Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่นๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่นๆ
ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
-อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะ มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง
-ตรวจพบ alkaline phosphatase
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย ตรวจพบการติดเชื้อ HAV
ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทำงานของตับ
การป้องกันและการรักษา
รักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัด
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรก เมื่อได้รับเชื้อ Hepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
ระยะที่สอง ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน
ระยะที่สาม เป็นระยะที่ anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL
ระยะที่สี่ เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่
(re-activation phase) ทำให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลำพบตับโตกดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชา
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
-ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
-ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
-มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัต
การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบ
เคยมีอาการแสดงของโรคตับ
อักเสบจากไวรัสบ
การตรวจร่างกาย
มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลือง ตาเหลือง
ตรวจการทำงานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody ของไวรัส
แนวทางการป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
รายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน อาจให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ยาแก้อาเจียน
แนะนำให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด
ให้ยา Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) ขนาด 300 mg รับประทานวันละ 1 ครั้ง
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเเก่ทารกในครรภ์
พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด เพราะอัตราการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากมารดาสู่ทารก
ทารกที่เกิดจากสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus ควรได้รับการฉีด HBIG ให้เร็วที่สุด และฉีด HB vaccine ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมารดาได้ทันที
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกัน
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอด
หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด
ให้การดูแลผู้คลอดโดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีน
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังการรับเชื้อหัดเยอรมันเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแพร่กระจายไปทางกระแสเลือด
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อตุ่มเล็กๆ
สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุกระจัดกระจาย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
รู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อย
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
การติดเชื้อจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ ทำให้เกิดการแท้ง ตายคลอด
หรือพิการแต่กำเนิด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน อาการของการติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย
ผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต
ตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI) เพื่อหา titer ของ antibody ของเชื้อหัดเยอรมัน
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกัน
เก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การพยาบาล
ให้วัคซีน
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดำเนินของโรค
เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อมสำหรับการ ทำแท้งเพื่อการรักษา
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อฟักตัว 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด เรียก congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ มีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) ตอนเป็นตุ่มน้ำจะรู้สึกคันมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อายุครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอดร้อยละ 40 จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทำให้ซึมลง มีอาการชักอาจเสียชีวิตได้
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์
การติดเชื้อปริกำเนิด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส
การตรวจร่างกาย
มีไข้มีผื่นตุ่มน้ำใสตามไรผม ตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM
ตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค
การรักษาแบบประคับประคอง
การรักษาแบบเจาะจง
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์
หลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
กรณีพ้นระยะการติดต่อ สามารถแนะนำเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที
เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิด การติดเชื้อ CMV ก่อให้เกิดอาการโรคที่รุนแรงในกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การติดเชื้อในทารกในครรภ์ คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลื่ยนอวัยวะ(organ transplant recipients) และผู้ติดเชื้อ HIV
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndrome
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลงหากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่ มีการติดเชื้อซ้ำ
ุรุนแรงทำให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด
รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
การประเมินและการการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติการติดเชื้อในอดีต
การตรวจร่างกาย
มีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ข้ออักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือดพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้นพบเชื้อ CMV ในปัสสาวะ และในเม็ดเลือดขาว หรือเจาะเลือด พบว่า IgG เพิ่มขึ้น 4 เท่า
Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์
การตรวจพิเศษ
คลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
วัคซีนที่ให้
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตร
การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบ
การรักษา
1.การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human
การให้ยาต้านไวรัส เช่น Valtrex, Ganciclovil, Valavir
การประเมินอาการและอาการแสดง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค
3.แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของทารก
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
พยาธิสภาพ
เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii
การติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผัก หรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มีoocyte
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์
ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค
การตรวจร่างกาย
มีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ำเหลืองดู titer IgG และ IgM พบ แอนตี้บอดีย์ IgM
ตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำ พบ IgA และ IgM
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์
หากจำเป็นต้องทำความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือ
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง ไข่ดิบ
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนำให้สวมถุงมือยาง
ถ้าพบ IgM ในมารดา อนุมานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย spiramycin
การเจาะเลือดสายสะดือทารกเพื่อหาการติดเชื้อ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง
แนะนำเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย1% Silver nitrate (AgNO3)
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
พยาธิสภาพ
โรคติดเชื้อไวรัสซิกาหรือไข้ซิกา (Zika Virus Disease; ZIKV)
มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
อาการและอาการแสดง
ไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์เเละพบผื่นหลังคลอด
ผลกระทบต่อทารก
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
อาการของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
มีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือ
ปลายเท้า เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี RT-PCRและการตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA
การตรวจพิเศษ
คลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
มีระบบการเฝ้าระวัง 4 ด้าน คือ ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด และระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท ร่วมกับการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย
การรักษา
การรักษาทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ
ดื่มน้ำมาก ๆ และรักษาตามอาการ
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
ใช้ยาทาป้องกันยุงกัด
นอนในมุ้ง
สวมเสื้อผ้าเนื้อหนา สีอ่อน ๆคลุมผิวหนัง
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด
ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
หากมีอาการ ควรรีบปรึกษาแพทย์
ป้องกันไม่ให้ตนเองถูกยุงกัด โดยเฉพาะในระยะ 7 วันแรกที่มีอาการ
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ
เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
เน้นย้ำการมาตรวจครรภ์ตามนัด
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
อาการและอาการแสดง
T มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
-ภูมิต้านต่ำลง
-เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
-มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก
-ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
-รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
-พัฒนาการล่าช้า
-คลอดน้ำหนักตัวน้อย
-คลอดก่อนกำหนด
-การติดเชื้อ COVID-19
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย
มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูก เจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ
-การยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา RT-PCR
-การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การตรวจพิเศษ
เอกซเรย์ปอดพบมีปอดอักเสบ
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากร
บุคลากรใส่ชุด PPE
2.การดูแลรักษา
2.1 สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19
2.2 สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง
2.3 สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง
2.4 การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน
2.5 การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด
2.5 กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
2.6 การดูแลทารกแรกเกิด
2.7 การดูแลมารดาหลังคลอด
2.8 การดูแลด้านจิตใจ
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่ม
เสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19
การดูแลทารกแรกเกิด มาดาติดCOVID-19จะต้องมีการแยกตัวออกจากผู้อื่น และต้องสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน
คำนึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และยังไม่มีหลักฐาน
ทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ำนม
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับมารดาหลังคลอด
ควรให้ผู้ช่วยเหลือ หรือญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้อง และต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด
สวมหน้ากากอนามัยตลอด
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที
ทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนม
เตรียมนมและการปั๊มนม