Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีการสูงอายุ (Theories of aging) - Coggle Diagram
หน่วยที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีการสูงอายุ (Theories of aging)
ความหมาย ความสูงอายุ (meaning of aging)
เป็นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่สิ่งมีชีวิตยังอยู่ในครรภ์ของมารดาจนกระทั่งถึงแก่ชีวิต
มนุษย์และสัตว์ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆตามกาลเวลา แม้ไม่ได้เป็นผลที่เกิดจากโรคหรือการบาดเจ็บสามารถทำให้เสียชีวิตได้
เป็นความเสื่อม (detrimental)ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายใน (intrinsic) ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง (progressive)
ทฤษฎีการสูงอายุ
คือระยะแรกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 40 ปี ลักษณะเป็นไปในทางเจริญงอกงาม
ระยะที่ 2 (หลังอายุ 40 ปีขึ้นไป) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เสื่อมโทรม
ทฤษฎีทางชีววิทยา (Biological Theory)
ทฤษฎีด้านพันธุกรรม (Genetic Theory)
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution theory)
การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าเพื่อความอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทฤษฎีนาฬิกาชีวิต (Biological clock)
ทฤษฎีนี้เชื่อว่านาฬิกาชีวิตจะอยู่ใน
นิวเคลียสและโปรโตปลาสซึมของ cell ในร่างกายเช่น แมลงหวี่มีอายุขัยเฉลี่ย 1 วัน หนู 2-3 ปี มนุษย์ 120 ปี
ทฤษฎีการกลายพันธ์
(Somatic Mutation Theory)
เกิดจากการได้รับรังสี รังสีทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ
DNAเกิดการผันแปรของเซลล์หรืออวัยวะเกิดการแบ่งตัวผิดปกติ เกิดมีโรคภัยไข้เจ็บหรือเกิดมะเร็ง
ทฤษฎีการสะสมความผิดพลาดของ Cell (Error Theory)
ความแก่เกิดจากนิวเคลียสของ Cell มีการถ่ายทอด DNA ที่ผิดปกติไปจากเดิม
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมในเซลล์ (cellualar genetic theory)
ถ้าโมเลกุล DNA ถูกทำลายไปจะทำให้สารประกอบต่างๆอยู่ผิดตำแหน่ง เอ็นไซม์ที่สร้าง หน้าที่ของเซลล์จะเสียไป
ทฤษฎีอวัยวะ (Organ Theory)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and Tear Theory)
มนุษย์สามารถซ่อมแซมตนเองได้โดยกระบวนการสร้างใหม่เพื่อทดแทน เซลล์ที่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ เช่น เซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อลาย จะเสื่อมโทรมและตายในที่สุด
ทฤษฎีระบบประสาท และต่อมไร้ท่อ (Neuroendocrine
Theory )
เมื่อเข้าสู่วัยชราการทำงานของระบบประสาทจะลดลง
ความจำจะเสื่อมลง ต่อมไร้ท่อทำงานลดลง เช่น Insulin
ทฤษฎีภูมิคุ้มกัน (Immunological Theory)
เมื่ออายุมากขึ้นการสร้างสารภูมิคุ้มกันตามปกติจะลดลง
สร้างภูมิคุ้มกันชนิดทำลายตนเองมากขึ้น ทำให้ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วย ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยคือ มะเร็ง , DM, HT
ทฤษฎีทางสรีรวิทยา (Physiological Theory)
ทฤษฎีความเครียดและการปรับตัว (Stress Adaptation
Theory)
บุคคลเมื่อเผชิญกับความเครียดบ่อยๆ จะทำให้เข้าสู่
วัยชราได้เร็วขึ้น
ทฤษฎีสะสมของเสีย (Waste Product Accumulation)
ความสูงอายุเป็นผลมาจากการสะสมสารที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่เรียกว่า Lipofuscin หรือ รงควัตถุไขมันรงควัตถุชรา
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free Radical Theory)
ร่างกายคนเราถูกรุกเร้าโดยอนุมูลอิสระทั้งภายในภายนอก การลดอัตราการเกิดอนุมูลอิสระทำได้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้ดี ลดมลภาวะของอากาศ
ทฤษฎีการเชื่อมไขว้ (Cross link Theory on cross link of collagen T.)
เมื่อชราสาร Fibrous Protein จะเพิ่มขึ้นทำให้ collagen Fiber หดตัวขาดความยืดหยุ่นและจับกันไม่เป็นระเบียบมีผลให้ cell ตายและเสียหน้าที่
ทฤษฎีทางจิตวิทยา (Psychological Theory)
การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และพฤติกรรมของผู้สูงอายุนั้นเป็นการปรับตัวเกี่ยวกับความนึกคิด ความรู้ ความเข้าใจ แรงจูงใจ
ทฤษฎีของอิริคสัน (Erikson's Epigenetic Theory)
ช่วงอายุระหว่าง 40 - 59 ปี เป็นช่วงวัยที่มีความทะเยอทะยาน มีความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ถ้าประสบความสำเร็จดีพอใจในความมั่นคงภาคภูมิใจและสืบทอดไปยังรุ่นลูกหลาน แต่ถ้าไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตช่วงนี้ก็จะกลายเป็นคนที่มีชีวิตเงื่องหงอย เบื่อ
ทฤษฎีบุคลิกภาพ (Personality Theory)
ผู้สูงอายุจะมีความสุขหรือ ความทุกข์นั้นขึ้นอยู่กับภูมิหลังและการพัฒนาจิตใจของบุคคลนั้น
ทฤษฎีของเพค (Peck’s Theory
Ego differentiation and work-role preoccupation งานที่ทำอยู่ โดยจะรู้สึกว่าตนยังมีคุณค่าอยู่ต่อเมื่อบทบาทลดลงหรือเปลี่ยนไปจึงพอใจที่จะหาสิ่งอื่นๆ มาทำทดแทน
Body transcendence and body preoccupation
ยอมรับว่าสภาพร่างกายของตนถดถอยลง
Ego transcendence and Ego preoccupation ยอมรับความตายได้โดยไม่รู้สึกหวาดวิตก
ทฤษฎีทางสังคมวิทยา (Sociological Theory)
ทฤษฎีกิจกรรม ( Activity Theory )
ผู้สูงอายุมีความต้องการที่จะเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อความสุขและการมีชีวิตที่ดี เช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้
ผู้สูงอายุต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมไป และพยายามที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ทฤษฎีแยกตนเองหรือทฤษฎีการถอยห่าง (Disengagement Theory)
ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการถอยห่างออกจากสังคม
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
บุคลิกภาพและแบบแผนชีวิตของแต่ละช่วงวัยที่ผ่านมาและมีปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามาร่วมอธิบายได้แก่ แรงจูงใจ สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจและสังคม บุคลิกภาพ ความยืดหยุ่น
ทฤษฎีบทบาท (Role Theory)
เมื่อบุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุจะปรับบทบาทและสภาพต่างๆ หลายอย่างที่ไม่ใช่บทบาทเดิมของตนมาก่อน