Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพ - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552
ข้อ ๑ ธรรมนูญนี้เรียกว่า “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒ ธรรมนูญนี้ให้มีผลตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในธรรมนูญนี้
“สุขภาพ” หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม
เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
“สุขภาพทางเพศ” หมายความว่า สุขภาพที่หมายรวมไปถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อความสัมพันธ์ทางเพศ เพศภาวะ และมีความเคารพต่อวิถีชีวิตทางเพศที่แตกต่างของบุคคล เพื่อเป็นพื้นฐานต่อการมีประสบการณ์ทางเพศที่ปลอดภัยและมีความพึงพอใจ ปราศจากการถูกบังคับ การเลือกปฏิบัติและความรุนแรง
“เพศภาวะ” หมายความว่า ภาวะความเป็นหญิง เป็นชาย ที่ไม่ได้กำหนดโดยระบบชีววิทยา แต่
กำหนดโดยปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคมและอื่นๆ ทำให้สังคมเกิดความคาดหวังต่อความเป็นหญิงและชายในแง่มุมเฉพาะต่างๆและมีส่วนกำหนดความเชื่อ ทัศนคติ รวมทั้งประเพณีปฏิบัติต่างๆ ที่กลายเป็น
บรรทัดฐานของสังคมในเรื่องของความเป็นหญิงเป็นชาย เพศภาวะเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม และเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
“อนามัยการเจริญพันธุ์” หมายความว่า สุขภาพที่เกี่ยวกับกระบวนการและการทำหน้าที่ของ
ระบบการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต
“การป้องกันโรค” หมายความว่า การกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บ
ป่วยหรือเป็นโรคและการป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับ คือ การป้องกันก่อนการเกิดโรคหรือก่อนการเจ็บป่วย การป้องกันโรคในระยะที่
เกิดโรคหรือเจ็บป่วยขึ้นแล้ว และการป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพเมื่อหายจากการเจ็บป่วยแล้ว
“การควบคุมโรค” หมายความว่า การควบคุมโรคระบาด โรคไม่ติดต่อ โรคติดต่อ โรคติดต่อ
อันตรายต่างๆ รวมทั้งโรคที่เกิดจากการปนเปื้อนของสารต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมและอาหาร และโรคอื่นๆที่สามารถลดความสูญเสียสุขภาพ ชีวิตและทรัพยากรได้หากมีการตรวจพบแต่เนิ่นๆ
“การป้องกันและการควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ” หมายความว่า การจัดการกับปัจจัยต่างๆ
ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ เชื้อโรค สารเคมี ภัยธรรมชาติรวมทั้งระบบต่างๆ ในสังคมเพื่อควบคุมปัจจัยดังกล่าว ให้มีผลเสียต่อสุขภาพน้อยที่สุด รวมทั้งการสร้าง
ปัจจัยที่เอื้อต่อการมีสุขภาพด้วย
“การบริการสาธารณสุข” หมายความว่า การบริการต่างๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
“คุณภาพบริการสาธารณสุข” หมายความว่า คุณลักษณะของบริการสาธารณสุขที่อยู่บนพื้นฐาน
ขององค์ความรู้ทั้งด้านมนุษย์ สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและด้านอื่นๆ และพื้นฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนและสังคมได้อย่าง
เหมาะสม
“การบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์” หมายความว่า การบริการสาธารณสุขที่มี
ความเอื้ออาทร ความสมานฉันท์ระหว่างบุคลากรสาธารณสุขและประชาชน โดยมุ่งประโยชน์สุขของประชาชน ครอบครัว ชุมชนและสังคม ตามจรรยาบรรณวิชาชีพโดยสุจริต ปราศจากการครอบงำของ
ผลประโยชน์ทางธุรกิจ
“การบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ” หมายความว่า การบริการสาธารณสุขที่เน้นบริการบุคคล
ครอบครัว และชุมชน มีความเข้มข้นในเชิงวิทยาการและเทคโนโลยีในระดับหนึ่ง มุ่งเน้นในมิติของมนุษย์และสังคม เป็นบริการแบบผสมผสาน ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่
คุกคามสุขภาพ รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการเป็นองค์รวม เชื่อมโยงใกล้ชิดระหว่างผู้ให้บริการ สถานบริการ ชุมชนและครอบครัว มีความเชื่อมโยงกับระบบบริการสาธารณสุขระดับอื่นๆ
และกับชุมชนเพื่อส่งต่อความรับผิดชอบการให้บริการระหว่างกันและกันเป็นอย่างดี
“การแพทย์แผนไทย” หมายความว่า การดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้หรือตำราการแพทย์
แบบไทยที่ได้สั่งสม ถ่ายทอด และพัฒนาสืบต่อกันมา หรือตามการศึกษาจากสถานศึกษาที่รับรองโดยกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ทั้งนี้ ให้ครอบคลุมการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์การแพทย์
บางอย่างประกอบการวินิจฉัยและการบำบัดโรคตามที่กฎหมายกำหนด
“การแพทย์พื้นบ้าน” หมายความว่า การดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ที่ได้สั่งสม ถ่ายทอด และ
พัฒนาสืบต่อกันมาซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น และเป็นที่ยอมรับของชุมชนท้องถิ่นนั้น
“การแพทย์ทางเลือกอื่นๆ” หมายความว่า การดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้ทางการแพทย์
ที่นอกเหนือจากการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน
“หมอพื้นบ้าน” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพโดยอาศัย
ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน
“การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ” หมายความว่า การนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพที่
หน่วยงานของรัฐและภาคส่วนต่างๆ จัดทำขึ้น เพื่อเผยแพร่และสื่อสารกับประชาชนด้วยรูปแบบและช่องทางต่างๆ
“บุคลากรด้านสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมาย ระเบียบหรือ
ข้อกำหนดรองรับ
“กำลังคนด้านสุขภาพ” หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มคนที่มีบทบาทในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
การรักษาพยาบาล การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งรวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุขผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข บุคลากรสายสนับสนุน บุคลากรทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์
พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก อาสาสมัครด้านสุขภาพต่างๆ แกนนำและเครือข่ายสุขภาพ ตลอดจนบุคคลต่างๆที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
หมวด ๑
ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
ข้อ ๔ สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ข้อ ๕ ระบบสุขภาพ เป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีระบบการ
บริการสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ
ข้อ ๖ ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคงของ
ประเทศ
ข้อ ๗ ระบบสุขภาพจะต้องส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และต้องให้ความสำคัญ
กับความเป็นธรรม และความเท่าเทียมกันในสังคม
ข้อ ๘ ระบบสุขภาพจะต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมภาวะของมนุษย์
ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันอย่างสมดุล
ข้อ ๙ ระบบสุขภาพจะต้องให้ความสำคัญสูงกับการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะ
ที่ยั่งยืนและการพึ่งตนเองได้ของประชาชน
ข้อ ๑๐ ทุกภาคส่วนมีหน้าที่ร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจากแนวทางบริโภคนิยม
ไปสู่แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพทางจิต ปัญญาและสังคม
หมวด ๕
การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
หมวด ๒
คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
หมวด ๓
การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
หมวด ๔
การสร้างเสริมสุขภาพ
หมวด ๖
การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
หมวด ๗
การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
หมวด ๘
การคุ้มครองผู้บริโภค
หมวด ๙
การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
หมวด ๑๐
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
หมวด ๑๑
การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
หมวด ๑๒
การเงินการคลังด้านสุขภาพ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2559
ส่วนที่ ๔ สาระรายหมวด
๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
๑. บุคคลพึงได้รับสิทธิด้านสุขภาพที่จาเป็นตาม
หลักสิทธิมนุษยชน โดยเป้าหมายของสิทธิด้านสุขภาพคือ บุคคลทุกคนมีสุขภาวะ ซึ่งไม่จากัดเพพาะการเข้าถึง
บริการสาธารณสุขเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อสุขภาพด้วย โดยรัฐมีหน้าที่จัดสวัสดิการ
สร้างสภาวะหรือเงื่อนไขที่เอื้ออานวยให้เกิดผลสาเร็จตามเป้าหมายให้ครอบคลุมและทั่วถึง คานึงถึง
กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและความสอดคล้องกับบริบทด้านต่างๆ ของสังคม
๒. รัฐต้องเคารพสิทธิด้านสุขภาพของบุคคล และ
มีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลได้รับสิทธิด้านสุขภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติ และ
ปฏิบัติตามพันธกรณีของกฎหมายระหว่างประเทศด้านสุขภาพและด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี
๒ การสร้างเสริมสุขภาพ
๑. การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพซึ่งเป็น
องค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อให้เกิดสุขภาวะทั่วทั้งสังคมอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องส่งเสริม
และสนับสนุนบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประชาชนกลุ่มต่างๆ ให้สามารถจัดการหรือพัฒนาสุขภาพของตน
ครอบครัว ชุมชนและกลุ่มได้ รวมทั้งจัดการกับปัจจัยสังคมที่กาหนดสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับบริบท
และพื้นที่
๒. การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพต้องเกิด
จากการทางานร่วมกันและเสริมพลังกันของทุกภาคส่วนตามแนวทาง “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ”
โดยนาประเด็นและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมาประกอบในการกาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย
ทุกด้าน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๓ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
๑. บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการดารงชีวิตอยู่ภายใต้
สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และได้รับการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม
สุขภาพอย่างมีมาตรฐานและทันต่อสถานการณ์ โดยถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมของทุกภาคส่วน
ในทุกระดับ
๒. การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคาม
สุขภาพ ต้องให้ความสาคัญกับปัจจัยสังคมที่กาหนดสุขภาพ โดยใช้มาตรการเชิงรุกที่มีธรรมาภิบาล รวมทั้ง
ต้องสร้างดุลยภาพระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจการพัฒนาสังคมและคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม โดยต้องคานึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ชุมชนและสังคมเป็นสาคัญ
๓. การบริหารจัดการระบบการป้องกันและควบคุมโรค
และปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจะต้องรวมถึงการมีระบบเฝ้าระวังที่ใช้พื้นที่เป็นศูนย์กลางเปิดโอกาส
ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ โดยหน่วยงานรัฐมีนโยบายและ/หรือมาตรการในการสนับสนุน
ด้านต่างๆอย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
๔. มีการนากระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
ที่ใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์หรือองค์ความรู้อย่างรอบคอบและรอบด้านมาใช้ในการกาหนดนโยบาย
สาธารณะ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ โดยมีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
๔.การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกันคุณภาพ
๑. การบริการสาธารณสุขต้องมุ่งสู่การมีสุขภาพดี
อย่างถ้วนหน้า ตอบสนองต่อความจาเป็นด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่ม และสามารถดูแลสุขภาพประชาชน
ได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนตาย รวมทั้งเชื่อมโยงการจัดการด้านสุขภาพในมิติต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างเป็น
องค์รวม
๒. การจัดระบบบริการสาธารณสุขต้องให้ความสาคัญ
กับความเป็นธรรมในการเข้าถึงและการได้รับบริการที่มีคุณภาพ โดยมีการบริหารระบบการเงินการคลัง
ที่แยกระหว่างผู้ซื้อบริการกับผู้ให้บริการ ทั้งนี้ จะต้องสอดคล้องกับระบบการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพ
ของประเทศเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพ
๓ . การจัดระบบบริการสาธารณสุขต้องเน้น
ความร่วมมือและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชุมชนและภาคส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ ต้องเร่งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนอย่างจริงจัง ทั้ง
ในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ
๔. การบริการสาธารณสุขต้องมีคุณภาพและความ
ปลอดภัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ จริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ คานึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง
ส่วนที่ ๓ หลักการสาคัญของระบบสุขภาพ
๑ ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
๑. สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคน ทั้งในระดับ
บุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และในสังคมวงกว้าง โดยครอบคลุมทั้งการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้ง
การได้รับการสนับสนุนปัจจัยต่างๆ ที่สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนได้รับการสนับสนุนให้มีอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
๒. บุคคลมีความตระหนักรู้และมีบทบาทในการดูแล
สุขภาพของตนเอง ครอบครัว บุคคลในความดูแล และชุมชน มิให้เกิดความเสียหายทางสุขภาพ หรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม โดยรัฐมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและคุ้มครอง
๓. ระบบสุขภาพ เป็นระบบความสัมพันธ์ทั้งมวล
ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยมีระบบการบริการสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่ง ระบบสุขภาพยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมและระบบความมั่นคงของประเทศการกำหนดนโยบายสาธารณะใดๆจึงต้องให้
ความสาคัญกับมิติทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับผลกระทบด้วย
๔. ระบบสุขภาพ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลัก
คุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม ธรรมาภิบาล ความรู้และปัญญา โดยให้ความสาคัญกับคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรม ความเท่าเทียมกันลดความเหลื่อมล้าในสังคม และจะต้องสอดคล้องกับ
วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิสังคม ภูมินิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ รวมทั้งจะต้องคานึงถึงหลักการพัฒนาและบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม อย่างยั่งยืนและอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกระดับ
และทุกภาคส่วน
๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
๓. รัฐและทุกภาคส่วนต้องให้ความสาคัญกับหลักการ
ทางานแบบเครือข่ายและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกระดับ เพื่อการอภิบาลระบบสุขภาพ ทั้งนี้ การสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและการทางานเชิงรุกของทุกภาคส่วน ถือเป็นปัจจัย
สาคัญในการปรับปรุงและพัฒนาระบบสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
๒. รัฐและทุกภาคส่วนต้องพิจารณาระบบสุขภาพว่าเป็น
เรื่องที่กว้างขวางครอบคลุมในทุกมิติทั้งทางกาย ทางจิตทางปัญญาและทางสังคม และต้องพัฒนาระบบสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงกันอย่างสมดุล รวมทั้งต้องสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนนาแนวทาง
“ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” (Health in All Policies)ไปใช้ประกอบการพิจารณาในการกาหนดนโยบายสาธารณะ เพื่อให้เกิดนโยบายที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพใน
ทุกระดับ
๑. รัฐและทุกภาคส่วนต้องให้ความสาคัญกับการสร้าง
เสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค และการจัดการกับปัจจัยสังคมที่กาหนดสุขภาพ รวมทั้งการมีหลักประกันและการคุ้มครองให้เกิดสุขภาพที่จะนาไปสู่สุขภาวะที่มั่นคงและยั่งยืนของทุกกลุ่มวัย โดยส่งเสริมให้บุคคล
ดูแลสุขภาพที่ยึดหลักการพึ่งตนเองของบุคคล และของสังคมที่อาศัยการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓.การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
๒. การสร้างหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิด
สุขภาพ ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
๑. หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ จะต้องมี
ความครอบคลุมปัจจัยทั้งหลายที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านระบบบริการสาธารณสุข และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งกายภาพชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งนโยบาย
สาธารณะต่างๆ โดยหลักประกันและการคุ้มครองให้เกิดสุขภาพนี้จะต้องครอบคลุมบุคคลทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยด้วย โดยไม่มีการแบ่งแยก ยึดหลักเสมอภาค เท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ
๕ การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น
๖ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
๗ การสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
๘ การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
๙ การสร้างและพัฒนากาลังคนด้านสุขภาพ
๑๐ การเงินการคลังด้านสุขภาพ
๑๑ สุขภาพจิต
๑๒ สุขภาพทางปัญญา
๑๓ การอภิบาลระบบสุขภาพ
๑๔ ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า“พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา๒พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓ในพระราชบัญญัตินี้
“สุขภาพ” หมายความว่าภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกายทางจิตทางปัญญาและทางสังคมเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
“ปัญญา” หมายความว่าความรู้ทั่วรู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห้งความดีความชั่วความมีประโยชน์และความมีโทษซึ่งนําไปสู้ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
“ระบบสุขภาพ” หมายความว่าระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
“บริการสาธารณสุข” หมายความว่าบริการต่างๆอันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพการตรวจวินิจฉัยและบําบัดสภาวะความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชน
“บุคลากรด้านสาธารณสุข” หมายความว่าผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมายระเบียบหรือข้อกําหนดรองรับ
“ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข” หมายความว่าผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
“สมัชชาสุขภาพ” หมายความว่ากระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์เพื่อนําไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพของประชาชนโดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วม
มาตรา๔ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวง
หมวด ๑
สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา๑๒บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
มาตรา๕บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพบุคคลมีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการดําเนินการให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง
มาตรา๖สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต้อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิตต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
สุขภาพของเด็กคนพิการคนสูงอายุคนด้อยโอกาสในสังคมและกลุ่มคนต่างๆที่มีความจําเพาะในเรื่องสุขภาพต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสมด้วย
มาตรา๗ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคลผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผยแต่ไม่ว่าในกรณีใดๆผู้ใดจะอาศัยอํานาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้
มาตรา๙ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้าและต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดําเนินการได้ความยินยอมดังกล่าวผู้รับบริการจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได
มาตรา๑๐เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้นหน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว
มาตรา๑๑บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา๘ในการบริการสาธารณสุขบุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใดและในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใดจะให้บริการนั้นมิได
ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งหรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้นเว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(๒) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ปกครองผู้ปกครองดูแลผู้พิทักษ์หรือผู์อนุบาลของผู้รับบริการแล้วแต่กรณีรับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้
(๑) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน