Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสำหรับผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
บทที่ 9 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งได้กำหนดสิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการที่ผู้สูงอายุต้องได้รับ พ.ศ. 2542 กำหนดให้รัฐมอบอำนาจให้ท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุเนื่องจากมีความใกล้ชิดและรู้ปัญหา ความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน การมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ
การจัดบริการและ
สวัสดิการผู้สูงอายุที่มีในปัจจุบัน
แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
1.การจัดบริการและสวัสดิ
การผู้สูงอายุโดยภาครัฐ
มีรูปแบบการจัดและหน่วยงานที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
ก. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ เป็นการจัดสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้แก่ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้ให้อุปการะ ไม่มีที่อยู่อาศัย แต่ยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยให้บริการด้านปัจจัย 4 และบริการด้านสังคมสงเคราะห์
2.ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ (Day Center) คำจำกัดความ คือ สถานที่ซึ่งผู้สูงอายุมาอยู่ร่วมกัน หรือเป็นอุปกรณ์ในชุมชนอย่างหนึ่ง ให้บริการหลายประเภทและเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุจัดขึ้นเพื่อผู้สูงอายุ
-บริการภายในศูนย์ ได้แก่ สุขภาพอนามัย กายภาพบำบัด สังคมสงเคราะห์เสริมรายได้กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมเสริมความรู้ และศาสนกิจ เป็นต้น
-บริการบ้านพักฉุกเฉิน เป็นบริการที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อนเฉพาะหน้าต้องการแยกมาอยู่ชั่วคราวและบริการแก่ผู้สูงอายุที่มีภารกิจในเมืองแต่ไม่มีที่พักอาศัย
4.เงินสงเคราะห์ในการจัดการศพ
5.กองทุนผู้สูงอายุ เป็นการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน สนับสนุนแผนงานและโครงการในการส่งเสริมพัฒนาผู้สูงอายุ
6.การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับอันตรายจากการทารุณกรรม
3.การจัดการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ
7.การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญกาครอบครัว
8.การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
9.การช่วยเหลืออาหารและเครื่องนุ่งห่ม
ข.กระทรวงมหาดไทย
การจัดสวัสดิการเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ เป็นการบริการที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุที่ยากจน โดยให้เบี้ยยังชีพ คนละ 500/เดือน จนกระทั่งเสียชีวิต
ปัจจุบันได้เปลี่ยนแบบการจ่ายเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันได ดังนี้ อายุ 60-69ปี รับเบี้ยยังชีพ 600 บาท อายุ 70-79ปี รับเบี้ยยังชีพ 700 บาท อายุ 80-89ปี รับเบี้ยยังชีพ 800บาท อายุ 90-99ปี รับเบี้ยยังชีพ 1,000บาท
หน่วยงานติดต่อ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย/ อบต./อบจ. กลุ่มงานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ สำนักพัฒนาสังคม กทม2
ค.กระทรวงสาธารณสุข
รับผิดชอบการจัดระบบบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งจัดตั้งบริการต่างๆ ดังนี้
-คลินิกผู้สูงอายุ (Geriatic clinic)
-การจัดบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้สูงอายุ
-ระบบบริการดูแลระยะยาว (Long term care)
-ศูนย์ดูแลกลางวัน (Day care)
หน่วยงานติดต่อ
โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ
ง.กระทรวงศึกษาธิการ
บริการการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีการจัดบริการศึกษาอย่างต่อเนื่องในระบบ การศึกษา นอกระบบการศึกษา จัดโครงการฝึกอบรม จัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน มีหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สูงอายุในการศึกษาขั้นพื้นฐานถุึงอุดมศึกษา
หน่วยงานติดต่อ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
จ.กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
1.ฝึกอบรมทักษะอาชีพแก่ผู้สูงอายุ เช่น การทำขนม การจัดดอกไม้ การตัดเย็บ
2.จัดหางานและรับสมัครงาน
3.บริการให้ข้อมูลทางอาชีพและตำแหน่งว่างงาน
หน่วงงานติดต่อ
สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ 1-10/ สำนักงานจัดหางานจังหวัด
ฉ.กระทรวงการคลัง
1.การลดหย่อนภาษีแก่ผู้บริจาคทรัพย์สินให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ
2.การลดหย่อนภาษีเงินได้ แก่ผู้อุปการะบิดา มารดา หักลดหย่อยได้ 30,000บาท/ผู้สูงอายุ 1 คน/ปี
หน่วยงานติดต่อ
สำนักงานสรรพากร กรมสรรพากร
ช.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1.การบริการด้านการท่องเที่ยว โดยการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ
2.การบริการด้านกีฬาและนันทนาการ โดยมีการตรวจสุขภาพและสมรรถภาพร่างกาย
หน่วยงานติดต่อ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ การะทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย
ซ.กระทรวงวัฒนธรรม
1.การบริหารด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
2.คัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ทรงคุณค่าทางภูมิปัญญาไทยเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
หน่วยงานติดต่อ
กระทรวงวัฒนธรรม
ฌ.กระทรวงยุติธรรม
การช่วยเหลือในทางคดี โดยการให้คำแนะนำ ปรึกษา ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและประสานงานกับสภาทนายความในการจัดหาทนายว่าความแก้ต่างคดี เผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ
ญ.กระทรวงพานิชย์
การจัดหาตลาดรองรับสินค้า โดยการนำสินค้าเข้าร่วมจำหน่ายในหน่วยงานต่างๆ หรือ การอบรมความรู้ทางด้านการบริการจัดการและการตลาด
หน่วยงานติดต่อ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สถาบันฝึกอบรมธุรกิจการค้า กระทรวงพานิชย์/ สำนักงานพานิชย์จังหวัด
ฑ.กระทรวงคมนาคม
1.ลดหย่อนค่าโดยสาร และการอำนวยความสะดวงในการเดินทาง
ฐ.หน่วยงานอื่นๆ
หน่วยงานของรัฐยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ ทั่วประเทศ 257 แห่ง
2.การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุโดยชุมชน
มีรูปแบบการจัด ดังนี้ การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า โครงการสถานพักฟื้น คนชราดอนลาน เป็นต้น
ระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุไทย
เป้าหมายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ คือมุ่งสู่ "Active Ageing" ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุคงระยะสุขภาพดีให้นานที่สุด เจ็บป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง มีภาวะทุพพลภาพให้น้อยที่สุดที่สุด และตายอย่างสมศักดิ์ศรี กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่รับผิดชอบระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุไทย ในภาพรวมและได้จัดระบบสุขภาพ
2.การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ
ทุกตำบล ทั่วประเทศ เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี
3.การตัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุ (Geriatric clinic)
โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และทบวงมหาวิทยาลัย โดยคลินิกผู้สูงอายุมีกิจกรรมในการดูแล
1.การให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุฟรี (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า)
สามารถใช้สิทธิได้ทุกหน่วยงานบริการสุขภาพของรัฐ
4.การจัดช่องทางด่วนสำหรับผู้สูงอายุในทุกสถานบริการ
ตั้งแต่ระดับสถานีอนามัยจนถึงระดับโรงพยาบาลศูนย์ ในทุกช่องทางบริการ ตั้งแต่ช่องทางการยื่นบัตรตรวจ การเข้ารับการตรวจรักษา การรับยา เป็นต้น
5.การจัดระบบบริการดูแลสุขภาพระยะยาง (Long term care)
ในทุกสถานบริการพยาบาล โดยมีกิจกรรมเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว การค้นหาปัญหาผู้สูงอายุ ประเมินสิ่งแวดล้อมโดยจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน
6.การจัดตั้งศูนย์ดูแลกลางวัน (Day care)
ผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุจะเข้ารับการบริการช่วงเช้าและกลับช่วงเย็น ไม่ค้างคืน
7.การจัดโรงพยาบาลที่ให้การดูแลในระยะสุดท้าย
เช่น รพ.ศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ ที่ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น