Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis), นางสาวสุภาวรรณ…
ไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis)
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อมีการติดเชื้อในร่างกายจะมีแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้น หลังจากนั้นอีกระยะ หนึ่งจะเกิด Antigen-antibody complex หรือ Immune-complex reaction ทำให้หลอดเลือดฝอยใน Glomerular ถูกทำลายโดยสารสำคัญสองชนิดคือ lysozyme และ Anaphylatoxin ผลที่เกิดตามมาคือ การกรองของเสียและการดูดซึมกลับไม่เป็นไปตามปกติ เกิดอาการคั่งของนํ้าและของเสีย เช่น BUN ความดันโลหิตสูง
อาการและอาการแสดง
อาการบวม (edema) มีอาการบวมบริเวณหนังตา (periorbital edema)
การถ่ายปัสสาวะน้อย (oliguria) หรือไม่ถ่ายปัสสาวะ (anuria) หรือถ่ายปัสสาวะลำบาก (dysuria)
เนื่องจาก GFR ลดลงทันที
การถ่ายปัสสาวะมีเลือดปน (hematuria)
การถ่ายปัสสาวะมีโปรตีน (proteinuria or albuminuria) มีค่าโปรตีนในปัสสาวะได้ 1+-2+
การคั่งของน้ำในระบบไหลเวียน (circulatory congestion)
หายใจเหนื่อย หอบ
ฟังปอดได้ยิน เสียงกรอบแกรบการ
ตรวจพบน้ำในช่องท้อง
ภาวะซีด ลดลง อ่อนล้า ซึม เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ปวดหลังบริเวณบั้นเอว
การวินิจฉัย
จากประวัติ อาการและการตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.1 การตรวจปัสสาวะ : พบเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว Casts และอัลบูมิน ไม่พบแบคทีเรีย หรือเพาะเชื้อไม่ขึ้น
2.2 การตรวจเลือด : ระดับ Na + , K + , Cl - , ปกติหรือสูงในรายที่มีการรุนแรง ระดับ BUN Cr และกรดยูริคสูง, ASO อาจสูงถึง 200 Todd units หรือมากกว่านั้น ESR สูง จำนวนเม็ดเลือดขาวปกติ ค่าความถ่วงจำเพาะสูง C – reactive protein (CRP) สูง
2.3 การตรวจอื่น ๆ : การเพาะเชื้อจาก Pharynx พบ Streptococcus ในบางราย Renal biopsy, EKG และการตรวจ ทางเอกซเรย์เพื่อดูภาวะแทรกซ้อน
ข้อวินิจจัยการพยาบาล
มีภาวะน้ําเกินเนื่องจากหน้าที่ในการขับน้ําออกทางไตลดลง
สังเกตและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และฟังเสียงปอด
สังเกตและบันทึกตําแหน่ง และความรุนแรงของอาการบวม
สังเกตและบันทึกปริมาณน้ําที่ร่างกายได้รบและปัสสาวะทุก 8 ชั่วโมง
ดูแลให้ยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน
จัดให้น้ําให้ผู้ป่วยดื่มในปริมาณที่สมดุลกับปริมาณของน้ําที่สูญเสียหรือตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่อภาวะชักจากความดันโลหิตสูง
จัดให้ผู้ป่วย
Absolute bed rest
บันทึกความดันโลหิตทุก 1⁄2 -1 ชั่วโมง
3.ดูแลห้ยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา
4.สังเกตอาการปวดศีรษะ ตามัว และคลื่นไส้ อาเจียน ไม่รู้สึกตัว ซึ่งเป็นอาการนําก่อนการชัก
5.บันทึกสารน้ําเข้า-ออก จากร่างกายทุก 8 ชั่วโมง
สาเหตุ
การอักเสบของไตไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อโดยตรง แต่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้ออื่นๆ ของ ร่างกายที่พบบ่อยคือPharyngitis จาก Streptococcus gr. A. (Post-streptococcal glomerulonephritis) หรือการติดเชื้อจากผิวหนัง และการติดเชื้ออื่นๆในเด็กจะพบได้บ่อยคือ Acute post-streptococoal glomerulonephritis
นางสาวสุภาวรรณ อะโนทัย เลขที่ 91