Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เด็กที่มีภาวะคีโตนคั่ง DKA, นางสาวสุภาวรรณ อะโนทัย เลขที่ 91 - Coggle…
เด็กที่มีภาวะคีโตนคั่ง DKA
การรักษา
ถ้าอาการยังไม่รุนแรง
1.1 ให้ผู้ป่วยดื่มน้ําสะอาดมากๆ
1.2 ตรวจระดับน้ําตาลในเลือด คีโตนในเลือด และในปัสสาวะขณะนั้น เพื่อวางแผนการรักษา
ถ้าอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษา
2.1 ให้สารน้ํา 0.9% น้ําเกลือนอร์มัล 10-20 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/ชั่วโมง ทางหลอดเลือดดําใน 1-2 ชั่วโมงแรก ของการรักษา หลังจากนั้นจะประเมินภาวะขาดน้ําเป็นระยะๆ เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา
2.2 ให้อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น ได้แก่ Humulin R หรือ Actrapid โดยวิธีให้ในขนาดน้อยแต่ต่อเนื่องทางหลอดเลือดดํา หรือให้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นครั้งคราว
2.3 ในรายที่มีการติดเชื้อ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะเพื่อแก้ไขภาวะติดเชื้อร่วมด้วย
2.4 การให้โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) เมื่อมีความจําเป็น
การวินิจฉัย
ระดับน้ําตาลในเลือดสูงกว่า 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ระดับน้ําตาลในปัสสาวะสูง
(บวก 4)
ตรวจพบคีโตนในเลือดและในปัสสาวะ
ระดับไบคาร์บอเนตในซีรั่ม (serum HCO3) < 15 มิลลิอิควิวาเลนท์/ลิตร pH < 7.3
ซีรั่มออสโมลาริตี้ (serum osmolarity) มากกว่า 340 มิลลิออสโมล/กิโลกรัม (mOsm/Kg)
จากอาการ และอาการแสดงข้างต้น
อาการและอาการแสดง
กระหายน้ํามาก ถ่ายปัสสาวะบ่อย
ปวดท้อง (คล้ายเป็นตะคริว) คลื่นไส้ อาเจียน
หายใจหอบลึก (Kussmual breathing) ลมหายใจมีกลิ่นอะซิโตน (กลิ่นผลไม้หวาน)
อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ํา ตามัว
ผิวกายแห้ง ปากแห้ง ภายในลําคอแห้ง
ซึม หมดสติ บางรายมีอาการชักกระตุก
สาเหตุ
ร่างกายขาดอินซูลินอย่างรุนแรง
การเจ็บป่วย หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในร่างกาย
มีภาวะเครียดทางจิตใจ ความวิตกกังวล และอื่นๆ
ได้รับยาบางอย่าง เช่น สเตียรอยด์ เป็นต้น
มีฮอร์โมนต้านอินซูลิน (insulin counter regulatory hormones) ได้แก่ กลูคากอน คอร์ติโซล โกรทฮอร์โมน แคทีโคลามีน (cateccholamine) เป็นต้น ทําให้มีการเพิ่มขึ้นของน้ําตาลในเลือด
การพยาบาล
ผู้ป่วยเด็กเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดจากน้ําตาลในเลือดสูงมากจนเกิดภาวะกรดในร่างกาย
การประเมินสภาพเริ่มต้นของการมีน้ําตาลในเลือดสูง
การประเมินการตรวจน้ําตาลในเลือด และน้ําตาลในปัสสาวะ รวมทั้งการตรวจหาอะซิโตนด้วย
ถ้าผู้ป่วยเด็กรู้สติ และสามารถดื่มน้ําได้ ให้ดื่มน้ําสะอาด และจัดให้นอนพักในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ
ดูแลให้พักผ่อน
เตรียมสารน้ําเกลือแร่
สังเกตบันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะ ทุก 15-30 นาที ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสังเกตอาการ
และอาการแสดงของภาวะไม่รู้สติ พฤติกรรมของผู้ป่วย ตลอดจนการช่วยเหลือผู้ป่วยในช่วงเวลาต่างๆ
งดอาหารทางปากในระยะแรก เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จะเริ่มให้อาหารเหลว และอาหารอ่อนตามลําดับ
นางสาวสุภาวรรณ อะโนทัย เลขที่ 91