเทปกาว ป้ายชื่อห่อของที่ระบุวันนึ่ง และ Autocave
4.บมุมผ้าด้านนอก ห่างขอบประมาณ 1 นิ้ว เปิดมุมแรกออกไปทางด้านตรงข้ามกับผู้เปิด
5.เปิดมุมผ้าด้านข้างออกทีละด้าน แล้วเปิดมุมผ้าด้านในที่สุด
การปฏิบัติในการป้องกันเเละเเพร่กระจายของเชื้อโรค
การล้างมือ (Hand washing)
การล้างมือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดการติดเชื้อที่เกิดจากการสัม โดยตรง สามารถทำได้ง่ายและสิ้นเปลืองน้อยที่สุด การล้างมือควร กระทำก่อนที่จะปฏิบัติการพยาบาลและหลังการพยาบาลผู้ป่วย โดยทั่วไปแล้วจุดประสงค์ของการล้างมือเพื่อช่วยขจัดสิ่ง สกปรกต่างๆ ขุยผิวหนัง เหงื่อ ไขมันที่หลั่งออกมาตามธรรมชาติ และ ลดจำนวนเชื้อจุลชีพที่อาศัยอยู่บนผิวหนังอันเป็นการป้องกันการ แพร่กระจายเชื้อโร
การล้างมือแบบธรรมดา (Normal หรือ Social hand washing
เป็นการล้างมือเพื่อสุขภาพอนามัยทั่วไป ให้ล้างมือตามขั้นตอนด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาใน การฟอกมือนานอย่างน้อย 15 วินาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ซับให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือหรือผ้าเช็ดมือที่แห้งและสะอาด
การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (Alcohol hand rub)
ในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำ และมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยให้ทำความสะอาดมือด้วย แอลกอฮอล์เจล
การล้างมือก่อนปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อและภายหลัง
(Hygienic hand washing)
การล้างมือภายหลังการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อ
การล้างมือก่อนทําหัตถการ (Surgical hand washing)
เป็นการล้างมือเพื่อหัตถการ การทำคลอดที่ต้องป้องกันการติด เชื้อให้ล้างมือด้วยสบู่เหลวทำลายเชื้อ
การใส่ถุงมือ (Glove)
ถุงมือจะช่วยป้องกันการติดต่อของเชื้อโรคทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการใส่ ถุงมือไว้ 3 ประการ
ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ตัวผู้ป่วย จาก ผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น
ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากผู้อื่นไปสู่ผู้ป่วย
ป้องกันและควบคุมผู้สัมผัสเชื้อเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่ผู้อื่น
ถุงมือปลอดเชื้อ (Sterile gloves)
1) หยิบจับของปลอดเชื้อ
2) ทำหัตถการต่าง ๆ เช่นการผ่าตัด
3) ป้องกันการติดเชื้อไปยังผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ถุงมือสะอาดหรือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Clean, Disposable gloves)
1) ป้องกันสิ่งสกปรกสัมผัสมือ เช่น เมื่อมีโอกาสสัมผัสเลือด สารน้ำ สารคัดหลัง อุจจาระ และปัสสาวะของผู้ป่วย เป็นต้น
2) เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ผ่านการใช้ งานแล้วหรือระหว่างให้การพยาบาลผู้ป่วย
การใช้ผ้าปิดปาก จมูก (mask)
การใช้ผ้าปิดปาก จมูกจะช่วยป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากผู้ป่วยเข้าสู่ทางเดิน หายใจ และเป็นการป้องกันผู้ป่วยได้รับเชื้อจากผู้อื่นเข้าสู่ทางเดินหายใจ ตลอดจน สามารถป้องกันฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศได้ด้วย
การใส่เสื้อกาวน์ (Gown)
การใส่เสื้อกาวน์จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ควรเปลี่ยนเสื้อกาวน์ทุกเวร กรณีถ้าเปื้อนหรือเปียกให้เปลี่ยนทันที โดยระวังการปนเปื้อนด้านนอกของเสื้อ คลุม โดยการกลับเสื้อด้านในออกทิ้งในภาชนะที่เตรียมไว้ และล้างมือให้สะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เชื้อไปสู่ผู้ป่วยอื่นและสิ่งแวดล้อม
การป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐาน (Standard precaution)
เป็นการระมัดระวังการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ใช้กับผู้ป่วยทุกคนโดยไม่คำนึงถึ การวินิจฉัยโรค และชนิดของชิ้นเนื้อทั้งผู้ป่วยที่ทราบและไม่ทราบว่าติดเชื้อ หรือไม่ เป็นการป้องกันอันดับแรกเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ โดย ระมัดระวังเลือด สารคัดหลัง น้ำในร่างกาย
การป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐาน (Standard precaution)
การมีสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ดี (Sanitation and Hygiene)
เครื่องป้องกัน (Protection Barriers)
หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ (Avoid Accidents)
การปฏิบัติที่ปลอดภัยจากการใช้ของมีคม
เข็มที่ใช้เจาะเลือดผู้ป่วยให้เก็บทิ้งคนเดียว
การเย็บแผลให้ใช้ forceps หยั่งแผลเวลาเย็บ
ไม่ควรสวมปลอกเข็มคืน แต่ถ้าจำเป็นต้องสวม ควรสวมปลอก เข็มโดยใช้มือเดียว (one hand technique)
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
เชื้อก่อโรคมีการแพร่กระจายเชื้อ ได้หลายทางคือ
การสัมผัส (Contact Transmission)
Direct Contact การสัมผัสโดยตรง ระหว่างคนกับคน
Indirect Contact - การสัมผัสทางอ้อมโดยผ่านสิ่งแวดล้อมหรือ เครื่องมือที่ไม่ปราศจากเชื้อ
Droplet Contact การสัมผัสผ่านละอองเสมหะ ในระยะไม่เกิน 3 ฟุต เช่นคางทูม ไข้หวัดใหญ่
Contact Precautions (การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้จากการสัมผัส)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจาก
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยทั้งบุคลากรและญาติ
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออก จากห้องแยก
Droplet Precautions (การติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ทางละอองในอากาศ)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วยชนิด N95
ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิด
ปาก จมูกชนิดธรรมดา
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจาก
Airborne Precautions (การติดเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศ)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตู ทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วย ต้องสผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
หลัก Standard precaution
สวมเครื่องป้องกัน ตามความเหมาะสม
ระวังการบาดเจ็บจากเข็มและของมีคมต่าง ๆ
บุคลากรเมื่อมือมีบาดแผล หรือรอยถลอกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส ผู้ป่วยโดยตรงก่อนที่จะใช้เครื่องป้องกันทางการแพทย์
ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ทุกครั้งในการปฏิบัติงานทาง การแพทย์หรือในห้องปฏิบัติการ
เทคนิคการแยก (Isolation Technique)
solation technique คือ วิธีในการแยกผู้ป่วยเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจาก ผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น หรือจากบุคคลอื่นไปสู่ผู้ป่วย
ประสงค์ในการแยกผู้ป่วย
ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อ
ป้องกันการติดโรคจากผู้ป่วย
ป้องกันการเติมโรคในผู้ป่วยที่มีความต้านทานต่ำ
การแยกผู้ป่วยอาจจําแนกออกเป็น 7 แบบ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางบาดแผลและผิวหนัง
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและติดต่อง่าย
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางเลือด และน้ำเหลือง
การแยกผู้ป่วยในรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง