Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดเชิงคำนวณ - Coggle Diagram
แนวคิดเชิงคำนวณ
การออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm)
เป็นการพัฒนากระบวนการหาคำตอบให้เป็นขั้นตอนที่บุคคลหรือคอมพิวเตอร์สามารถนำไปปฏิบัติตามเพื่อแก้ปัญหาได้ อีกทั้ง เป็นการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อดำเนินตามทีละขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา
คุณสมบัติของอัลกอริทึม
มีความถูกต้อง (correctness)
ใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด (efficiency)
ต้องมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ในการประมวลผลชุดคำสั่งต่าง ๆ
ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำน้อยที่สุด
มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยที่สุด
ง่ายต่อการทำความเข้าใจ (readability)
เครื่องมือช่วยในการเขียนอัลกอริทึม
บรรยาย (narrative description)
ผังงาน (flowchart)
รหัสเทียม (pseudo code)
การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)
เป็นการแยกรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็นต่อการแก้ปัญหาออกจากรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ซึ่งรวมไปถึงการแทนกลุ่มของปัญหา ขั้นตอน หรือกระบวนการที่มีรายละเอียดปลีกย่อยหลายขั้นตอนด้วยขั้นตอนใหม่เพียงขั้นตอนเดียว
ตัวอย่าง
การคิดเชิงนามธรรมที่เกี่ยวข้อกับรูปทรง
การคิดเชิงนามธรรมที่เกี่ยวข้อกับตัวอักษร
การคิดเชิงนามธรรมจากเกมเลขฐานสอง
การคัดแยกรายละเอียดปลีกย่อย
การอธิบายปัญหาโดยใช้รายละเอียด และแบบซ่อนรายละเอียด
การอธิบายปัญหา
ใช้รายละเอียด
ซ่อนรายละเอียด
การเขียนรหัสลำลองและการเขียนผังงาน
รหัสลำลอง (Pseudo code)
เป็นคำบรรยายที่เขียนแสดงขั้นตอนวิธี (algorithm) ของการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัด สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโปรแกรม ไม่สามารถนำไปทำงานบนคอมพิวเตอร์โดยตรงเพราะไม่ใช่คำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์ และไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง
หลักเกณฑ์การเขียนรหัสลำลอง
ถ้อยคำหรือประโยคคำสั่ง (statement) ให้เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
ควรใช้ย่อหน้าให้เป็นประโยชน์เพื่อแยกคำเฉพาะ (Keywords) ได้อย่างชัดเจน รวมถึงจัดโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน
แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงล่างโดยมีเพียงทางเข้าทางเดียวและมีทางออกทางเดียวเท่านั้น
กลุ่มของประโยคคำสั่งต่าง ๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของโมดูล แต่ต้องกำหนดชื่อโมดูลเหล่านั้นด้วย
ประโยชน์ของการเขียนรหัสลำลอง
เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละโปรแกรม
เป็นต้นแบบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ
เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในรหัสลำลอ
การเขียนผังงาน
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความหรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือ ข้อความ ทำได้ยากกว่าเมื่อใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์
ประเภทของผังงาน
ผังงานระบบ (System Flowchart)
ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
ประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI
โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (Sequence structure)
โครงสร้างแบบมีการเลือก (Selection structure)
โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration structure)
การแก้ปัญหา
หลักการและความหมายการแก้ปัญหา
หมายถึงกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematically) อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiently) โดยศึกษาถึงสาเหตุที่มาของปัญหา และคิดค้นหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดเพื่อตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุด
ขั้นตอนการแก้ปัญหา
การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
1.1 การระบุข้อมูลออก (Output Specification)
1.2 การระบุข้อมูลเข้า (Input Specification)
1.3 กำหนดวิธีการประมวลผล (Process Specification)
การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
การดำเนินการแก้ปัญหา
การตรวจสอบและปรับปรุง
การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition)
เป็นการแยกส่วนประกอบเป็นวิธีคิดรูปแบบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวณ เป็นการพิจารณาเพื่อ แบ่งปัญหาหรืองานออกเป็นส่วนย่อย ทำให้สามารถ จัดการกับปัญหาหรืองานได้ง่ายขึ้น
การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition)
เป็นการหารูปแบบซึ่งเป็นทักษะการหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง แนวโน้ม และลักษณะ ทั่วไปของสิ่งต่าง ๆ