Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มโนทัศน์เกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
มโนทัศน์เกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุ
นิยามความหมายผู้สูงอายุและประเภทผู้สูงอายุ
ความหมายของผู้สูงอายุ
วิทยาการผู้สูงอายุหรือพฤฒาวิทยา (Gerontology) คือ การศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ซึ่งนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุ พยายามหาความหมายของคำว่า “ผู้สูงอายุ” (Elderly) ในแง่มุม ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดอย่างเด็ดขาดว่าคนนั้น เป็นผู้ที่อยู่ในวัยชรา
สำหรับประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 3 กำหนดว่า ผู้สูงอายุ คือ “บุคคลซึ่งมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย”
ประเภทของผู้สูงอายุ
ฮอลล์ (Hall, 1976) ได้แบ่งการสูงอายุของบุคคลออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) การสูงอายุตามวัย (Choronological Aging) หมายถึง การสูงอายุตามปีปฏิทินโดยการนับ จากปีที่เกิดเป็นต้นไป
2) การสูงอายุตามสภาพร่างกาย (Biological Aging) เป็นการพิจารณาการสูงอายุจากสภาพ ร่างกายและสรีระของบุคคลที่เปลี่ยนไป
3) การสูงอายุตามสภาพจิตใจ (Psychological Aging) เป็นการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ การรับรู้ แนวความคิด ความจำ การเรียนรู้ เชาว์ปัญญา และลักษณะบุคลิกภาพ
4) การสูงอายุตามสภาพสังคม (Sociological Aging) เป็นการเปลี่ยนแปลงในบทบาทหน้าที่ สถานภาพของบุคคลในระบบสังคม
การแบ่งผู้สูงอายุ
แบ่งตามการพึ่งพาผู้สูงอายุ
ได้แก่ 1) ไม่ต้องพึ่งพาเลย (totally independence) 2) พึ่งพาบางส่วน (partially dependence) 3) พึ่งพาทั้งหมด (totally dependence) 4) ติดเตียง (bed ridden)
แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุตามการจำแนกความช่วยเหลือที่สังคมควรจัดให้กับผู้สูงอายุ
ได้แก่ 1.กลุ่มติดสังคม 2.กลุ่มติดบ้าน 3.กลุ่มติดเตียง
การจัดแบ่งผู้สูงอายุตามการมีโรค
ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุที่แข็งแรง (healthy elderly) 2) ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (frailty หรือ frail elderly)
แบ่งตามมิติของการให้บริการสุขภาพ
ได้แก่
1) ผู้สูงอายุสุขภาพดี (healthy / well elderly) อันรวมถึงผู้สูงอายุที่มีอิสระไม่ต้องพึ่งพา
2) ผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรัง และ / หรือ มีภาวะทุพพลภาพ (disability elderly)
3) ผู้สูงอายุหง่อม / งอม / บอบบาง (frail elderly)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสูงอายุหรือสังคมผู้สูงอายุและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสูงอายุหรือสังคมผู้สูงอายุ
องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
เป็น 3 ระดับ
ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่า ร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ
ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากร อายุ60ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อย ละ14 ของประชากรทั้งประเทศ
ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มี ประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งประเทศ หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสูงอายุหรือสังคมผู้สูงอายุ
ย่อมนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของความต้องการด้าน บริการในด้านต่างๆ ทั้งการดูแลสุขภาพอนามัย และการจัดสวัสดิการของรัฐอย่างมหาศาล อันนำไปสู่ ภาระอันหนักอึ้งของรัฐบาลในการดูแลและการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดให้ลงตัว
บทบาทพยาบาล ครอบครัวและสังคมต่อการดูแลผู้สูงอายุ
เจตคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ
เจตคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อผู้สูงอายุ เป็นความคิด ความรู้สึก อารมณ์ที่มีต่อผู้สูงอายุและกระบวนการสูงอายุ ที่มีได้ทั้งทางบวก (positive)
และทางลบ (negative)
ส่วนใหญ่ภาพรวม (Stereotype) ที่สะท้อนถึงอคติต่อผู้สูงอายุที่เป็นลบ (negative prejudice) และส่งผลให้เกิดเจตคติที่เป็นลบ คือ 1.ความเจ็บป่วยทางร่างกาย (physical illness)
2.ความเจ็บป่วยทางจิตใจ (Mental illness)
3.การแยกตัว (Isolation)
4.เก็บกด (Depression)
5.ความจน (Poverty)
6.การสร้างผลผลิตให้สังคม (Contribution to society)
บทบาทของพยาบาลในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
1) บทบาทผู้บำบัดรักษา (healer)
2) บทบาทผู้ปฏิบัติ (implementer)
3) บทบาทผู้ให้การศึกษา (educator)
4) บทบาทนักวิจัย (researcher)
5) บทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษา (consultant)
6) บทบาทผู้สนับสนุน (advocate)
7) บทบาทผู้คิดค้นสิ่งใหม่ (innovator)
บทบาทของผู้ดูแล
ผู้ดูแล คือ สมาชิกในครอบครัวที่ให้ความช่วยเหลือ ดูแลสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเจ็บป่วย พิการ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ไม่สามารถดูแลจัดการตนเองได้ โดยผู้ดูแลจะมีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ และให้การดูแลโดยไม่ได้มุ่งหวังค่าตอบแทน
บทบาทของครอบครัวและสังคม
1) บทบาทในการดูแลที่ตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย เป็นการดูแลกิจวัตร ประจำวัน จัดหาและดูแลเรื่องอาหารการกิน การจัดที่อยู่อาศัยให้อยู่อย่างเหมาะสม การดูแลเมื่อเจ็บป่วย การอำนวยความสะดวกเรื่องพาหนะเดินทาง และการช่วยเหลือด้านแรงงาน
2) บทบาทการดูแลที่ตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์และจิตใจ ผู้สูงอายุมีการ เปลี่ยนแปลงหรือเกิดวิกฤติทางจิตใจอารมณ์หลายประการ มีอาการซึมเศร้าอารมณ์อ่อนไหวง่าย
3) บทบาทการดูแลที่ตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้สูงอายุ การจัดหาอาชีพที่เหมาะสม ตลอดจนช่วยเหลือ ควบคุมดูแลธุรกิจ ทรัพย์สิน และผลประโยชน์ต่างๆ
4) บทบาทในการตอบสนองความต้องการด้านสังคม ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมของครอบครัว เพื่อรับรู้ข่าวสาร และความเป็นไปของสังคม