Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Sport injury), จุฑาภรณ์ นครไพร 611410066-1 -…
บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
(Sport injury)
การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อ
1.ตะคริว (Cramp)
เกิดจากการเกร็งตัวชั่วคราวของกล้ามเนื้อ
การปฐมพยาบาลโดยการหยุดการออกกำลังกายทันที
ค่อยๆเหยียดกล้ามเนื้ออย่างช้าๆ ใช้ความร้อนประคบ
2.กล้ามเนื้อบวม (Compartment syndrome)
เกิดจากการซ้อมหนักเกินไป ทำให้มีการคั่งของน้ำนอกเซลล์กล้ามเนื้อ
เกิดอาการปวดตึงที่กล้ามเนื้อ
การปฐมพยาบาลใช้หลัก“RICE
ในระยะแรก 24-48 ชั่วโมง
R= Rest ให้พักโดยเฉพาะส่วนที่บาดเจ็บ
I= Ice ใช้น้ำแข็งประคบส่วนที่บาดเจ็บครั้งละ 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
C= Compression พันกระชับส่วนนั้นด้วยผ้ายืด
E= ยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับสู่สภาพปกติ
ในระยะที่สอง หลัง 24-48 ชั่วโมง ให้ใช้
หลัก “HEAT”
H= Hot ใช้ความร้อนประคบ
E= Exercise ลองขยับเบาๆ เป็นการบริหารส่วนที่บาดเจ็บ
A= Advanced exercise เพิ่มการบริหารมากขึ้น
T= Training for Rehabilitation เป็นการฝึกเพื่อช่วยการฟื้นฟูสภาพจากการบาดเจ็บให้กลับสู่สภาพปกติ
กระดูกหัก (Fracture)
กระดูกหักชนิดธรรมดา (Simplefracture หรือ Closed fractureกระดูกหัก
กระดูกหักชนิดซับซ้อนหรือมีบาดแผล(Compound fracture หรือ Openedfracture)
สาเหตุ
จากแรงกระแทกโดยตรงต่อตัวกระดูก
จากแรงกระแทกทางอ้อม
เกิดจากกล้ามเนื้อหดตัวหรือกระตุกอย่างแรง
เกิดจากพยาธิสภาพของตัวกระดูก
อาการและอาการแสดง
บริเวณกระดูกหักจะปวดเจ็บมาก
อวัยวะที่หักมีรูปร่างผิดรูป
ถ้าลองขยับดูอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ
อวัยวะส่วนที่หักเคลื่อนไหวไม่ได้
บวม เขียว คล้ำ
อาจเห็นกระดูกโผล่ออกมา
การช่วยเหลือและรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ต้องรีบช่วยการหายใจก่อน
ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ช็อก รีบแก้ไขภาวะช็อคก่อน
ถ้ามีเลือดออกมาก ต้องห้ามเลือดก่อน
ให้กระดูกส่วนที่หักเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ดามหรือเข้าเฝือกชั่วคราว
ถ้ามีกระดูกหักโผล่ออกมาห้ามดันกลับ ให้ใช้ผ้าสะอาดปิดแผลไว้
ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี และปวดมาก ให้ยาแก้ปวด
จุฑาภรณ์ นครไพร 611410066-1