Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2561 –2580) - Coggle Diagram
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2561 –2580)
ความหมาย
ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายในการพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็น กรอบในการจัดทําแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและ บูรณาการกัน อันจะก่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกัน ไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ใน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 –2580)
วิสัยทัศน์ประเทศไทย (2580)
ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาเเล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มั่งคั่ง
• ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมลาของการ พัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่าง เท่าเทียมกัน
• มีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง อาทิ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงินและทุนอื่นๆ
ยั่งยืน
• การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ ด้านรายได้ และ คุณภาพ ชีวิตของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ เกิน พอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อ สิ่งแวดล้อม
• มี การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ สอดคล้องกับกฎระเบียบของประชาคมโลก
• คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่าง ยั่งยืน ทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มั่นคง
• มีความมั่นคงปลอดภัย จากภัย และการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ภายในประเทศและภายนอกประเทศและ มีความมั่นคง ในทุก มิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง
• มีความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และนํ้า
• ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย
• สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี ประชาชน มีความ มั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคง มีที่อยู่อาศัยและ ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
เป้าหมายการพัฒนาประเทศ
“ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐาน ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน”
ยุทธศาสตร์
ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
ตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่ หลากหลาย
ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
เสริมสร้าง ศักยภาพการกีฬา ในการสร้าง คุณค่าทางสังคม และพัฒนา ประเทศ
เสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ
ปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม
ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
การเสริมสร้างพลังทางสังคม
การลดความเหลื่อมลํ้า สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ
การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการ พึ่งตนเองและการจัดการตนเอง
ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก
อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐาน ผู้ประกอบการยุคใหม่
การเกษตรสร้างมูลค่า
ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน บนสังคมเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสภาพ ภูมิอากาศ
พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้น ความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคม เศรษฐกิจภาคทะเล
พัฒนาความมั่นคงทางนํ้า พลังงาน และเกษตรที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคม เศรษฐกิจสีเขียว
ยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อกําหนดอนาคตประเทศ
1 ด้านความมั่นคง
พัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบ ต่อความมั่นคงชองชาติ
บูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและ นานาชาติ รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง
พัฒนากลไกการบริหารจัดการ ความมั่นคงแบบบูรณาการ
การรักษาความสงบภายในประเทศ
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการ โดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็น เป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนา ในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่
ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสม กับภารกิจ เปิดกว้าง ส่งเสริมให้ ประชาชนและทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม มีจิตสํานึก มี ความสามารถสูง มุ่งมั่นและเป็นมือ อาชีพ
ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการ ทุจริตและประพฤติมิชอบ ทุก ภาคส่วนร่วมต่อต้านการทุจริต
กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาค
ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็น ศูนย์กลาง ตอบสนองความ ต้องการ และให้บริการอย่าง สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส
ภาครัฐมีความทันสมัย