Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.1 การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
9.1 การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของระบบ
ทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ภายในกรวยไตจนถึงท่อไต โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากโดยเฉพาะด้านขวา ทำให้เกิดภาวะ pyelonephritis
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไตทำให้ระดับ creatinine และ BUN ในเลือดลดต่ำลง หน้าที่ของ tubule ในการดูดซึมกลับของโซเดียม กรดอมิโนส่วนใหญ่ วิตามินชนิดที่ละลายน้ำได้ และกลูโคสสูงขึ้น
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบขับถ่ายปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ พบการเกิด ASB ในสตรีตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 3 - 13
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไตตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะโปรตีนในเลือดต่ำ ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะมีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะจนต้องรีบปัสสาะ
ภาวะไตวาย
ไตวายเรื้อรัง
มักมีสาเหตุมาจากโรคหลายอย่าง เช่น DM, SLE, glomerulonephritis ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการตั้งครรภ์
ไตวายเฉียบพลัน
มักมีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia syndrome ปัจจุบันสามารถดูแลภาวะนี้ได้ดี
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia Coli
(E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์
การที่มดลูกมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป
ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และการขยายตัวของขนาดมดลูก
อาการและอาการแสดง
Lower UTI
มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ บางรายอาจพบปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ ปวดบริเวณหัวหน่าว
Upper UTI
พบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ำล้างเนื้อเจ็บบริเวณชายโครง ปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และ/หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
การพยาบาล
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
เน้นการคุมกำเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกำเนิดแบบถาวร
ระยะคลอด
เน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
ระยะตั้งครรภ์
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
แนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค
รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ
การประเมินและวินิจฉัย
ซักประวัติเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์
ซักประวัติอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ เช่น ปัสสาวะลำบาก
ปัสสาวะไม่สุด หรือปัสสาวะเป็นเลือด
ตรวจพบปัสสาวะขุ่น หรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ มีไข้ ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว หากกดบริเวณ costovertebral angle จะปวดมาก
ตรวจ urine analysis จะพบไข่ขาว เม็ดเลือดขาย
ตรวจ urine culture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 105 dfu/ml