Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทยในอนาคต, นางสาวอติกานต์ …
ทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทยในอนาคต
ทิศทางการจัดสวัสดิการสังคม
การคาดการณ์ถึงการปรับตัวของระบบการจัดสวัสดิการสังคมไทยในอนาคตที่น่าจะเกิดขึ้น หรือเป็นไปได้ในระยะ 5 – 10 ปี ข้างหน้าในที่นี้ จะคาดการณ์เป็น 2 ระยะได้แก่ ระยะสั้น ( 5 ปี ) และระยะยาว ( 10 ปี ขึ้นไป )กระบวนการจัดสวัสดิการ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, www.msociety.go.th/document/edoc/edoc_2290.pdf ) มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอนคือ
วางแผนการจัดสวัสดิการ โดยค านึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ครอบครัวและชุมชนร่วมกัน
การดำเนินการจัดสวัสดิการ ภายใต้ผลการประเมินสภาวะความต้องการและความจำเป็น
การวางแผนดำเนินการในระดับชุมชน ต้องก าหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ สถานที่ระยะเวลาและงบประมาณการติดตามประเมินผล
การวางแผนให้ความช่วยเหลือ ทั้งแผนระยะสั้น แผนระยะยาวการด าเนินการช่วยเหลือการจัดสวัสดิการ
ทิศทางสวัสดิการสังคมไทยระยะสั้น
การปฏิรูปองค์การ หน่วยงานให้สามารถตรวจสอบความรับผิดชอบ ความโปร่งใสและมีการประกันคุณภาพ (Accountability Transparency and Quality Assurance) หน่วยงานสวัสดิการสังคมจำนวนมากทำหน้าที่ดูแลกลุ่มเป้าหมาย
การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการงานสวัสดิการสังคมอย่างเป็นธรรมทั่วถึง (Capacity Building for Local Social Welfare Administrators)
การมีบันทึกข้อตกลงในการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมร่วมกันกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน (Memorandum of Understanding or Agreement Between GOs and LocalAdministration and Community Organizations) การจัดทำบันทึก ข้อตกลงในการพัฒนาระบบสวัสดิการ
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและกลไกการประสานงานด้านการให้บริการและการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม(Strengthening Networks for Social Welfare Services andDevelopment) ที่ผ่านมาเครือข่ายของการบริการสวัสดิการสังคมที่มีอยู่แล้วใน สังคมไทย
การขยายและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบอาสาสมัครในงานสวัสดิการสังคม
องค์กรเอกชนภาคธุรกิจพาณิชยกรรม บริษัทต่าง ๆ ควรมีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนเพื่อกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ อย่างยั่งยืนและได้รับการลดหย่อนภาษีในการคุ้มครองสังคมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
องค์กรของผู้ใช้บริการ สหภาพแรงงาน สมาคม ชมรมกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องร่วมกับกระทรวงแรงงานสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการรวมตัวในรูปของสหภาพแรงงาน
ทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมของไทยระยะยาว
การทำหน้าที่สะท้อนผลกระทบเชิงนโยบายของการพัฒนาประเทศให้ผู้บริหารระดับนโยบายทราบ เพื่อสร้างนโยบายใหม่อย่างมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษย์ชนของกระแสโลกบุคลากรทุกระดับของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องมีความแม่นยำในการสะท้อนแนวคิดและจุดยืน ให้ผู้บริหารระดับนโยบาย ได้ทราบถึงผลกระทบของนโยบายที่ส่งผลทางลบต่อสังคมหรือเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องเหมาะสมในสถานการณ์ปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนแปลงภารกิจของหน่วยงานภาครัฐไปเป็นหน่วยประสานงาน ส่งเสริมทางวิชาการการก าหนดนโยบายจากฐานงานวิจัย และการติดตามประเมินผลภายใต้มาตรฐานคุณภาพที่กำหนดขึ้นในระยะยาว หน่วยงานของรัฐมีแนวโน้มจะต้องเปลี่ยนแปลงขอบเขตภาระงานจากการให้บริการโดยตรงไปสู่ภารกิจการเป็นผู้สนับสนุนการเป็นพี่เลี้ยงในการกระจายอ านาจและการถ่ายโอนบริการเหล่านี้ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางสวัสดิการสังคม
การวิจัยเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการให้บริการทั้งในรูปแบบสถาบันนอกสถาบันระบบสวัสดิการชุมชน
การวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพในการปฏิบัติงาน
การวิจัยเพื่อการจัดการความรู้เชิงสวัสดิการสังคมที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มพื้นที่
การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการจัดการของรัฐโดยลำพัง เป็นต้น
การสร้างและพัฒนายุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมในอนาคต
การสร้างและพัฒนายุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมในอนาคต
การเสริมความรู้ด้านสวัสดิการสังคมแก่สังคมและการทบทวนความหมายของสวัสดิการสังคมใหม่สวัสดิการสังคม หมายถึง สภาวะการด ารงชีวิตที่ทำให้คนมีภาวะความ เป็นอยู่ดีมีสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สามารถเข้าถึงการจัดกาบริการและทรัพยากรของรัฐอย่างเหมาะสม
การจัดรูปแบบงานสวัสดิการสังคมที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้บริการปัจจุบัน
ปรัชญาพื้นฐานการด าเนินงานด้านสวัสดิการสังคมไทยต้องให้ความสำคัญ กับสิทธิความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการจัดการมากขึ้นทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมไทยที่เติบโตภายใต้กรอบกติกาสากลของระบบทุนนิยม
การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมไทยควรเริ่มต้นจากพื้นฐานของความเข้าใจสังคมไทยเห็นคุณค่าของทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย
ทิศทางงานสวัสดิการสังคมไทยจะมีลักษณะที่เป็นแบบพหุลักษณ์มากขึ้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผนวกกับแนวคิดที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์
สถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านสวัสดิการสังคมต้องทบทวน
ปรับฐานความรู้ใหม่ที่เกิดจากการสรุปบทเรียนจากปรากฏการณ์ในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ในกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่เกิดจากรากของสังคมไทย
การพัฒนาศักยภาพองค์กรด้านสวัสดิการสังคมเป็นภารกิจที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักการสร้างระบบกลไกและมาตรฐานตัวชี้วัดเพื่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพเป็นภารกิจจำเป็นแต่ไม่ควรทำให้เป็นมาตรฐานเดียวจนขาดความยืดหยุ่น เพราะการท างานกับ มนุษย์มีความหลากหลายสูงที่ต้องค านึงถึงความร่วมมือของหน่วยงานที่รับผิดชอบตรงกับสถาบันการศึกษาควรจะพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในการคิดสร้างพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน
งานสวัสดิการสังคมที่เน้นการให้บริการโดยสถาบันรัฐจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นเจ้าของงานไปสู่การขยายพันธมิตร ภาคีหุ้นส่วน สร้างการมีส่วนร่วมด้วย การอำนวยความสะดวกและเปิดโอกาส ให้หน่วยงานภายนอกที่มีศักยภาพเข้ามาดำเนินภารกิจร่วมกัน
ควรผลักดันให้องค์กรชุมชนเข้ามารับบทบาทจัดสวัสดิการชุมชนให้แก่
ประชาชนในท้องถิ่นของตนเป็นทิศทางส าคัญในอนาคตองค์กรชุมชนจำนวนมากในหลายพื้นที่มีศักยภาพมีการขยายตัวรวมกลุ่มกิจกรรมในหลายรูปแบบการกระตุ้นผลักดันให้องค์กรชุมชนเข้ามารับบทบาทจัดสวัสดิการชุมชน
ทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมในอนาคตควรจะเป็นเรื่องของการจัดปรับในเชิงโครงสร้างมากกว่า การจัดการแก้ปัญหารายคนนโยบายการจดทะเบียนคนจนเป็นการปูพื้นฐานของรัฐที่ส่งสัญญาณให้รู้ว่ารัฐก าลังมุ่งให้ความสนใจกับการเข้าถึงปัญหาในเชิงระบบและเป็นระบบใหญ่ที่เน้นการปรับโครงสร้างและมูลเหตุปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความยากจน
ทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมในอนาคตจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับ กลุ่มปัญหาสังคมใหม่ที่คาดว่าจะมีมากขึ้น เช่น กลุ่มผู้รักเพศเดียวกัน กลุ่ม ครอบครัวที่มีบิดาหรือมารดาคนเดียว กลุ่มคนโสด กลุ่มชนชั้นกลาง สังคมไซเบอร์- ลิงค์ กลุ่ม ผู้สูงอายุเป็นต้น
นางสาวอติกานต์ ชิวอ 611702005 AB บทที่ 6