Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการโรคไต (Nephritic syndrome: NS), นางสาวสุภาวรรณ อะโนทัย เลขที่ 91…
กลุ่มอาการโรคไต (Nephritic syndrome: NS)
สาเหตุ
ความผิดปกติที่ไต (primary renal cause) ซึ่งอาจเป็นมาแต่กําเนิด หรือไม่ทราบสาเหตุ
เกิดร่วมกับโรคระบบอื่นๆ (secondary nephritic syndrome) เช่น โรคติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษต่างๆ
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มอาการโรคไตเกิดจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ glomerular basement membrane (GBM) ทำให้มีการรั่วของโปรตีนเพิ่มขึ้น มีอัลบูมินออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก อาการบวม อัลบูมินในเลือดต่ำและ ไขมันในเลือดสูงเป็นอาการที่ตามมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการซึมผ่านของโกลเมอรูลัส (glomerular permeability) เป็นผลของปฏิกิริยาทางอิมมูน จากการตรวจพบว่า immunoglobulin ติดที่ไต จากการทำปฏิกิริยาของแอนติเจน ซึ่งอาจเป็นส่วนประกอบของ GBM เอง หรือเป็นแอนติเจนที่มาเกาะอยู่ที่ GBM ก็ได้ สารเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นที่ไตเอง สารเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ความสามารถในการซึมผ่านโกลเมอรูลัส เพิ่มขึ้น มีการรั่วของโปรตีนออกมาในปัสสาวะมากขึ้นทำให้เกิดกลุ่มอาการโรค
อาการและอาการแสดง
บวม บวมรอบดวงตา ใบหน้า บวมทั่วตัว
การวินิจฉัย
จากประวัติอาการและการตรวจร่างกายอย่างละเอียดมักช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยที่บวมจาก ความผิดปกติของระบบอวัยวะอื่นๆ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1) การตรวจปัสสาวะ โดยการตรวจหาโปรตีน
การรักษา
1) อาหาร ผู้ป่วยเด็กควรได้โปรตีนที่มีคุณภาพดีร้อยละ 130-140 ของความต้องการปกติในแต่ละวันตามอายุ และได้แคลอรีตามอายุ
2) รักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะขาดน้ำในหลอดเลือด ผู้ป่วยที่มีภาวะบวมมาก Thromboemboli การติดเชื้อ ไตวายเฉียบพลันและเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีการคั่งของเกลือและน้ําเนื่องจากเสียโปรตีนในปัสสาวะและโปรตีนในเลือดต่ําจากการทําหน้าที่ของไตลดลง
ประเมินสัญญาณชีพทุก 2-4 ชั่วโมง ดูแลเรื่องกิจกรรม เช่น ถ้าบวมกาให้ Bed rest
จัดท่านอนศีรษะสูง กรณีหายใจเหนื่อยหอบ
ดูแลให้อาหารที่มีเกลือต่ำ รสจืด (ไม่เติมเกลือ/น้ำปลา) และอาหารมีโปตัสเซียมสูง กรณีที่ให้ยาขับปัสสาวะ เช่น กล้วย ส้ม องุ่น ผลไม้ต่างๆ
จัดอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพ เช่น โปรตีนจากปลา เต้าหู้ ถั่วเหลือง
ดูแลให้ได้รับยา Plasma และ Albumin ตามแผนการรักษา
สังเกตประเมินอาการบวม ชั่งน้ำหนักทุกวัน วัดรอบท้องทุกวัน พร้อมลงบันทึก
ตรวจและบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกทุกเวร
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ (Protein, Albumin, BUN, Cr)
อาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานลดลงจากมีโปรตีนในเลือดต่ํา
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง สังเกตอาการและอาการแสดงการติดเชื้อ เช่น ไอ เจ็บคอ หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ
ให้การพยาบาลโดยใช้หลัก Aseptic technique นอกจากนี้ควรล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลผู้ป่วย ทุกครั้ง
ดูแลให้ผู้ป่วยรักษาความสะอาด ปาก ฟัน ร่างกายทุกวัน
จัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยไม่ให้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอื่น ที่มีการติดเชื้ออยู่และห้ามญาติที่มีการติดเชื้อเยี่ยม ผู้ป่วย สอนญาติถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
นางสาวสุภาวรรณ อะโนทัย เลขที่ 91