Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ - Coggle Diagram
การพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
กลไกการป้องกันการติดเชื้อ
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ปาก
ระบบทางเดินอาหาร
ผิวหนัง
แหล่งของเชื้อโรค 6 สิ่งในบ้าน
ของเล่น
ฟองน้ำล้างจาน
ผ้าม่าน
ที่เก็บแปรงสีฟัน
ไส้กรองแอร์และเครื่องปรับอากาศ
แป้นโทรศัพท์,รีโมท,สวิตซ์ไฟ
เป็นที่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและมีการขยายตัว
สิ่งนำเชื้อ
สัมผัสโดยตรงกับคน
แมลงและสัตว์
อาหารและน้ำ
บุคคลที่มีเชื้อโรค
อากาศ
วัตถุต่างๆ
วิธีการแพร่กระจายเชื้อ
Vectorborne transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดย แมลงหรือสัตว์นำโรค
Air bone transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโดยการสูดอากาศเอาเชื้อที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
Contact transmission
Direct contract
การแพร่เชื้อจาก คน สู่ คน
Indirect contract
เป็นการสัมผัสสิ่งของหรืออุปกรณ์การแพทย์ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่เป็นการที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางตัวกลาง
Droplet spread
เกิดจากการสัมผัสกับฝอย ละอองน้ำมูก น้ำลาย
ทางเข้าของเชื้อที่ทำให้เกิดโรค
ดวงตา
จมูก
ปาก
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล Nosocomial infection
การติดเชื้อที่เกิดจากการได้รับเชื้อขณะที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจ/ และหรือการได้รับการพยาบาล และการติดเชื้อของบุคลากรจากการปฏิบัติงาน (โดยปกติมักเกิดขึ้นภายใน48 72 ชั่วโมง เมื่อรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล)
ภาวะปลอดเชื้อและเทคนิคปลอดเชื้อ
เทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic technique)
การกีดกั้นเชื้อชนิดไม่เคร่งครัด (Medicalasepsis)
เทคนิคการทาให้สะอาด(Clean technique)
การแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อด้วยวิธีการแยกเฉพาะ (Isolationtechnique)
การกีดกั้นเชื้อชนิดเคร่งครัด
(Surgicalasepsis)
เทคนิคการทำให้สะอาด
การใส่ถุงมือ (gloves)
เสื้อคลุม (gown) ที่นึ่งแล้ว
การใช้ปากคีบที่ทาให้ไร้เชื้อหยิบเครื่องมือเครื่องใช้ที่สะอาดปราศจากเชื้อ
เทคนิคปราศจากเชื้อ (Sterile technique)
การทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้
การล้าง (Cleansing)
จุดประสงค์
เพื่อลดจานวนเชื้อโรคบนเครื่องมือให้เหลือปริมาณน้อยที่สุด
เพื่อเป็นการลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่บนผิวของเครื่องมือ
ความสกปรกที่ติดแน่นบางอย่างไม่สามารถจะหลุดได้
ช่วยลดอันตรายในการหยิบจับอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่เป็นเบื้องต้น
สิ่งที่ควรคำนึง
1.กำจัดเลือด หนอง เมือก สารคัดหลั่งและอื่นๆก่อนทำความสะอาดเสมอ
2.ไม่ทำอุปกรณชำรุดเสียหาย
3.ไม่ทำอุปกรณ์สกปรกมากกว่าเดิม
4.สารจากสบู่มีฤทธิ์เป็นด่างหากล้างออกไม่หมดจะช่วยเคลือบจุลชีพไว้
การต้ม(Boiling)
จุดประสงค์
การต้มเดือดที่มีประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ ควรจะต้มเดือดนาน20 นาทีขึ้นไปและน้าต้องท่วมของที่ต้องการต้ม เครื่องใช้ที่นิยมทำลายเชื้อด้วยการต้มได้แก่ เครื่องใช้ที่เป็นโลหะและเครื่องแก้วทุกชนิด เครื่องเคลือบ
สิ่งที่ควรคำนึง
เครื่องใช้ที่ไม่ควรต้มได้แก่ เครื่องใช้ที่ทามาจากยาง และของมีคมเพราะจะทาให้เสื่อมคุณภาพและเสียคม
การใช้สารเคมี (Chemical method)
Disinfectant
สารเคมีหรือนายาที่ใช้ทาลายจุลินทรีย์ แต่ไม่สามารถทาลายชนิดที่มีสปอร์ น้ายานี้จะทาลายเนื้อเยื่อด้วย ฉะนั้นจะใช้กับผิวหนังไม่ได้
Antiseptics
สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ สามารถใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ปลอดภัย
น้ำยาที่ใช้ในการทำลายเชื้อ
แอลกอฮอล์
ทำลายเชื้อได้ดีแต่ไม่ทำลายสปอร์ อาจทำให้เครื่องมือโลหะเกิดสนิม
อัลดีฮัยด์
ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา ในเวลา 10 นาที ทำลายสปอร์แบคทีเรียได้ใน10 ชั่วโมง ระคายเคืองผิว แพง
ไดกัวไนด์
สารที่ใช้คือ chlorhexidineถ้าความเข้มข้นต่ากว่า 0.2 % ไม่สามารถ ทำลายแบคทีเรียแกรมบวก เชื้อไวรัส เชื้อรา และสปอร์ของแบคทีเรียได้
ฮาโลเจน
สามารถทำลายเชื้อโรคได้ต่างกันตามความเข้มข้นของน้ำยาไม่สามารถทำลายสปอร์แบคทีเรียได้
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
สามารถทำลายเชื้อโรครวมทั้งไวรัส โดยใช้ Hydrogen peroxide 6 %นาน 30 นาที
ฟีนอล
สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรคเชื้อรา ยกเว้นเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และสปอร์ของแบคทีเรียไม่ควรใช้กับทารกแรกเกิด บริเวณที่เตรียมอาหาร
Quartemary Ammonium Compounds (QACs)
มีฤทธิ์ทำลายเชื้อน้อย เช่น Benzalkonium chlorideเป็นส่วนประกอบใน savlon
การทำให้ปราศจากเชื้อ
วิธีทางกายภาพ
Radiation
สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิด แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสเอดส์ ในกรณีเชื้อวัณโรคเมื่อถูกแสงแดดจะถูกทาลายภายใน 1-2 ชั่วโมง
Dry heat or hot air sterilization
สามารถทำลายเชื้อโดยใช้ความร้อนแห้งที่อุณหภูมิ 165-170 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง การใช้ความร้อนแห้งนี้เหมาะสาหรับเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของมีคม ไม่ทาให้ของเสียคม ใช้สาหรับเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
Steam under pressure
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เชื่อถือได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการฆ่าเชื้อและสปอร์ของเชื้อ
วิธีทางเคมี
การใช้ก๊าซ Ethylene oxide
สามารถทำลายได้ทั้งไวรัส แบคทีเรียรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเครื่องมือเครื่องใช้อบก๊าซไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง
การใช้ 2 % Glutaradehyde
ทำลายเชื้อและสปอร์ของแบคทีเรีย เป็นสารที่ไม่ทาลายยางหรือพลาสติก
การใช้ Peracetic acid
เป็นส่วนผสมระหว่าง acetic acid กับ hydrogen peroxide มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง แต่ต้องละลายในน้ำอุ่น
การปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
การล้างมือ(Hand washing)
ขั้นตอนที่ 1 ฝ่ามือถูฝ่ามือ ล้างมือด้วยน้ำสะอาด ถูสบู่จนขึ้นฟอง หลังจากนั้นนำฝ่ามือทั้งสองข้างประกบกัน และถูวนให้ทั่ว
ขั้นตอนที่ 2 ถูหลังมือและซอกนิ้ว เพื่อฆ่าเชื้อโรคบริเวณมือและซอกนิ้วด้านหลัง โดยใช้ฝ่ามือถูบริเวณหลังมือ และซอกนิ้วสลับไปมาทั้งสองข้าง
ขั้นตอนที่ 3 ถูฝ่ามือและซอกนิ้ว นำมือทั้งสองข้างมาประกบกัน ถูฝ่ามือและซอกนิ้วด้านหน้าให้สะอาด
ขั้นตอนที่ 4 หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ ให้นิ้วมือทั้งสองข้างงอเกี่ยวกัน ถูวนไปมา
ขั้นตอนที่ 5 ถูนิ้วและโคนนิ้วหัวแม่มือ กางนิ้วหัวแม่มือแยกออกมา ใช้ฝ่ามืออีกข้างกำรอบนิ้วหัวแม่มือ แล้วถูหมุนไปรอบ ๆ ทำสลับกันทั้งสองข้าง
ขั้นตอนที่ 6 ถูปลายนิ้วมือบนฝ่ามือ ให้แบมือแล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างถูวนเป็นวงกลม จากนั้นสลับข้างทำแบบเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 7 ถูรอบข้อมือ กำมือรอบข้อมือข้างหนึ่ง ถูวนจนกว่าจะสะอาด หลังจากนั้นให้เปลี่ยนข้างทำแบบเดียวกับมือข้างแรก
การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล(Alcohol hand rub)
ในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้า และมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยให้ทาความสะอาดมือด้วย แอลกอฮอล์เจลซึ่งมีน้ายา alcohol 70 % หรือ alcohol 70 ผสม chlorhexidine 0.5 %
การล้างมือก่อนปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ และภายหลัง (Hygienic hand washing)
การล้างมือภายหลังการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือสิ่งปนเปื้อนเชื้อ เช่น กระโถนถ่ายหรือสิ่งสกปรกเปรอะเปื้อนก่อนและหลังทากิจกรรมที่ต้องใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
การล้างมือก่อนทาหัตถการ(Surgical hand washing)
chlorhexidine
4 % และใช้แปรงที่ปราศจากเชื้อแปรงมือและเล็บในครั้งแรกของวันนั้นๆ แล้วฟอกมือและแขนถึงข้อศอกให้ทั่วนานอย่างน้อย 5 นาที ในการล้างมือครั้งต่อไปฟอกมือนาน 3-5 นาที ล้างให้สะอาดและซับด้วยผ้าแห้งที่ปราศจากเชื้อ
การใส่ถุงมือ(Glove)
ถุงมือปลอดเชื้อ (Sterile glove)
ถุงมือสะอาดหรือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง(Clean, Disposable glove)
การใช้ผ้าปิดปาก จมูก(mask)
การใส่เสื้อกาวน์
การใส่เสื้อกาวน์จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ เสื้อกาวน์ โดยทั่วไปจะเปิดด้านหลังและมีเชือกสาหรับผูกที่คอและเอว เสื้อควรจะใหญ่และยาวเล็กน้อยเพียงพอที่จะคลุมชุดเครื่องแบบได้มิดชิด แขนยาว ควรเปลี่ยนเสื้อกาวน์ทุกเวร กรณีถ้าเปื้อนหรือเปียกให้เปลี่ยนทันที โดยระวังการปนเปื้อนด้านนอกของเสื้อคลุม โดยการกลับเสื้อด้านในออกทิ้งในภาชนะที่เตรียมไว้ และล้างมือให้สะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้ป่วยอื่นและสิ่งแวดล้อม
เทคนิคการแยก (Isolation technique)
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางเลือด และน้าเหลือง
การแยกผู้ป่วยในรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อ
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและติดต่อง่าย
การแยกผู้ป่วยในรายที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางบาดแผลและผิวหนัง
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
การแยกผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
การปฏิบัติที่ปลอดภัยจากการใช้ของมีคม
. ไม่ส่งของมีคมด้วยมือต่อมือ
. เข็มที่ใช้เจาะเลือดผู้ป่วยให้เก็บทิ้งคนเดียว
. การเย็บแผลให้ใช้ forceps หยั่งแผลเวลาเย็บ
. การปลดหลอดแก้วออกจากสายยาง ให้ใช้ forceps ปลด
. ไม่ควรสวมปลอกเข็มคืน แต่ถ้าจาเป็นต้องสวม ควรสวมปลอกเข็มโดยใช้มือเดียว (one hand technique)
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
Contact Precautions
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยทั้งบุคลากรและญาติล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
Droplet Precautions
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกและปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วยผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องใส่ ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N 95
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยกให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟันถ้าต้องมีความจาเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิดธรรมดา
Airborne Precautions
แยกผู้ป่วยไว้ในห้องแยกพิเศษ และปิดประตูทุกคครั้ง หลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วยผู้ที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วยต้องส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด N 95ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังถอดถุงมือและก่อนออกจากห้องแยก
สวมถุงมือชนิดใช้ครั้ง เดียวทิ้ง ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วยให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก-จมูกเวลาไอ จาม และใส่ผ้าปิดปาก-จมูก ชนิดธรรมดาตลอดเวลา ยกเว้นเวลารับประทานอาหารและแปรงฟันถ้าต้องมีความจาเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอก ห้องให้ผู้ป่วยใส่ผ้าปิดปาก-จมูกชนิด
หลัก Standard precaution
. สวมเครื่องป้องกัน ตามความเหมาะสม
ระวังการบาดเจ็บจากเข็มและของมีคมต่าง ๆ
บุคลากรเมื่อมือมีบาดแผล หรือรอยถลอกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงก่อนที่จะใช้เครื่องป้องกันทางการแพทย์
ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ทุกครั้งในการปฏิบัติงานทางการแพทย์หรือในห้องปฏิบัติการ