Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534, คำย่อ สุข สัม สิทธิ ลดกิจ ลดตอน…
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
ข้อมูลเบื้องต้น
ประกาศใช้ 21 สิงหาคม 2534 นายอานันท์ ปันยารชุนรับสนองฯ
แก้ไขล่าสุดปี 2553 เป็นฉบับที่ 8 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับสนองฯ
การบริหารราชการตามพ.ร.บ. นี้เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์สุขของประชาชน
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจรัฐ
มีประสิทธิภาพ
คุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ลดภารกิจ ยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
กระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น
กระจายอำนาจการตัดสินใจ
อำนวยความสะดวก ตอบสนองความต้องการของประชาชน
ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง (หลักรวมอำนาจ)
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค (หลักแบ่งอำนาจ)
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (หลักกระจายอำนาจ)
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนให้คำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของส่วนราชการนั้น
นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพ.ร.บ. นี้
การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง
ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น บางกระทรวงอาจไม่มีก็ได้
กระทรวงใดมีความจำเป็นจะต้องมีส่วนราชการเพื่อทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ตั้งสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายใน ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การตั้งส่วนราชการเพื่อรับผิดชอบหน้าที่โดยเฉพาะซึ่งไม่ได้มีฐานะเป็นกรม แต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือที่เรียกออย่างอื่นแต่มีฐานะเทีนบเท่าได้
การยุบ รวม โอนในกระทรวงใดมาจัดตั้งเป็นส่วนราชการนี้ โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่หรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็น พ.ร.ฎ
การตั้งอธิบดีหรือที่เรียกเป็นอย่างอื่นให้ รมต. เจ้าสังกัดเป็นผู้เสนต่อ ครม.ให้อนุมัติ
ก่อนที่ ครม.จะให้ความเห็นชอบในร่าง พ.ร.ฎ. ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่าง พ.ร.ฎ.ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่างให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ
กระทรวงมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
ปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจ หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
วางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในหนึ่งกระทรวง
มี รมว. คนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา
รับผิดชอบการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง
ถ้ามี รมช. ให้ปฏิบัติงานตามที่ รมว. มอบหมาย
ในกรณีที่ รมว. บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่ได้สังกัดกระทรวง รมว. อาจให้ รมช. ปฏิบัติราชการแทน
มีปลัดกระทรวง 1 คน มีอำนาจดังนี้
รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการ
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานรัฐมนตรี
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง
มีเลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อ รมว.
จะมีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่ง และปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีก็ได้
สำนักงานปลัดกระทรวง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงและราชการที่ ครม. ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น
กำกับ และเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง
การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงให้อนุโลมทำแบบกระทรวง
การจัดระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
(ทุกหน่วยงานเป็นนิติบุคคล)
สำนักนายกรัฐมนตรี (มีฐานะเป็นกระทรวง)
กระทรวง หรือทบวงที่ฐานะเท่ากระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กรม หรือที่เรียกอย่างอื่นแต่มีฐานะเท่า
การจัดตั้ง รวม โอนส่วนราชการ
ตราเป็น พ.ร.บ.
การจัดตั้งทบวงให้ระบุสังกัดไว้ใน พ.ร.บ.
การจัดตั้งกรม หรือที่เรียกอย่างอื่นแต่มีฐานะเท่า ซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวงให้ระบุการไม่สังกัดไว้ใน พ.ร.บ.
การรวม โอนส่วนราชการ
ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่ง อัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างให้ตราเป็น พ.ร.ฎ
ใน พ.ร.ฎ ต้องระบุ
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
การโอนข้าราชการและลูกจ้าง
งบประมาณรายจ่าย
ทรัพย์สิน หนี้สิน
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณดูแลไม่ให้มีการกำหนดตำแหน่ง อัตราข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนร่ชการที่ตั้งใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี นับแต่ พ.ร.ฎ นี้บังคับใช้
การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ
ตราเป็น พ.ร.ฎ
ชื่อตำแหน่งข้าราชการในส่วนราชการเปลี่ยนไปให้ระบุไว้ใน พ.ร.ฎ ด้วย
เอกสารทางราชการใดที่อ้างถึงส่วนราชการ หรือตำแหน่งของข้าราชการที่ถูกเปลี่ยนชื่อไป ให้ถือว่าอ้างถึงส่วนราชการ หรือตำแหน่งของข้าราชการที่เปลี่ยนชื่อไปนั้น
การยุบส่วนราชการ
ตราเป็น พ.ร.ฎ
งบประมาณรายจ่ายเหลือเป็นอันระงับไป
ทรัพย์สินอื่นให้โอนแก่ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่ รมต.ผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ นี้กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
วิธีจัดการสิทธิ หนี้สินให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ
ข้าราชการหรือลูกจ้าง ซึ่งต้องพ้นจากราชการ เพราะยุบตำแหน่งจากการยุบส่วนราชการ ให้ได้รับเงินชดเชยตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐจะรับโอนข้าราชการหรือลูกจ้างก็ให้ทำโดยไม่ถือว่าพ้นราชการ แต่ต้องทำภายใน 30 วัน นับแต่ พ.ร.ฎ นี้บังคับใช้
พ.ร.ฎ. ที่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จัดตั้งส่วนราชการ กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ระบุให้ชัดเจนในพ.ร.ฎ. ว่าบทบัญญัติใดถูกแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก
การแบ่งส่วนราชการในสำนักงาน รมต. กรม หรือที่เรียกชืออย่าอื่นแต่มีฐานะเป็นกรม
ออกเป็นกฎกระทรวง
ระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้นไว้ในกฎกระทรวงด้วย
รมต.เจ้ากระทรวงเป็นผู้ออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ
เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการ การกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการภายในกรม
ให้สำนักงาน ก.พ. จัดอัตรากำลัง สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกัน
การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย ทบวงในมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
การแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
การแบ่งส่วนราชการให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นกรม
ส่วนราชการที่อยุ่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรุปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กรมประชาสัมพันธ์
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
รัฐวิสาหกิจ
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
องค์การมหาชน
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการขึ้นภายในขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
เพื่อจัดทำนโยบาย แผน กำกับ เร่งรัด
ติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรีอาจทำหน้าที่อาจทำหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่เดี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
บริหารราชการทั่วไป เสนอนโยบายและวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคง
ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ราชการเกี่ยวกับงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัมนากำหมาย
สำนักนายกรัฐมนตรี
มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบนโยบาย
มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการได้
ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรี รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรี รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี การสั่งและปฏิบัติราชการของทั้งสองตำแหน่งให้เป็นไปตามนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ระหว่างที่ครม.ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานไปจนกว่าจะตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ เพราะนายกรัฐมนตรีตาย ขาดคุณสมบัติ ต้องคำพิพากษาให้จำคุกสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ศาล รธน. ตัดสินให้ความเป็นนายกฯสิ้นสุด วุฒิสภาถอดถอน
คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ครม. มอบหมายให้รมต. คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ให้คณะรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกให้หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินการใด ๆ เท่าที่จำเป็น
นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน
มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง
บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
สั่งให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน
ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย
แต่งตั้งข้าราชการไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้ง มีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทบวง
นายกรัฐมนตรีจะมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง
มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
มีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
มีผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์
มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
มีรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
มีผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
ให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
สำนักนายกรัฐมนตรี
มีส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
นอกจากมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีปลัดสำนักนายก รัฐมนตรีคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปี
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่ง
รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกี่ระทรวง
ทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
จัดตั้งขึ้นเพราะสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวง
จัดระเบียบราชการในทบวงดังนี้
สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดทบวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น บางกระทรวงอาจไม่มีก็ได้
การจัดระเบียบราชการในทบวงหนึ่ง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ส่วนการจัดระเบียบ ราชการในทบวงมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ภายในทบวง
มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และกำหนดนโยบาย
มี รมช.ทบวง
มีปลัดทบวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในทบวง กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของทบวง
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในทบวงรองจากรัฐมนตรี
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดทบวงและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดทบวง
สำนักงานรัฐมนตรี
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง
มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการทบวง
มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีก็ได้
สำนักงานปลัดทบวง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของทบวง และราชการที่ ครม. มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น
กำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในทบวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของทบวง
การจัดระเบียบราชการในกรม
กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อาจแบ่งส่วนราชการดังนี้
สำนักงานเลขานุการกรม
กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง บางกรมอาจไม่ตั้งก็ได้
กรมใดมีความจำเป็นอาจตั้งแบบอื่นก็ได้
สำนักงานตำรวจแห่งชาติอาจแบ่งส่วนราชการให้เหมาะสมกับราชการตำรวจ
กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
ภายในกรม
มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม
มีรองอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรองจากอธิบดีและช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการก็ได้ มีอำนาจหน้าที่ตามที่อธิบดีมอบหมาย
สำนักงานเลขานุการกรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม และราชการที่มิได้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น
มีเลขานุการกรมเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการกรม
กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษ จะตรา พ.ร.ฎ. แบ่งท้องที่ออกเป็นเขตเพื่อให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจำเขตแล้วแต่จะเรียกชื่อเพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการก็ได้
กระทรวง ทบวง หรือกรมใดโดยสภาพและปริมาณของงานสมควรมีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรมนั้น ก็ให้กระทำได้
ผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรม มีอำนาจหน้าที่ตรวจ และแนะนำการปฏิบัติราชการอันเกี่ยวกับกระทรวง ทบวง หรือกรมนั้น
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
จะมีเลขาธิการ ผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
จะให้มีรองเลขาธิการ รองผู้อำนวยการหรือตำแหน่งรองของตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการหรือตำแหน่งผู้ช่วยของตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือมีทั้งรองเลขาธิการ และผู้ช่วยเลขาธิการหรือทั้งรองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการ หรือทั้งตำแหน่งรองและตำแหน่งผู้ช่วยของตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และช่วยปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ให้นำความในมาตรา 31 32 33 34 35 บังคับใช้แก่ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นแต่มีฐานะเทีบบเท่ากรมโดยอนุโลม
การปฏิบัติราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติ
หรือการดำเนินการอื่น ที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรี
ในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้
เมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น
ในการมอบอำนาจให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึง
การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ
การกระจายความรับผิดชอบ
ผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจตามวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจ
ในการปปฏิบัติราชการของส่วนราชการภายในกรม ถ้าการปฏิบัติราชการใดของส่วนราชการนั้นมีลักษณะเป็นงานการให้บริการหรือเกี่ยงข้องกับการบริการ หากแยกบริหารออกเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษจะบรรลุเป้าหมายยิ่งขึ้น จะแยกก็ได้
การรักษาราชการแทน
ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน
มีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ รมช. กระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามี รมช. หลายคน ให้ ครม. มอบหมายให้ รมช. กระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง รมช. กระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ครม. มอบหมายให้ รมต. คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ใช้บังคับแก่รมว.ทบวงด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี
ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีหลายคน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน
ใช้บังคับแก่เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีรองปลัดกระทรวงหลายคน ให้นายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ปลัดกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
ใช้บังคับแก่กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดทบวงหรือรองปลัดทบวงตามมาตรา 24 หรือมาตรา 28 ด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีรองอธิบดีหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองอธิบดีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี หรือข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
แต่ถ้านายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเห็นสมควรเพื่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบการปฏิบัติราชการในกรมนั้น นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือเทียบเท่า เป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ อธิบดีจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี หรือข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
ใช้บังคับแก่กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดี ในส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการกรมหรือหัวหน้าส่วนราชการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมคนหนึ่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า เป็นผู้รักษาราชการแทน
ให้นำความในมาตรานี้มาใช้บังคับแก่ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรมด้วยโดยอนุโลม
ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
การเป็นผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนอำนาจนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่จะแต่งตั้งข้าราชการอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทนตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย
ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร
การบริหารราชการในต่างประเทศ
คณะผู้แทน
หมายความว่า บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายทหารประจำการในต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล สถานรองกงสุล ส่วนราชการของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นและปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ และคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ
หัวหน้าคณะผู้แทน
หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูต หรือระเบียบพิธีการกงสุล ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ ให้หมายความว่า ข้าราชการสังกัดส่วนราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ
รองหัวหน้าคณะผู้แทน
หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทน
ในกรณีของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ ให้หมายความว่า ข้าราชการสังกัดส่วนราชการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในลักษณะเดียวกัน
ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ครม. กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับการปฏิบัติราชการในต่างประเทศ และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทน
จะให้มีรองหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนก็ได้
การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แทน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ครม.กำหนด
หัวหน้าคณะผู้แทนอาจมอบอำนาจให้บุคคลในคณะผู้แทนปฏิบัติราชการแทนตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองหัวหน้าคณะผู้แทนรักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีรองหัวหน้าคณะผู้แทนที่จะรักษาราชการแทน หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดอันเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้การรักษาราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดอันเป็นบุคคลในคณะผู้แทน
ไม่ใช้บังคับกับข้าราชการฝ่ายทหารประจำการในต่างประเทศ
หัวหน้าคณะผู้แทนมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
บริหารราชการตามที่ครม. กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลในคณะผู้แทนซึ่งประจำอยู่ในประเทศที่ตนมีอำนาจหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของครม. หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
รายงานข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการของบุคคลที่กล่าวมาเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน
รมว. กระทรวง รมช. ทบวง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า อาจมอบอำนาจให้หัวหน้าคณะผู้แทนปฏิบัติราชการแทนได้
เมื่อมีการมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้อื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่เป็นการมอบอำนาจต่อไปให้บุคคลในคณะผู้แทนตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
การที่กระทรวง ทบวง กรม จะมอบอำนาจหรือมีคำสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะผู้แทน ให้แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศ
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคดังนี้
จังหวัด
อำเภอ
จังหวัด
ให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด
ให้จังหวัดมีอำนาจภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์
ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
จัดให้มีการคุ้มครอง ป้องกัน ส่งเสริม และช่วยเหลือประชาชนและชุมชนที่ด้อยโอกาส
จัดให้มีการบริการภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็ว และมีคุณภาพ
จัดให้มีการส่งเสริม อุดหนุน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวง ทบวง กรม
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ครม. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมอบหมาย หรือที่มีกฎหมายกำหนด
ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของครม. กำหนด
ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด และทำแบบเดียวกันในกรณีการรจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม
ภายในจังหวัดหนึ่ง
เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ
มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ครม. กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการ
ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น
นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ธ.จ.” ทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัด
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่ง แล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตามแผนพัฒนาจังหวัด
บริหารราชการตามที่ครม. กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวง
กำกับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู
ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หรือเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อสำนักงบประมาณและรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
กำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย
กำกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด
การยกเว้น จำกัด หรือตัดทอน อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการในจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชรจังหวัดจะกระทำได้โดยตราเป็นพ.ร.บ.
ให้นำความในมาตรา 48 และมาตรา 49 มาใช้บังคับแก่ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทน
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้
สำนักงานจังหวัด
ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น
อำเภอ.
ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอำเภอการตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอำเภอ ให้ตราเป็นพรฎ
อำเภอมีอำนาจหน้าที่ภายในเขตอำเภอ ดังต่อไปนี้
อำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา 52/1
ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วม
ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดำเนินการให้มีแผนชุมชน
ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท
ในอำเภอหนึ่ง ให้มีคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอ ในเรื่องที่พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน มรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทหรือมากกว่านั้น
ในอำเภอหนึ่ง ให้มีคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอ ในเรื่องที่พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน มรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทหรือมากกว่านั้น
บรรดาความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอใดหากเป็นความผิดอันยอมความได้ และมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ ถ้าผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอม หรือแสดงความจำนง
ให้นายอำเภอของอำเภอนั้นหรือปลัดอำเภอที่นายอำเภอดังกล่าวมอบหมายเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามควรแก่กรณี
เมื่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอมเป็นหนังสือตามที่ไกล่เกลี่ยและปฏิบัติตามคำไกล่เกลี่ยดังกล่าวแล้ว ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน
ภายในอำเภอหนึ่ง
มีนายอำเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ
นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอซึ่งกฎหมายกำหนดให้กรมการอำเภอและนายอำเภอมีอยู่ให้โอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ
นอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบ ให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้นายอำเภอแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมิได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนไว้
ให้ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่น
ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอ
แบ่งส่วนราชการของอำเภอดังนี้
สำนักงานอำเภอ
ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอ
ให้นำความในมาตรา 48 และมาตรา 49 มาใช้บังคับแก่ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทน
การจัดการปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ท้องถิ่นใดที่เห็นสมควรจัดให้ราษฎรมีส่วนในการปกครองท้องถิ่นให้จัดระเบียบการปกครองเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด
การจัดระเบียบการปกครององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
คำย่อ
สุข สัม สิทธิ ลดกิจ ลดตอน
ค่า นวย หนอง จายนาจ จายกิจ