Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection…
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection during pregnancy)
-
-
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ โดยมีปัจจัยส่งเสริม คือ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์ ทําให้ท่อไตตึงตัว การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตลดลง ประสิทธิภาพในการดูดซึมกลับลดลง ทําให้ปัสสาวะค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทํางานของระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก
-
-
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
- ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และ ทารก และแผนการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์คลายความวิตกกังวล
- เน้นความสําคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อประเมินภาวะ สุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
- แนะนําการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
3.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยแนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
3.2 ดื่มน้ําวันละ 8-10 แก้ว หรือ 2,000-3,000 มิลลิลิตร และไม่กลั้นปัสสาวะ
3.3 ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
3.4 ในรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ถึงความจําเป็นของ การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
3.5 แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบาพบแพทย์ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะออก น้อย มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องน้อย ปวดบั้นเอว เจ็บครรภ์ ถุงน้ําคร่ำแตก เป็นต้น
- กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค
- กรณีที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้การพยาบาลดังนี้
5.1 อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าในถึงความจําเป็นในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
5.2 ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ แนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับท่อไต
5.3 ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
5.4 ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารกเพื่อประเมินสภาวะของทารกในครรภ์
5.5 สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกจากร่างกาย และติดตามผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินการทํางานของไต
5.6 ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น
5.7 ดูแลประคับประคองจิตใจ ในรายที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ กรวยไตหรือไตอักเสบ เฉียบพลัน จนกระทั่งไตวาย
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป และเน้นเรื่องการทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่ายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ระยะหลังคลอด
-
- ให้คําแนะนําเช่นเดียวกับคําแนะนําเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการคุมกําเนิดในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกําเนิดแบบถาวร