Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-antiHAV และตรวจการทํางานของตับ
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การป้องกันและการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาการติดเชื้อ HAV ให้หายได้อย่างเด็ดขาด ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ ถึงแม้ว่าเชื้อ HAV จะไม่ผ่านรก แต่หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อในระยะใกล้คลอด ทารกมีโอกาสติดเชื้อหลังคลอดได้ ดังนั้นอาจพิจารณาให้ immune serum globulin (ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ หรือรายที่ต้องไปอยู่ในถิ่นที่มีการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของตับอักเสบไวรัสเอ ส่วนทารกที่คลอดจากสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอดควรได้รับ ISG ขนาด 0.5 mg แก่ทารกทันทีหลังคลอด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทําให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อHAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป อย่างไรก็ตามหากสตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอด อาจมีการแพร่กระจายเชื้อไปยังทารกในระยะคลอด หรือระยะหลังคลอดได้
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงที่พบ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน แต่เมื่อใดที่ตรวจพบน้ําดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทํางานผิดปกติ ซึ่งทําให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบalkaline phosphatase เพิ่มขึ้น อาการจะมีอยู่ 10-15 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักฟื้น และหายจากการเป็นโรค ผู้ที่หายจากการเป็นโรคแล้วมักจะมีภูมิคุ้มกัน และจะไม่เป็นพาหะ ไม่เป็น chronichepatitis หรือ chronic liver disease
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายอาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ําเหลืองโต บางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI) เพื่อหา titer ของ antibody ของเชื้อหัดเยอรมันหากผล HAI titer น้อยกว่า 1:8 หรือ 1:10 แสดงว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ และควรเจาะเลือดตรวจหา HAI titer อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อยืนยันการติดเชื้อในสตรีตั้งครรภ์ โดยหาก HAI titer ครั้งที่2 สูงกว่าครั้งแรกอย่างน้อย 4 เท่า แสดงว่ามีการติดเชื้อ (ระยะห่างของการเจาะเลือดตรวจจะขึ้นอยู่กับอาการและอาการแสดงและวันที่มาพบแพทย์) หรือตรวจ IgM antibody และ IgG antibody โดยจะตรวจ 2 ครั้ง โดยตรวจครั้งแรกเมื่อมีอาการ และครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ หากพบ antibody เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่าจากครั้งแรก แสดงว่ามีการติดเชื้อสําหรับการตรวจเพื่อดูว่าทารกในครรภ์ติดเชื้อหัดเยอรมันจะโดยการเก็บเลือดจากสายสะดือทารกเพื่อตรวจหา IgM antibody หรือเก็บเนื้อรกเพื่อตรวจด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR) โดยจะตรวจพบภายหลังทารกมีการติดเชื้อแล้ว 7-8 สัปดาห์
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ได้แก่ มีผื่นคล้ายหัด เป็นไข้หวัด และ/หรือมีประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง คุ้มกับค่าใช้จ่าย และควรเน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองหารายที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อให้วัคซีน
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทําให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว
การพยาบาล
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดําเนินของโรค ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และต่อทารกในครรภ์และการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวตัดสินใจเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน การสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค และอาการแสดงของโรค
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อมสําหรับการทําแท้งเพื่อการรักษา
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
รายที่ตัดสินใจดําเนินการตั้งครรภ์ต่อ และคลอดทารกที่มีความพิการ ดูแลด้านจิตใจของมารดาและครอบครัวโดยเปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดและครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามเกี่ยวกับอาการของทารก เพื่อลดความวิตกกังวล
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนําให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นพาหะของเชื้อหัดเยอรมัน โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย และหลังการให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อนฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และหลังจากให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงได้แก่ มีไข้ต่ํา ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจายโดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้าจากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลําตัว แขนขา จนทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว อาการจะเกิดขัดเจนในวันที่ 7-10 และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ จากนั้นผื่นจะจางหายไป แต่ในบางรายที่ไม่มีอาการข้างต้น จะมีเพียงอาการคล้ายเป็นหวัด แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบภูมิคุ้มกันเชื้อหัดเยอรมัน
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ําเหลืองโต ทั้งสองกลุ่มสามารถทําให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้ เชื้อหัดเยอรมันจะเข้าไปทําลายผนังหลอดเลือดและเนื้อรกทําให้เนื้อรกและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย ส่วนในทารกเชื้อจะเข้าไปในเซลล์ที่กําลังแบ่งตัว ทําให้เซลล์ติดเชื้อ ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ การสร้างอวัยวะต่าง ๆ บกพร่อง เกิดเป็น ความพิการแต่กําเนิด ซึ่งความรุนแรงของความพิการจะลดลงตามอายุครรภ์ที่มารดาเกิดการติดเชื้อหัดเยอรมันและความพิการในทารกจะลดลงมากหรือไม่พบเลยถ้าการติดเชื้อเกิดหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAgเป็นบวกจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสตรีตั้งครรภ์ไปสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 90และสามารถพัฒนาเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคตในขณะที่สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นลบจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อเพียงร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 20 เท่านั้น
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี เคยสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือคนที่เป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจการทํางานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody ของไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน) ดังนั้นในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ํา ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้นและส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ มีบางส่วนที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะตับวาย กลายเป็นมะเร็งตับและเสียชีวิตในที่สุด โดยโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งตับจะเพิ่มขึ้นตามจํานวนเชื้อไวรัสในร่างกายและอายุที่เพิ่มขึ้น
แนวทางการป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจซ้ําอีกครั้งในไตรมาสที่ 3 หากผลเป็นบวก ตรวจหา HBeAg เพื่อดูความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อและตรวจค่าเอนไซม์ตับ ได้แก่ ALT, Creatinine เพื่อประเมินภาวะตับอักเสบ
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus ให้การรักษาดังนี้
รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus และมีค่า HBeAg เป็นบวกหรือประมาณ Hepatitis B virus DNA ในกระแสเลือดมากกว่า 20,000 IU/ml ร่วมกับค่าเอนไซม์ตับสูงเกิน 2 เท่าของค่าปกติต้องให้การรักษา ด้วยยา Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) ขนาด 300 mg รับประทานวันละ 1 ครั้ง เริ่มรับประทานเมื่ออายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ และให้ต่อเนื่องจนครบ 4 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อลดการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus แต่ค่า HbeAg เป็นลบและเอนไซม์ตับปกติ ไม่จําเป็นต้องรักษา
แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด เพื่อหา HBsAg และ HBsAb หากผลตรวจ เป็นลบ แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวฉีดวัคซีน
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการที่จะทําให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแก่ทารกในครรภ์ อาจใช้วิธี non-invasive prenatal testing (NIPT) แทน หากจําเป็นต้องทํา chorionic sampling หรือ amniocentesis จะต้องแจ้งให้สตรีตั้งครรภ์ทราบถึงความเสี่ยง
ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน อาจให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา ให้ยาแก้อาเจียน รักษาประคับประคองตามอาการ
พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด เพราะอัตราการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากมารดาสู่ทารกไม่แตกต่างกันระหว่างคลอดทางช่องคลอดกับคลอดโดยการผ่าตัด การผ่าตัดคลอดควรทําเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางสูติศาตร์เท่านั้น หลีกเลี่ยงการคลอดโดยคีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศและเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วต้องดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารกออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพื่อช่วยลดปริมาณไวรัสที่ทารกจะสัมผัส
แนะนําให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
ทารกที่เกิดจากสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus ควรได้รับการฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุด และฉีด HB vaccineภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด ถ้าไม่สามารถฉีด HBIG ได้ทันทีหลังคลอดจะต้องฉีดภายใน 7 วัน หลังคลอด (หากเกิด 7 วันไปแล้ว ทารกจะไม่ได้รับประโยชน์จากการฉีด HBIG) ฉีด HB vaccine อีกครั้งเมื่ออายุ 1 เดือน จากนั้นฉีดวัดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี (DTP-HB vaccine) เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ตามลําดับ
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทํางานหนัก หรือออกกําลังกาย
มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อ Hepatitis B virusองค์การอนามัยโลก (2016) แนะนําว่าสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมารดาได้ทันที ไม่จําเป็นต้องรอจนกระทั่งทารกแรกเกิดได้รับวัคซีนแล้วจึงเริ่มเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เนื่องจากมีการวิจัยพบว่าอัตราการถ่ายทอดจากมารดาสู่ทารกไม่มีความแตกต่างกันระหว่างทารกที่ได้รับวัคซีนกับทารกที่ไม่ได้รับวัคซีน
พยาธิสรีรภาพ
ระยะที่สองประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง anti-HBe ขึ้นมาเพื่อทําลาย HBeAg ดังนั้นหากตรวจเลือดจะพบ anti-HBe ให้ผลบวกและจํานวน Hepatitis B virusDNA ลดลง
ระยะที่สามเป็นระยะที่ anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier) ซึ่งหากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกติ
ระยะแรกเมื่อได้รับเชื้อHepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ แต่หากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (viral load) จํานวนมาก
ระยะที่สี่เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทําให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก ในระยะนี้ถ้า anti-HBe ไม่สามารถทําลาย HBeAg ได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL จะเข้าสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
การพยาบาล
ระยะคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่างๆออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทําให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ทําความสะอาดทารกทันทีที่คลอด เพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ําคร่ํา และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ําคร่ําแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด โดยฉีดHepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด และให้ Hepatitis B vaccine (HBV) 3 ครั้ง ให้ครั้งแรกภายใน 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด หรืออาจให้พร้อม HBIG และให้ครั้งที่ 2 และ 3 เมื่ออายุครบ 1 และ 6 เดือน ตามลําดับ
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ประเมินการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด และสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
ให้การดูแลผู้คลอดโดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด
ระยะหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ําคาวปลา การล้างมือให้สะอาดก่อนการดูแลทารกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนําบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อติดตามอาการและป้องกันการติดเชื้อ
ไม่จําเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก เนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านน้ํานมพบได้น้อยมาก แต่หากมารดาหลังคลอดมีหัวนมแตกและมีการอักเสบติดเชื้อของหัวนม อาจแนะนําให้งดให้บุตรดูดนมเพราะอาจแพร่กระจายเชื้อสู่ทารกได้
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และแนะนําการสังเกตการณ์ดิ้นของทารกในครรภ์ อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หากพบต้องรีบมาโรงพยาบาลทันที
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดําเนินของโรค แผนการรักษาพยาบาลที่จะให้แก่สตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้ระบายความรู้สึกกลัว วิตกกังวลเพื่อคลายความวิตกกังวล
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ําซ้อน
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อและอยู่ในระยะที่มีอาการ จึงควรแนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ํา ย่อยง่าย ให้พลังงานสูง ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน ดูแลให้ได้รับยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษ
สุกใส(Varicella-zoster virus: VZV)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อสุกอีใสในผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ พบว่าความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะอายุครรภ์ใกล้ครบกําหนดคลอดจะยิ่งอันตราย ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 40 จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทําให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทําให้ซึมลง และมีอาการชัก ทําให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้
การติดเชื้อปริกําเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในรายที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน เนื่องจากหากเป็นโรคก่อนคลอด 5 วัน จะยังไม่มีภูมิคุ้มกัน (antibody) ในมารดามากพอที่จะส่งไปช่วยป้องกันในทารกและถ้าอาการเกิดใน 2 วันหลังคลอด แสดงว่าปริมาณเชื้อสูงตั้งแต่ช่วงที่คลอด และทารกได้รับเชื้อไปตั้งแต่ก่อนคลอดแล้ว ซึ่งอัตราเสียชีวิตของทารกที่ติดเชื้อในนี้สูงถึงร้อยละ 20-30
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้มีผื่นตุ่มน้ําใสตามไรผม ตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ารตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็นการตรวจหาการติดเชื้อของโรคสุกใสและงูสวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันคือ Varivella Zoster Virus (VZV) ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ต่ํา มีผื่นหลายลักษณะตามระยะของผื่นโดยผื่นเริ่มแรก และตกสะเก็ด แต่มักไม่พร้อมกัน จึงมีผื่นชนิดนูนแดง (Papule) ตุ่มใส (Vesicle) และตกสะเก็ด (Scab) เกิดขึ้นพร้อมๆ กันทั่วร่างกาย ลักษณะของผื่นมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ พบที่บริเวณลําตัวได้มากกว่าแขน ขาและใบหน้า ลักษณะของน้ําในตุ่ม อาจจะใสหรือขุ่นก็ได้
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็นการตรวจหาภูมิต้านทานต่อโรคสุกใสและงูสวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อ Varivella Zoster Virus เพื่อนําผลไปพิจารณาการให้วัคซีนหรือประกอบการเดินทางไปต่างประเทศ
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ําๆ นํามาก่อนประมาณ1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่ บางคนอาจมีต่อมน้ําเหลืองที่คอ และหลังหูโตขึ้น จนคลําได้ก้อนกดเจ็บ บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผื่น ตอนเป็นตุ่มน้ําจะรู้สึกคันมาก โดยตุ่มจะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน หลังจากนั้นจะพัฒนาไปเป็นตุ่มหนอง และแห้งลงจนตกสะเก็ดในที่สุด ลักษณะที่บางเม็ดขึ้นเป็นตุ่มน้ําใสๆ และบางเม็ดกลายเป็นตุ่มกลัดหนอง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ เช่น การพักผ่อนอย่างเพียงพอและดื่มน้ํามากๆ หากมีไข้ ใช้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน เพราะอาจทําให้เกิด Reye’s syndrome ทําให้เด็กเสียชีวิตได้ ควรอาบน้ํา และใช้สบู่ฟอกผิวหนังให้สะอาด ควรตัดเล็บให้สั้น และหลีกเลี่ยงการแกะเกา เพราะอาจทําให้ติดเชื้อแบคทีเรียทีแผลที่เกาได้ ในรายที่มีอาการคัน ให้ยาแก้คัน (Antihistamines) เช่น คลอเฟนิรามีน หรือ ซีพีเอ็ม ช่วยลดอาการคันได้ หรือทายา คาลาไมน์ แก้คันก็ได้
การรักษาแบบเจาะจงโดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใสAcyclovir ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งการให้ยาในช่วงนี้สามารถทําให้ระยะเวลาของโรคสั้นลง แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น โอกาสการเกิดแผลติดเชื้อหรือแผลที่ลึกมากก็น้อยลง อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้ก็มีราคาแพงมาก การพิจารณาเลือกใช้ยากลุ่มนี้จึงขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ และความต้องการของผู้ป่วย ส่วนในรายที่ตั้งครรภ์ การใช้ยาต้านไวรัสขณะตั้งครรภ์ ยังมีการศึกษาน้อย การให้ยา จึงควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เป็นรายๆ ไป
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใสแต่เนื่องจากการติดต่อของสุกใสนั้น เริ่มได้ตั้งแต่ 2-3 วันก่อนที่จะมีผื่นขึ้น และตลอดเวลาที่กําลังมีผื่นตุ่มสุกใสอยู่ จนกว่าตุ่มเหล่านี้จะแห้งกลายเป็นสะเก็ด จึงจะพ้นระยะติดต่อ จึงเป็นการยากที่จะรู้ว่าใครติดเชื้อตั้งแต่ระยะยังไม่มีผื่นขึ้น ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตที่นํามาทําให้อ่อนกําลังลง และนํามาฉีดเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยไม่ทําให้เกิดโรคขึ้น และสามารถป้องกันการติดเชื้อสุกใสเมื่อได้รับเชื้อจากผู้อื่นที่เป็นโรค
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้สูง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก เพื่อลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว รวมถึงแนะนําแหล่งสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกําลังกายสม่ําเสมอ และทําจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานต่อโรค
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ หรือการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการฉีดวัคซีนเนื่องจากวัคซีนสุกใสที่ได้รับเป็นวัคซีนที่มีชีวิต หากเกิดการตั้งครรภ์ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทําให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้
ระยะหลังคลอด
กรณีพ้นระยะการติดต่อหรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้วสามารถแนะนําเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกําลังกายสม่ําเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลักuniversal precautionในการสัมผัสน้ําคาวปลา แนะนําให้แยกของใช้สําหรับมารดา และทารก เน้นเรื่องความสะอาด
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันทีหากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5วันก่อนคลอดถึง 2วันหลังคลอด รวมทั้งประเมินภาวะการติดเชื้อของทารก
กรณีที่มารดามีอาการให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ5วันแรกหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากมารดา
เน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัดและมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
การประเมินและการการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ข้ออักเสบและตรวจพบอาการและอาการแสดงของโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการตรวจหา CMV เริ่มตรวจได้เมื่ออายุครรภ์ครรภ์21 สัปดาห์ แต่ไม่ช้ากว่า 6-7 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อการแปลผลหากผลการวิเคราะห์เป็นลบหมายถึงทารกในครรภ์มีสุขภาพดี และหากผลการวิเคราะห์เป็นบวกสตรีตั้งครรภ์จะได้รับการวิเคราะห์เชิงปริมาณของ PCR เพื่อค้นหาการติดเชื้อcytomegalovirus ต่อไป
การตรวจPlasma specimen for culture หรือquantitative real-time PCRในสตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ หากพบปริมาณไวรัสมากการพยากรณ์โรคในครรภ์ก็จะแย่ลง
การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้นพบเชื้อ CMV ในปัสสาวะ และในเม็ดเลือดขาว หรือเจาะเลือด พบว่า IgG เพิ่มขึ้น 4เท่าในช่วงการติดเชื้อเฉียบพลัน บางครั้งพบ IgM ในเลือดแม่ อยู่นาน 3-4เดือน ในชนิดการกลับเป็นซ้ําจะตรวจไม่พบ IgM
การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต ลักษณะของอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น
การตรวจพิเศษการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูพัฒนาการและความผิดปกติของทารกในครรภ์ ภาวะ microcephaly, fetal growth, hypochlorism, และความผิดปกติที่อาจพบได้ของพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี และควรเข้ารับการให้คําปรึกษาก่อนการมีบุตร
วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่ เนื่องจากการแพร่กระจายของ CMVผ่านสารคัดหลั่ง เลือดที่มีเชื้อโดยการสัมผัสกับมือและเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปากหรือจมูก โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ที่ต้องสัมผัสกับเด็กควรสวมถุงมือและล้างมือด้วยสบู่หรือน้ํายาฆ่าเชื้อโรคด้วยเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสไม่จูบหรือสัมผัสเด็กเล็กที่ใบหน้า ไม่รับประทานอาหารหรือใช้อุปกรณ์ร่วมกับเด็กเล็ก
วัคซีนที่ให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ CMV โดยตรงนั้นยังไม่มี แต่สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีการติดเชื้อ
การรักษา
การให้ยาต้านไวรัส โดยขนาดและปริมาณที่ให้จะขึ้นอยู่กับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์และลดการติดเชื้อไวรัสในทารกในครรภ์
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ และให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด
การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human เป็นการให้ยาที่มีแอนติบอดีต่อ CMV ซึ่งได้รับจากเลือดของคนที่หายจากเชื้อไวรัสนี้และมีภูมิคุ้มกัน การให้ยานี้ในผู้ที่มีการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยลดการอักเสบของรกและความเสี่ยงของการติดเชื้อของทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลงหากไวรัสCMV ที่แฝงตัวอยู่มีการติดเชื้อซ้ํา หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์จะมีทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้นทําให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ําคร่ํา
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกําหนด น้ําหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด ส่วนทารกแรกเกิดนั้นอาจไม่มีอาการแสดงใด จนถึงมีอาการรุนแรง hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiae, microcephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineural hearing loss
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ําเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสําคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การดําเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล รวมถึงเปิดโอกาสให้ซักถาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ คลายความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนําและเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndrome คือ ไข้สูงนานปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวมตับอักเสบ และอาการทางสมอง การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด อาการในเด็กทารกมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน ถึงอาการที่รุนแรงทางสมองและระบบประสาท ได้แก่ hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiae, microcephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineuralhearing loss
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดาในครรภ์ในระยะคลอดในระยะให้นมการถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะเพศสัมพันธ์ทางหายใจ(โดยสัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส(โดยสัมผัสน้ําลาย ปัสสาวะ) แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิดมีหลักฐานพบการติดเชื้อ CMV ครั้งแรกที่ประเทศบราซิล และหลังจากนั้น เชื้อ CMVสายพันธุ์ต่างๆมากมาย ก็แพร่กระจายไปในหมู่ประชากรทั่วโลก ประชากรส่วนใหญ่มักจะได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้วตั้งแต่วัยเด็ก โดยไม่มีอาการของโรค นอกจากบางกลุ่มที่อาจเป็นโรค Mononucleosis ซึ่งมีอาการไข้สูงเป็นเวลานาน มีตับอักเสบเล็กน้อย ดังนั้นในกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ การติดเชื้อ CMV ไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อ CMV ก่อให้เกิดอาการโรคที่รุนแรงในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ การติดเชื้อในทารกในครรภ์ คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลื่ยนอวัยวะ(organ transplant recipients) และผู้ติดเชื้อ HIV
การติดเชื้อไวรัสซิก้า(Zika)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือปลายเท้า เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการโดยใช้สิ่งส่งตรวจ เทคนิคที่ใช้ในการตรวจ ได้แก่ การตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี ReverseTranscriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) และการตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA หรือImmunofluorescence สําหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อของทารกในครรภ์ อาจสามารถตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยใช้สิ่งส่งตรวจ
การซักประวัติโดยการซักประวัติอาการของผู้ป่วย
การตรวจพิเศษการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินเส้นรอบศีรษะทารกในครรภ์
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
กระทรวงสาธารณสุข ได้กําหนดมาตรการด้านการเฝ้าระวังคัดกรองโรค โดยได้มีระบบการเฝ้าระวัง ครอบคลุม 4 ด้าน คือระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยาระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กําเนิดและระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาทร่วมกับการรณรงค์กําจัดลูกน้ํายุงลาย
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิกาโดยเฉพาะ การรักษาทําได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ํามาก ๆ และรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAIDs) เนื่องจากยาบางชนิดเป็นอันตรายสําหรับโรคนี้ โดยอาจทําให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด อาการอื่น ๆ ที่พบ คือ อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก ปวดศีรษะ ตาแดงและเยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ปวดตามร่างกาย ซีด บวม ตามปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกตามผิวหนัง และอาการทางระบบทางเดินหายใจ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา คือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด นอกจากนี้ภาวะศีรษะเล็กในทารกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทหลักที่พบได้
การพยาบาล
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป ทั้งนี้ให้ยึดหลัก universal precautionเมื่อทารกคลอด ให้รีบดูดน้ําคร่ําและสารคัดหลั่งที่อยู่ในคอ ช่องปาก และจมูกของทารกออกมาให้สะอาด
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ ควรให้การพยาบาลดังนี้
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา และไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID เนื่องจากจะทําให้เกิดภาวะเลือดออกในอวัยวะภายในได้ประเมินและบรรเทาความไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น
เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และติดตามผลเพื่อรายงานแพทย์
อธิบายเกี่ยวกับการดําเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การวินิจฉัย และการดูแลรักษาให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก การส่งตรวจและติดตามผลการทํา NST การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และประเมินการดิ้นของทารกในครรภ์
เน้นย้ําการมาตรวจครรภ์ตามนัด เพื่อประเมินสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป เน้นย้ําการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ในแม่ที่พ้นระยะการติดเชื้อสามารถให้เลี้ยงนมมารดาได้ นอกจากนี้ควรย้ําให้เห็นความสําคัญของการนําทารกมาตรวจตามนัด และหากทารกมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ทันที
ให้คําแนะนําในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อาการและอาการแสดงของโรค ความรุนแรงของโรค วิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าบุคคลในบ้านป่วยเป็นโรคโดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ และการป้องกันโรค รวมทั้งการสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาดังนี้
กําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยการทําความสะอาด การเทน้ําทิ้ง หรือปิดฝาภาชนะที่สามารถบรรจุน้ําได้ เช่นกระถางต้นไม้ เพื่อป้องกันน้ําขังอันจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค แต่หากจําเป็นต้องเดินทางควรปรึกษาแพทย์และป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด
สวมเสื้อผ้าเนื้อหนา สีอ่อน ๆ ที่สามารถคลุมผิวหนังและร่างกายได้มิดชิด
หากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง ปิดประตูหรือใช้มุ้งลวดติดป้องกันยุงเข้าบ้าน
หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ หรืออาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ และเข้ารับการรักษาทันที และหญิงตั้งครรภ์ควรมารับการตรวจสุขภาพ และการติดตามดูแลรักษาในคลินิกฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ
ใช้ยากําจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
ในระยะ 7 วันที่เริ่มมีไข้ จะมีปริมาณของเชื้อไวรัสในกระแสเลือดจํานวนมาก หากถูกยุงกัดในช่วงนี้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้อย่างมาก วิธีที่จะทําให้มีโอกาสเกิดการแพร่กระจายของเชื้อน้อยที่สุด คือการป้องกันไม่ให้ตนเองถูกยุงกัด โดยเฉพาะในระยะ 7 วันแรกที่มีอาการ
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมีอาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก ส่วนน้อยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน ทําให้พบอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน้อย ยกเว้นในสตรีตั้งครรภ์ซึ่งอาจจะส่งผลให้ทารกที่คลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติโดยเฉพาะการติดเชื้อนี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ําคร่ํา พบ IgA และ IgM
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินลักษณะสุขภาพของทารกในครรภ์ ลักษณะของรกและน้ําคร่ํา
การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ําเหลืองดู titer IgG และ IgM หากมีการติดเชื้อเฉียบพลันเมื่อตรวจสอบน้ําเหลืองซึ่งจะเริ่มตรวจพบ แอนตี้บอดีย์ IgM ที่จําเพาะต่อเชื้อภายใน 10วันของการติดเชื้อ จนสูงสุดใน 1เดือน และให้ผลลบ 3-4เดือน
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค ประวัติมีอาการอ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ
แนวทางการป้องกันและการรักษา
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนําให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ถ้าพบ IgM ในมารดา อนุมานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย spiramycin จะช่วยลดการติดเชื้อในครรภ์ได้
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้างไข่ดิบ นมสดที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์และควรล้างมือให้สะอาดหลังจับต้องเนื้อสัตว์ดิบ
การวินิจฉัยในทารกก่อนคลอด สามารถกระทําได้ การเจาะเลือดสายสะดือทารกเพื่อหาการติดเชื้อ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อหาความผิดปกติทางสรีระของทารก
หากจําเป็นต้องทําความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกําเนิด ถุงน้ําคร่ําและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ กรณีทื่ทารกมีการติดเชื้อแต่กําเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสําคัญ คือ ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อ สมองและตาจะถูกทําลาย
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก ต้องรีบพามาพบแพทย์
ระยะตั้งครรภ์
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม และให้กําลังใจในการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูกเจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา viralnucleic acid ด้วยวิธี real-time polymerase chainreaction(RT-PCR)จากสารคัดหลั่ง กรณีที่ผลตรวจไม่พบเชื้อให้ตรวจซ้ําา อีก1ครั้ง หากตรวจ2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมงแล้วยังไม่พบเชื้อถือว่าไม่เป็นโรค
ให้ส่งสิ่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่น เช่น influenza virus A and B, adenovirus,respiratory syncytial virus, rhinovirus, human metapneumovirus,SARS-CoV,bacterial pneumonia, chlamydiaและ mycoplasma pneumoni
การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ําโดยเฉพาะ lymphocyte ค่า C-reactive protein สูงขึ้นเกล็ดเลือดต่ําค่าเอนไซม์ตับและ creatine phosphokinase สูง
การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ ระยะเวลาและประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงและมีการแพร่ระบาดรวมถึงประวัติอาการและอาการแสดงของโรค
การตรวจพิเศษได้แก่ การตรวจเอกซเรย์ปอดหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกพบมีปอดอักเสบ
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากรเน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPEการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในรพ.และไปกับรถพยาบาล บุคลากรต้องใส่ fullPPE
การดูแลรักษา
การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด
ทําepidural block ได้และมีข้อดี กรณีที่จําเป็นต้องผ่าตัดคลอดจะทําได้เร็วขึ้น
การใช้ก๊าซสูดดมเพื่อระงับความปวดควรใช้ด้วยความระมัดระวังอาจมีการแพร่กระจายเชื้อได้
ไม่มีข้อห้ามของการคลอดทางช่องคลอด
การตัดสินใจผ่าตัดคลอดควรพิจารณาให้เร็วและลดเกณฑ์ลง
วิธีคลอดพิจารณาตามความเหมาะสมและนโยบายของแต่ละโรงพยาบาล
ทําการผ่าตัดในห้องแยกความดันลบ (ถ้ามี)
ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ตามความจําเป็น
การระงับความรู้สึกหลีกเลี่ยง general anesthesia
On EFMถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ไม่แนะนําให้ยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อรอให้ยา corticosteroidsครบ dose
ให้ magnesium sulfate สําหรับ neuroprotection ได้
การยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ทําได้ถ้ามารดาอาการไม่หนักแต่ไม่ควรใช้ยา indomethacin
ทารกที่แท้งหรือเสียชีวิต รกและน้ําคร่ําให้ส่งตรวจหาเชื้อไวรัสแล้วกําจัดแบบตัวอย่างงติดเชื้อ
การให้ corticosteroids สําหรับกระตุ้นปอดทารกในครรภ์ ควรปรึกษาอายรุแพทย์โรคติดเชื้อเพราะจะทําให้ผู้ป่วยที่อาการหนักแย่ลงหากอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์จะไม่ให้
การดูแลรักษากรณีฉุกเฉินหากไม่สามารถซักประวัติได้ ให้ทําการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เข้าข่ายการสืบสวนโรค และบุคลากรใส่ชุด full PPE
การดูแลทารกแรกเกิดการให้ทารกดูดนมจากเต้า หรือการแยกทารกออกจากมารดาชั่วคราวขึ้นกับนโยบายของโรงพยาบาล และใช้การตัดสินใจใจร่วมกันระหว่างมารดากับทีมแพทย์ผู้ดูแล
สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง
On EFMถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
ให้ยาต้านไวรัสและ/หรือยาอื่น ๆตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
ไม่ให้ออกซิเจนทาง face mask หรือ face mask with bag เนื่องจากจะเกิดการแพร่กระจายของละอองฝอยได้ควรให้เป็น cannula แทน
ยุติการตั้งครรภ์ตามขอ้บ่งชี้ด้านสูติศาสตร์หรือกรณีที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกู้ชีพมารดา
หากอาการแย่ลง ควรคิดถึงภาวะpulmonary embolism
การดูแลมารดาหลังคลอดหลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด ใช้การประเมินผ่านทางvideocall แทน หากจําเป็นต้องเข้าไป ให้ใส่ชุด full PPE
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรงให้ยาต้านไวรัส พิจารณาตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
การดูแลด้านจิตใจเฝ้าระวังและประเมินความเครียดและอาการซึมเศร้า
สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19
ถ้ามีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
หากเป็นไปได้ให้เลื่อนการนัดผ่าตัดคลอดหรือการกระตุ้นคลอดออกไปอย่างน้อย 14วันหรือจนกว่าผลตรวจเชื้อไวรัสเป็นลบ
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้นเนื่องจากภูมิต้านของร่างกายขณะตั้งครรภ์ลดต่ําลง สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด การติดเชื้อCOVID-19 ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด หรือตรวจพบภายใน 7 วันหลังคลอดได้ ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารกในครร
การพยาบาล
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ํานมแต่อย่างใดทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 จัดเป็นผู้มีความเสี่ยง จะต้องมีการแยกตัวออกจากผู้อื่น และต้องสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน บุคลากรทางการแพทย์ ควรอธิบายถึงความเสี่ยง ความจําเป็น และประโยชน์ ของการแยกแม่ออกจากทารกชั่วคราว ให้แม่เข้าใจและปฏิบัติตาม
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคํานึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ํานม ดังนั้นจึงสามารถกินนมแม่ได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 ควรปฏิบัติตน
งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จําเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะใกล้กว่า 2 เมตร
กรณีครบกําหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน เพื่อพิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่
แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
กรณีเจ็บครรภ์คลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
ข้อแนะนําการปฏิบัติสําหรับมารดาหลังคลอดในกรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ หรือมารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วและมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะปั๊มนมได้ ควรปฏิบัติ
สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทํากิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนม และการปั๊มนม
หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70%ขึ้นไป
ล้างทําความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ที่ปั๊มนม ขวดนม ด้วยน้ํายาล้างอุปกรณ์ และทําการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
อาบน้ําหรือเช็ดทําความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ําและสบู่
การให้นม ควรให้ผู้ช่วยเหลือหรือญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้อง และต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด โดยวิธีการนําน้ํานมแม่มาป้อนด้วยการใช้ช้อน หรือถ้วยเล็ก หรือขวด กรณีที่แม่ต้องอยู่เพียงลําพัง มารดาสามารถป้อนนมลูกได้เอง โดยต้องปฏิบัติตามแนวทาง เพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
ก่อนเริ่มกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น
ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ําสะอาดนานอย่างน้อย 20วินาที ทุกครั้งที่มีการไอจาม สัมผัสสิ่งแปลกปลอม ก่อนรับประทานอาหาร หรือออกจากห้องน้ํา หากไม่มีสบู่ ให้ใช้แอลกอฮอล์เจล 70เปอร์เซ็นต์
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ หรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ถ้ามีอาการไอ จาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกคน
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
สตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากมีอาการป่วยเล็กน้อย ควรพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์
รักษาระยะห่าง social distancing ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ด้วยการอยู่ห่างกัน 1-2เมตร
เน้นย้ําให้สตรีตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดได้ตามปกติ หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัด
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันเป็นจํานวนมา
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ามูกเจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก