Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection…
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection during pregnancy)
1 การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคที่สําคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ
1 ภายในกรวยไตจนถึงท่อไต โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากโดยเฉพาะด้านขวา
2 ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ร่วมกับการถูกกดทับของมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทําให้มีการคั่งของน้ําปัสสาวะในไต ท่อไต ค้างอยู่นาน
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต
1 ไตมีระบบการหมุนเวียนของเลือดเพิ่มจึ้นประมาณร้อยละ 70-85 ทําให้ไตต้องปรับตัว
2 เพิ่มหน้าที่การกรองของไตขึ้นประมาณร้อยล45 ทําให้ระดับ creatinine และBUN ในเลือดลดต่ําลง
2 ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบขับถ่ายปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)
1 การตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml
2 ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ พบการเกิด ASB
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
1 การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
-มีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
-ปัสสาวะแสบขัด
-ปัสสาวะบ่อย
-urgency
-ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือสีแดง
-มีไข้สูง
-อ่อนเพลีย
-ปวดบริเวณท้องน้อย
-พบอุบัติการณ์การเกิด acute cystitis
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
พบแบคทีเรียในปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
พบโปรตีนในปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ำ ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวม
ภาวะไตวาย (renal failure)
ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure)
สาเหตุมาจากโรค เช่น DM, SLE, glomerulonephritis
ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)
สาเหตุจากseptic abortion, preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia syndrome
3 สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli)
มดลูกมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้รูเปิดของหลอดไตที่กระเพาะปัสสาวะเกิดการบิดงอ ขับปัสสาวะออกไม่สะดวก ปัสสาวะค้าง
4 พยาธิสรีรวิทยา
การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ จากผลของฮอร์โมน Progesterone และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้
5 อาการและอาการแสดง
Lower UTI
ท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
Upper UTI
กรวยไตอักเสบโดยจะพบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ำล้างเนื้อ เจ็บบริเวณชายโครง ปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต มีไข้หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน
6 ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มดลูกหดรัดตัว ทำให้เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์
คลอดก่อนกำหนด และ/หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
นรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลต่อทารก
-ทารกคลอดก่อนกำหนด
-ทารกน้ำหนักตัวน้อย
-ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
-ทารกตายคลอด
7 การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ อากร เช่น ปัสสาวะลำบาก
ปัสสาวะไม่สุด หรือปัสสาวะเป็นเลือด
การตรวจร่างกาย จะตรวจพบปัสสาวะขุ่น หรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ มีไข้ ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว หากกดบริเวณ costovertebral angle จะปวดมาก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจ urine analysis จะพบไข่ขาว เม็ดเลือดขาว ตรวจ urineculture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 105 dfu/ml ในรายที่มีการติดเชื้อที่กรวยไต ควรตรวจ urine culture
8 แนวทางการป้องกันและรักษา
การป้องกัน
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ทำการคัดกรองการติดเชื้อตั้งแต่ต้น
การรักษา
รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ
รายที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อ
รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
9 การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และแผนการรักษาพยาบาล
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
แนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
3.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยแนะนำให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
3.2 ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้วและไม่กลั้นปัสสาวะ
3.3 ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
3.4 ในรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ให้ความรู้
3.5 แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบาพบแพทย์
กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค
กรณีที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
5.1 อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าในถึงความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
5.2 ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
5.3 ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
5.4 ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารก
5.5 สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
5.6 ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
5.7 ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย
5.8 ดูแลประคับประคองจิตใจ
ระยะคลอด
เน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ให้คำแนะนำเช่นเดียวกับคำแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ