Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid), นางสาวสุภาวรรณ อะโนทัย เลขที่ 91 -…
ภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid)
สาเหตุ
การขาดธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (congenital hypothyroidism)
ความผิดปกติจากการขาดธัยรอยด์ฮอร์โมนที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired disorder)
ความผิดปกติที่เกิดจากการขาดธัยรอยด์ฮอร์โมนชั่วคราว (transient disorder)
ภาวะที่ร่างกายไม่มีธัยรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะที่พบได้บ่อยใน เด็กไทย ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์เอง หรือเกิดความผิดปกติของการสร้างธัยรอยด์ ฮอร์โมนจากการขาดสารไอโอดีน หรือมีความผิดปกติของเอนไซม์ที่ใช้ในขบวนการสร้างธัยรอยด์ หรือมีความ ผิดปกติของต่อมใต้สมอง (hypothalamus)
อาการและอาการแสดง
เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลิ้นโต ท้องผูก สะดือจุ่น
ผิวและผมแห้ง ขนคิ้วบาง ฟันขึ้นช้า
ร่างกายแคระแกร็น น้ำหนักขึ้นน้อย
การวินิจฉัย
ประวัติของผู้ป่วยจะเป็นเด็กเลี้ยงง่าย นอนตลอดเวลา ไม่ร้องกวน ต้องปลุกให้ตื่นมากินนม ท้องผูกเป็น
ประจํา พัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ
การตรวจร่างกายจะพบลักษณะเฉพาะของเด็ก cretinism ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
การพยาบาล
ผู้ป่วยมีภาวะพร่อง/ขาดธัยรอยด์ฮอร์โมน เนื่องจากการสร้างธัยรอยด์ฮอร์โมนได้น้อยหรือไม่มีต่อมธัยรอยด์
ดูแลให้ได้รับธัยรอยด์ฮอร์โมนตามแผนการรักษาวันละครั้งโดย
1.1 ตรวจนับอัตราการเต้นของหัวใจ ก่อนให้ยาทุกครั้ง ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจ > 160 ครั้ง/นาที ในทารก
หรือ > 140 ครั้ง/นาที ในเด็กโต ให้รายงานให้แพทย์ทราบเพื่องดยามื้อนั้น
1.2 สังเกตและบันทึกอาการที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงของการได้รับยาเกินขนาด
ตรวจนับและบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจขณะหลับวันละครั้ง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมเป็นระยะๆ
ติดตามการเจริญเติบโตของร่างกายโดยการชั่งน้ําหนักและวัดส่วนสูงเป็นระยะๆ ตามแผนการรักษา
สังเกตและบันทึกลักษณะจํานวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ เพื่อติดตามดูขนาดยาธัยรอยด์ที่ให้ว่าพอเหมาะ
หรือไม่
บันทึกและประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะอุณหภูมิกายต่ํา และ pulse pressure
ติดตามผล T4 และ TSH ในเลือดเพื่อประเมินการได้รับธัยรอยด์ฮอร์โมนว่าเพียงพอหรือไม่
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะอุณหภูมิกายต่ํา
ดูแลร่างกายผู้ป่วยให้ได้รับความอบอุ่นอยู่เสมอ
1.1 ขณะอาบน้ํา/เช็ดตัวให้ผู้ป่วย ต้องไม่ให้มีลมโกรก และเมื่ออาบน้ํา/เช็ดตัวเสร็จ ต้องเช็ดตัวให้แห้งและใส่
เสื้อผ้าให้ทันที เพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย
1.2 ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น บริเวณเตียงผู้ป่วย ไม่อยู่ชิดหน้าต่าง หรือเปิดพัดลมจี้ไว้ที่ตัวผู้ป่วยตลอดเวลา
1.3 ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับอากาศ/ฤดูกาลในขณะนั้นๆ
สังเกตและประเมินอาการผิดปกติ เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น ซึม ชัก และหมดสติ
บันทึกและประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับนม/อาหารตามเวลาทุกมื้อ
นางสาวสุภาวรรณ อะโนทัย เลขที่ 91