Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีของโรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก - Coggle Diagram
ทฤษฎีของโรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก
โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย
แสตนฟอร์ด ซึ่งโด่งดังจากการสร้างทฤษฎีที่อธิบายการทำงานของเชาว์ปัญญาในชื่อที่ว่า "ทฤษฎีสามศร" (Triarchic theory of intelligence) ได้พัฒนาทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก ท่านกล่าวว่าความรักของมนุษย์นั้นประกอบด้วย 3 รูปแบบของความรัก ได้แก่
ความรักในระดับเนื้อหนัง ซึ่งเกิดจากแรงขับที่มาจากภายในของมนุษย์ (Passion)
ความรักในระดับความรู้สึกที่ใกล้ชิดกัน สนิทสนมชิดเชื้อ (Intimacy)
ความรักในระดับของพันธะสัญญา หรือการให้คำมั่นสัญญาต่อกันที่จะรักษาสัมพันธภาพไว้ให้ยั่งยืน (Commitment)
ท่านอธิบายว่าความรักทั้ง 3 ระดับนี้สามารถรวมกันและสร้างเป็นความรักได้ 8 รูปแบบคุณลักษณะ เช่น
ความรักระดับที่ 2 บวกกับความรักระดับที่ 1 (Intimacy + Passion) คือ ระดับเนื้อหนังรวมเข้ากับระดับความรู้สึกใกล้ชิด สนิทชิดเชื้อ กลายเป็นความรักแบบโรแมนติก (Romantic love)
ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก (Triangular theory of love) คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วยการศึกษาความรักในเชิงจิตวิทยาของนักจิตวิทยา โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก (Robert Sternberg) โดยเขาได้กล่าวว่าความรักจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ในบริบทที่เกี่ยวข้องกันของความสัมพันธ์ในรักระหว่างบุคคล ซึ่งทั้ง 3 ส่วนจะประกอบไปด้วย
ความลุ่มหลง (Passion) คือส่วนประกอบด้านแรงกระตุ้นในรัก เป็นเชื้อเพลิงที่ก่อเกิดความสัมพันธ์
ความผูกพัน (Intimacy) คือส่วนประกอบด้านอารมณ์ความรู้สึกในรัก กล่าวคือการรู้สึกถึงตัวเองที่ผูกพันกับคนคนหนึ่ง รู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ใกล้ การแบ่งเบาความทุกข์สุขกัน ความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง
ข้อผูกมัด (Commitment) คือส่วนประกอบด้านความรู้คิดของความรัก หมายถึงการตัดสินใจว่าจะรักใครอย่างมีสติ และคิดจะรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว แม้ว่าจะมีอุปสรรคขวากหนามรออยู่เบื้องหน้าก็ตาม
ตัวอย่างของทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งความรัก เช่น ความรักที่แท้จริง (Romantic love) จะประกอบไปด้วย ความหลงใหล+ความผูกผันหรือความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง
Robert Sternberg เสนอทฤษฎีว่าเชาวน์ปัญญาของคนเกิดจากกระบวนการคิดแล้วแสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงเชาวน์ปัญญาออกมา (การเรียนรู้และการปรับตัว) เชาวน์ปัญญาประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
การวิเคราะห์ : เชาวน์ปัญญาคอมโพเน้นเชียล (Analytic : Componential Intelligence) คือความสามารถในการคิด การเรียนรู้ การหาความรู้ การวางแผน การทำงานและคิดยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหา มีหน้าที่ 3 ประการ ได้แก่
1.1 เลือกปัญหาและยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาตลอดจนการตรวจสอบเรียกว่า Meta Component
1.2 ทำจริงตามที่เลือกใน 1.1 เรียกว่า Performance Component
1.3 รับความรู้และข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เรียกว่า Knowledge Acquisition Component
คิดสร้างสรรค์ : เชาวน์ปัญญา เอ็กซ์พีเรียนเชียล (Creative : Experiential Intelligence) คือความสามารถในการสู้สถานการณ์ใหม่หรืองานใหม่ แก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ แสดงออกใน 2 ลักษณะคือ รู้แจ้งในปัญหาและวิธีแก้ปัญหาใหม่ ลักษณะหนึ่ง อีกลักษณะหนึ่ง คือคิดและแก้ปัญหาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอัตโนมัติ
ปฏิบัติ : เชาวน์ปัญญาคอนเท็คชวล (Practical : Contectual Intelligence) คือการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด ในการปรับตัวนั้นทำได้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่
3.1 ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม (Adaptation)
3.2 เลือกปรับตัวตามความเหมาะสม (Selection)
3.3 เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ (Shaping)
กล่าวโดยสรุปเชาวน์ปัญญาก็คือความรู้ที่มีอยู่และสามารถนำมาแก้ปัญหาได้แล้วนำไปใช้การปรับตัวในที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าคนที่มีเชาวน์คือคนที่มีความรู้ ความคิด และความสามารถในการแก้ปัญหานั่นเอง