Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection…
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection during pregnancy) :!!:
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค
กรวยไตจนถึงท่อไตโดยจะมีขนาดใหญ่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมกับการถูกกดทับของมดลูกที่มีขนาดโตขึ้น ทำให้มีการคั่งของน้ำปัสสาวะในไตท่อไตค้างอยู่นานเกิดภาวะ pyelonephritis
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต
ไตมีระบบการหมุนเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องปรับตัวและเพิ่มหน้าที่การกรองของไตขึ้น ทำให้ระดับ creatinine และ BUN ในเลือดลดต่ำลง ในการดูดซึมกลับของโซเดียมกรดอมิโนสูงขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของสารต่างๆในปัสสาวะลดลงส่วนการดูดซึมกลับของโปรตีนน้อย
ชนิด
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyclonephritis)
กลุ่มอาการโรคไตรั่วหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
ภาวะไตวาย (renal failure)
ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) สาเหตุมาจากโรคหลายอย่างเช่น DM, SLE, glomerulonephritis
ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) สาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ (septic abortion), preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia coli (E. Col) ทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้ท่อไตตั้งตัวทำให้การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตลดลงทำให้กดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้รูเปิดของหลอดไตที่กระเพาะปัสสาวะส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะและกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอดหรือทวารหนักย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) เเละฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูกเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการและอาการแสดง
ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI)
ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะแสบขัดกระปิดกระปรอย
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ
ปวดบริเวณหัวหน่าว
ติอเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UT)
ปัสสาวะเป็นสีขุ่นหรือสีน้ำล้างเนื้อ
เจ็บบริเวณชายโครงปวดหลัง
มีไข้
หนาวสั่น
คลื่นไส้อาเจียน
ติดเชื้อในกระแสเลือดไม่รักษาอาจช็อกและเสียชีวิต
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
แท้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลต่อทารกทารกคลอดก่อนกำหนด
ทารกน้ำหนักตัวน้อย
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกตายคลอด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติซักประวัติเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
การตรวจร่างกายจะตรวจพบปัสสาวะขุ่นหรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อมีไข้ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจ urine analysis จะพบไข่ขาวเม็ดเลือดขาว ตรวจ urine Culture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 105 dfu / ml
แนวทางการป้องกันและรักษา
ป้องกัน
1 แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
2 แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
3 ทำการคัดกรองการติดเชื้อตั้งแต่ต้น
รักษา
1 รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ
2 รายที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อและปลอดภัยต่อมารดาและทารกมากที่สุด
3 รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลันต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายทางหลอดเลือดดำและให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำพร้อมทั้งส่งตรวจ Urine culture
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรคภาวะแทรกซ้อนเเละแผนการรักษาพยาบาล
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
แนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
3.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอโดยแนะนำให้นอนตะแคง
3.2 ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้วและไม่กลั้นปัสสาวะ
3.3 ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
3.4 รายที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ถึงความจำเป็นของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องรวมถึงสังเกตอาการ
3.5 แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบพบแพทย์
กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรครวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ
กรณีที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
5.1 อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าในถึงความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
5.2 ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอแนะนำให้นอนตะแคง
5.3 ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
5.4 ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารก
5.5 สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกายและติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
5.6 ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
5.7 ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย
5.8 ดูแลประคับประคองจิตใจในรายที่มีอาการรุนแรง
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไปและเน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่ายเพื่อป้องกันการติดเชื้อการสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ และในกรณีที่คลอดก่อนกำหนดเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิดให้พร้อม
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ให้คำแนะนำเช่นเดียวกับคำแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์โดยเน้นการคุมกำเนิดในรายที่มีบุตรเพียงพอ
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3:
:<3: