Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ - Coggle Diagram
การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
การต้ม
การต้มเป็นวิธีการทำลายเชื้อที่ดีง่าย ประหยัดและมีประสิทธิภาพดี การต้มเดือดนาน 10 นาที จะสามารถทำลายเชื้อได้ยกเว้นสปอร์
แต่สำหรับเชื้อโรคที่อันตราย เช่น ไวรัส HIV องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ต้มเดือดนาน 20 นาที เพื่อให้มั่นใจ
การเตรียมอุปกรณ์การต้ม
หม้อต้มที่สะอาดมีฝาปิด เพื่อให้อุณหภูมิสม่ำเสมอขณะต้ม
ใส่น้ำสำหรับการต้มให้มีปริมาณมากพอ การใช้น้ำประปาจะทำให้เกิดตะกรันในหม้อต้ม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดคราบบนผิววัสดุที่ต้ม หรือต้องใช้เวลาต้มนาน ความร้อนจึงจะผ่านตะกรันเข้าไปได้
หลักสำคัญในการต้ม
น้ำต้องท่วมของทุกชิ้นอย่างน้อย 1 นิ้ว
ปิดผาหม้อต้ม เริ่มนับเวลาเมื่อน้ำเดือดเต็มที่
ในขณะต้มต้องไม่เปิดฝาหม้อต้ม เพราะจำทำให้อุณหภูมิภายในหม้อต้มลดลง และต้องไม่เพิ่มสิ่งของอื่นลงไป เมื่อของที่ต้มอยู่ยังต้มไม่ครบ 15 หรือ 20 นาที
การใช้สารเคมี (Chemical method )
Disinfectant
หมายถึง สารเคมีหรือนำยาที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ แต่ไม่สามารถทำลายชนิดที่มีสปอร์ น้ำยานี้จะทำลายเนื้อเยื่อด้วย ฉะนั้นจะใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics
หมายถึง สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ปลอดภัย
น้ำยาที่ใช้ในการทำลายเชื้อ
แอลกอฮอล์
อัลดีฮัยด์
ไดกัวไนด์
ฮาโลเจน
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ฟีนอล
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางกายภาพ
Radiation
Dry heat or hot air sterilization
Steam under pressure
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
การใช้ 2% Glutaradehyde
การใช้ Peracetic acid
การใช้ 2% Glutaradehyde
Glutaraldehyde
เช่น Cidex เป็นสารเคมีที่ใช้มากที่สุดในการทำให้ปราศจากเชื้อมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อและสปอร์ของแบคทีเรีย เป็นสารที่ไม่ทำลายยางหรือพลาสติกและไม่ทำให้เกิดสนิมใช้แช่เครื่องมือเครื่องใช้นาน 3-10 ชั่วโมง เพื่อให้ปราศจากเชื้อ
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อสูง สามารถทำลายได้ทั้งไวรัส แบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย นิยมใช้ทำให้ปราศจากเชื้อในเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้ เช่นพลาสติกโพลีแอทธีลิน เป็นต้น ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเครื่องมือเครื่องใช้อบก๊าซไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง
การใช้ Peracetic acid
เป็นส่วนผสมระหว่าง acetic acid กับ hydrogen peroxide มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง แต่ต้องละลายในน้ำอุ่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่แช่ใน Peracetic Acid เพื่อทำให้ปลอดเชื้อจะต้องใช้เวลารวดเร็วคือ 35-40 นาที ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส
ถุงมือ (Glove)
การใส่ถุงมือมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่
ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากตัวเราไปสู่ตัวผู้ป่วย และสู่บุคคลอื่น
ป้องกันและควบคุมเชื้อโรคจากผู้อื่นไปสู่ผู้ป่วย
ป้องกันและควบคุมผู้สัมผัสเชื้อเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่ผู้อื่น
ถุงมือปลอดเชื้อ (sterile gloves)
หยิบจับของปลอดเชื้อ
ทำหัตถการต่างๆ เช่น การผ่าตัด
ป้องกันการติดเชื้อไปยังผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ถุงมือสะอาดหรือชนิดใช้ครั้งเดียว (clean or disposable gloves)
ป้องกันสิ่งสกปรกสัมผัสมือ เช่น เมื่อมีโอกาสสัมผัสเลือด
สารน้ำ สารคัดหลั่ง อุจจาระ และปัสสาวะของผู้ป่วย เป็นต้น
เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือระหว่างให้การพยาบาลผู้ป่วย
Radiation
เป็นการใช้แสงอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นแสงสีม่วง สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิด แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสเอดส์ ในแสงแดดมีแสงอัลตราไวโอเลตอยู่ ดังนั้นในกรณีเชื้อวัณโรคเมื่อถูกแสงแดดจะถูกทำลายภายใน 1-2 ชั่วโมง
Dry heat or hot air sterilization
การใช้
Hot air oven
ลักษณะคล้ายเตาอบขนมปัง สามารถทำลายเชื้อโดยใช้ความร้อนแห้งที่อุณหภูมิ 165-170 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง การใช้ความร้อนแห้งนี้เหมาะสำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของมีคม
Steam under pressure
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เชื่อถือได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการฆ่าเชื้อและสปอร์ของเชื้อ เครื่องมือเครื่องใช้ที่สามารถทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีนี้ ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทนความร้อนและความชื้น มีผิวเรียบแข็ง เช่น เครื่องมือผ่าตัด
การหยิบจับของปราศจากเชื้อ
เช่น หม้อนึ่งลำสี ก๊อส หรือถาดแช่เครื่องมือที่มีฝาปิด
เมื่อจะหยิบจับของเหล่านี้ไปใช้ จะต้องรักษาของที่หยิบและของที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโดยใช้ปากคีบ
วิธีการหยิบของในหม้อนึ่ง ในอับ หรือการแบ่งของที่สะอาดปราศจากเชื้อ
วิธีการหยิบของในหม้อนึ่ง ในอับ หรือการแบ่งของที่สะอาดปราศจากเชื้อ
ห้ามเอื้อมข้ามของ sterileที่เปิดฝาไว้และห้ามจับด้านในของฝา
ของที่หยิบออกไปแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้ใช้ ก็ไม่ควรนำเข้าไปเก็บในหม้อนั้นอีก
วิธีห่อของส่งนึ่ง
คลี่ผ้าห่อของบนโต๊ะ สูงระดับเอวให้มุมใดมุมหนึ่งอยู่ด้านผู้ห่อ
วางของไว้ที่ศูนย์กลางของผ้าห่อ
จับมุมผ้าด้านผู้ห่อ วางพาดบนของ และพับมุมกลับเล็กน้อย
ดึงผ้าให้เรียบตึง ห่อด้านซ้ายให้มิดของ ดึงให้ตึง และพับมุมเล็กน้อย
ห่อด้านขวาให้มิดของ ดึงให้ตึงพับมุมเช่นกัน เข้าเล็กน้อย
จับผ้าที่เหลือมุมสุดท้าย ดึงให้ตึงพับมุมเข้าเล็กน้อยจัดห่อให้มิดชิดไม่หลุด
ติด Autoclave tape
การเปิดห่อของที่ปราศจากเชื้อ
จุดประสงค์
เพื่อคงความปลอดเชื้อของสิ่งของภายในห่อ และผ้าห่อด้านใน
เครื่องใช้
ห่อของที่ปลอดเชื้อ
วิธีทำ
สำรวจป้ายชื่อห่อของให้ตรงกับวัตถุประสงค์
ตรวจสอบความปราศจากเชื้อ
วางห่อบนโต๊ะสะอาดสูงระดับเอว มุมนอกสุดของผ้าอยู่ใกล้ตัว
แกะเทปกาว ป้ายชื่อ ป้ายระบุวันนึ่ง และ autoclave tape ออก
จับมุมผ้าด้านนอกห่างขอบ 1 นิ้ว เปิดมุมออกไปด้านตรงข้ามผู้เปิด
เปิดมุมผ้าด้านข้างออกทีละด้าน แล้วเปิดมุมผ้าด้านในที่สุด
ไม่ใช้มือหยิบของใน set จะใช้ forcep หยิบของใน set
วาง forcep บนผ้าด้านในห่างขอบผ้า 1 นิ้ว
ผ้าปิดปาก-จมูก (Mask)
การใช้ผ้าปิดปาก-จมูก
จะช่วยป้องกันการได้รับเชื้อโรคจากผู้ป่วยเข้าสู่ทางเดินหายใจ
ป้องกันผู้ป่วยได้รับเชื้อจากผู้อื่นที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ
ป้องกันฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจาย
หลักสำคัญ
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังใช้
หากเป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ให้หันขอบที่มีลวดไวด้านบน ควรสวมให้กระชับหน้า
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสผ้าปิดปากและจมูกขณะที่สวมใส่
ระยะเวลาที่ใช้ผ้าปิดปาก-จมูก จะต้องถอดทันทีภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการพยาบาล และเมื่อเกิดความสกปรก ระยะเวลาในการใช้ไม่ควรเกิน 20-30 นาที
เสื้อกาวน์ (Gown)
การใส่เสื้อกาวน์
ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้
โดยทั่วไปจะเปิดด้านหลังและมีเชือกสำหรับผูกที่คอและเอว
เสื้อควรจะใหญ่และยาวเล็กน้อย พอที่จะคลุมชุดเครื่องแบบได้มิดชิด แขนยาว
กรณีที่เปื้อนหรือเปียกให้เปลี่ยนทันที
การป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐาน
(Standard precaution)
เป็นการระมัดระวังการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ใช้กับผู้ป่วยทุกคน โดยไม่คำนึงถึงการวินิจฉัยโรค และชนิดของชิ้นเนื้อทั้งผู้ป่วยที่ทราบและไม่ทราบว่าติดเชื้อหรือไม่ เป็การป้องกันอันดับแรก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ
การปฏิบัติที่ปลอดภัยจากการใช้ของมีคม
ไม่ส่งของมีคมด้วยมือต่อมือ
เข็มที่ใช้เจาะเลือดผู้ป่วยให้เก็บทิ้งคนเดียว
การเย็บแผล ให้ใช้ forceps หยั่งแผลเวลาเย็บ
การปลดหลอดแก้วออกจากสายยาง ให้ใช้ forceps ปลด
ไม่ควรสวมปลอกเข็มคืน แต่ถ้าจำเป็นต้องสวม ควรสวมปลอกเข็มโดยใช้มือเดียว
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
การสัมผัส (Contact Transmission)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้อง
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วย ทั้งบุคลากรและญาติ
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
การแพร่กระจายทางละอองในอากาศ (Droplet Precautions)
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย
ผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N95
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูก เวลาไอ จาท และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟัน
ถ้าต้องมีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้อง ให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
วงจรของขบวนการติดเชื้อ
สิ่งนำเชื้อ :arrow_right: ทางเข้าของเชื้อ :arrow_right: ความไวของบุคคลในการรับการติดเชื้อ
:arrow_up: ทางออกของเชื้อ :arrow_left: แหล่งของเชื้อโรค :arrow_left: จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ :arrow_down:
แหล่งของเชื้อโรค
มนุษย์
สิ่งเเวดล้อม ธรรมชาติ
สัตว์พาหะ เช่น ยุง
ทางออกของเชื้อโรค
ในการเเพร่กระจาย
ทางเดินหายใจ
ทางเดินอาหาร
ทางเดินปัสสาวะ
อวัยวะสืบพันธุ์
เลือด
ผิวหนัง
สิ่งนำเชื้อ
อากาศ
อาหาร และน้ำ
การสัมผัส
วัตถุต่างๆ
แมลง และสัตว์
บุคคลที่มีเชื้อ
ทางเข้าของเชื้อโรค
ที่ทำให้เกิดโรค
เมื่อเชื้อโรคออกจากแหล่งของเชื้อโรคแล้วจะทำให้เกิดโรคได้ โดยการเข้าไปในร่างกายมนุษย์ใหม่
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
ติดเชื้อขณะที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจ หรือได้รับการพยาบาลและการติดเชื้อของบุคลากรจากการปฏิบัติงาน มักเกิดใน 24-72 ชม.
ภาวะปลอดเชื้อ และเทคนิคปลอดเชื้อ
ภาวะปลอดเชื้อ หรือการกีดกั้นเชื้อ
Asepsis
เป็นการ
ปฏิบัติ
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่จะเกิดกับเครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม
เทคนิคปลอดเชื้อ
Aseptic Technique
วิธีการปฏิบัติ
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องมือเครื่องใช้
การฆ่าเชื้อ และทำให้ปราศจากเชื้อ
Critical items :
เครื่องมือเครื่องใช้ที่สัมผัสกับเยื่อบุ ก่อนใช้ต้องทำให้ปราศจากเชื้อ
Semi-critical or intermediate items :
เครื่องมือที่ใช้สัมผัสเยื่อบุ
ก่อนใช้ต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรค
ยกเว้นสปอร์ของแบคทรีเรีย
Non-critical items :
เครื่องมือที่ใช้สัมผัสกับผิวภายนอก ไม่ได้สัมผัสกับเยื่อบุต่างงๆของร่างกาย ก่อนใช้ต้องทำล้างให้สะอาด
การล้าง Cleansing
วัตถุประสงค์ของการล้างเครื่องมือ
เพื่อลดจำนวนเชื้อโรค
เพื่อลดการปนเปื้อนที่ติดอยู่บนผิวของเครื่องมือ
ช่วยขจัดคราบสกปกที่ติดเเน่นก่อนนำไปทำความสะอาดวิธีอื่นๆ
ช่วยลดอันตรายในการหยิบจับอุปกรณ์
เป็นขั้นเเรกที่สำคัญที่สุดในการทำลายเชื้อโรค การล้างที่ถูกต้องสามารถขจัดจุลชีพออกจากวัสดุได้เกือบทั้งหมด และเพียงพอสำหรับการทำลายเชื้อสำหรับเครื่องใช้ทั่วไป
ข้อควรระวัง
กำจัดเลือด หนอง เมือก สารคัดหลั่งและอื่นๆก่อนทำความสะอาดเสมอ
ไม่ทำให้ชำรุด เสียหาย
ไม่ทำให้สกปรกกว่าเดิม
หากล้างออกไม่หมดจะกลายเป็นช่วยเคลือบเชื้อจุลชีพไว้
เครื่องใช้
อุปกรณ์ช่วยในการขัดถู ควรมีความหยาบเเต่ไม่มีคม
สารซักฟอก สบู่
อุปกรณ์สวมใส่เพื่อป้องกันความสกปรก
วิธีทำ
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความสกปรก
ล้างคราบสกปรก และคราบสารผงซักฟอกให้หมดโดยใช้น้ำก๊อกที่ไหลซะผ่าน
เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด หรือวางผึ่งลม หรือเเยกไปทำให้ปราศจากเชื้อ
ทำความสะอาดอุปกรณ์ขัดล้างให้สะอาด ทำให้แห้ง รวมทั้งถุงมือและอ่างน้ำ
Forcep
ถือ forcep คว่ำ ไม่หงาย
คีบปลายขึ้นมาจากภาชนะ ไม่อ้าปลายขึ้นมา
ภาชนะที่มีฝาปิด
ถ้าต้องวางฝาบนโต๊ะให้วางหงายขึ้น
ถ้าต้องถือฝาไว้ในอากาศให้คว่ำฝาลง
การล้างมือ (Hand washing)
เป็นวิธีลดการติดเชื้อที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง ทำง่าย และประหยัดที่สุด
ควรล้างมือตอนไหนบ้าง
ก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย
ก่อนทำความสะอาด หรือทำการฆ่าเชื้อ
หลังสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือของเหลวในร่างกาย
หลังสัมผัสกับสิ่งรอบตัวผู้ป่วย
การล้างมือแบบธรรมดา (normal)
เป็นการล้างมือเพื่อสุขอนามัยทั่วไป
ล้างมือตามขั้นตอน 7 ขั้นตอน
ใช้เวลาในการฟอกมืออย่างน้อย 15 วินาที
ซับให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือ หรือผ้าแห้งสะอาด
การล้างมือ 7 ขั้นตอน
ฝ่ามือถูกัน
ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้ว
ฝ่ามือถูฝ่ามือและซอกนิ้ว
หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ
ถูนิ้วหัวแม่มือด้วยฝ่ามือ
ปลายนิ้วถูขวางฝ่ามือ
ถูรอบข้อมือ
ล้างมือด้วยแอลกอฮอร์เจล (alcohol hand rub)
กรณีรีบด่วน ไม่สะดวกล้างน้ำ
ใช้แอลกอฮอล์เจลที่มีน้ำยา alcohol 70%
สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวก ลบ เชื้อรา เชื้อดื้อยา และไวรัส
ถูให้ทั่วมือจนน้ำยาแห้งใช้เวลา 15-25 วินาที
หากต้องการประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อควรฟอกนาน 30 วินาที
การล้างมือก่อนปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อและภายหลัง (Hygienic hand washing)
การล้างมือภายหลังการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือสิ่งปนเปื้อน
ใช้ chlorhexidine gluconate 4%
ฟอกเหมือนขั้นตอนการล้างมือธรรมดาเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วินาที
ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้งด้วยผ้าแห้งสะอาด
ล้างมือก่อนทำหัตถการ (Surgical hand washing)
เป็นการล้างมือเพื่อหัตถการที่ต้องป้องกันการติดเชื้อ
ล้างมือด้วยสบู่ทำลายเชื้อ chlorhexidine 4%
ใช้แปรงปราศจากเชื้อแปรงมือและเล็บ
ฟอกมือและแขนถึงข้อศอกให้ทั่ว
ใช้เวลาอย่างน้อย 5 นาที
ล้างให้สะอาดแล้วซับด้วยผ้าแห้งปราศจากเชื้อ
หลักการ Standard precaution
1.สวมเครื่องมือป้องกัน ตามความเหมาะสม
สวมถุงมือ
ใช้ผ้าปิดปาก จมุก สวมแว่นตา หรือเครื่องกันหน้า
สวมเสื้อคลุม
2.ระวังการบาดเ็บมากจากเข็มและของมีคมต่างๆ
3.บุคลากรที่มีบาดแผลหลีกเลี่ยงการสัมผัสผุ้ป่วยโดยตรงก่อนที่จะใช้เครื่องป้องกันทางการแพทย์
4.ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ทุกครั้งในการปฎิบัติงานทางการแพทย์หรือในห้องปฎิบัติการ
เทคนิคการแยก(Isolation Technique)
Isolation Technique คือ วิธีในการแยกผู้ป่วยเพื่อกำจัดการแพร่กระจายของเชื้อโรคผู้ป่วยไปสู่ผู่อื่น หรือจากบุคคลอื่นไปสู่ผู้ป่วย
จุดประสงค์ในการแยกผู้ป่วย
ป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อ
ป้องกันการติดโรคจากผู้ป่วย
ป้องกันการซ้ำเติมโรคในผู้ป่วยที่มีความต้านทานต่ำ เรียกว่าการแยกเพื่อป้องกันเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย (protective isolation or reverse barrier technique)
เพื่อทำลายเชื้อโรคซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรค
การแยกผู้ป่วยจำแนกออกเป็น 7 แบบ คือ
การแยกผู้ป่่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
การแยกผู้ป่่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
การแยกผู้ป่่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางบาดแผลและผิวหนัง
การแยกผู้ป่่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและติดต่อง่าย
การแยกผู้ป่่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางเลือด และน้ำเหลือง
การแบกผู้ป่วยในรายที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง