Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพชุมชน "อุบัติเหตุ" - Coggle Diagram
ปัญหาสุขภาพชุมชน "อุบัติเหตุ"
อุบัติเหตุทางถนน
อุบัติการณ์
อุบัติเหตุบนท้องถนน ส่งผลให้สัดส่วนการเสียชีวิตต่อประชากรสูงขึ้น
ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนสูงเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มศอาเซียน ด้วยสัดส่วน 32.7% ขณะที่สัดส่วนของอาเซียนอยู่ที่ 20.2% และโลก 18% และแนวโน้มผู้เสียชีวิตปี 2570
กรณีที่ไม่ดำเนินการใดๆ จะมี 17,003 คน ลดลง 4.64% หรือราว
828 คนจาก 17,831 คนในปี 2563 แต่หากมีมาตรการลดการเสียชีวิตในรถจักรยานยนต์ จะทำให้จำนวนเสียชีวิตในปี 2570 เหลือ 10,520 คน ลดลง 41% หรือราว 7,311 ล้านคน จาก 17,831 คนในปี 2563
สาเหตุ
สภาพแวดล้อม
ทางและเครื่องหมายสัญลักษณ์ เช่น
บริเวณทางแยก, ทางโค้ง, เครื่องหมายสัญญาณชำรุด
แสงสว่างไม่เพียงพอ การจราจรติดขัด
หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตกหนัก
ผู้ขับขี่
การขาดประสบการณ์ขงผู้ขับขี่ : ขากการฝึกฝนอบรม การไม่
คุ้นเคยกับยานพาหนะ การขาดประสบการณืในสภาวะที่ไม่คุ้นเคย
การไม่ปฏิบัติตามกฏจราจร : การขาดความรับผิดชอบ ความไม่มีระเบียบวินัย เช่น การขับย้อนศร การนั่งซ้อนเดินกำหนด เป็นต้น
เพศ : โดยทั่วไปเพศชายจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากกว่าผู้หญิง
เนื่องจากชอบเสี่ยงภัย ชอบความตื่นเต้น ขับรถเร็ว
สภาวะเจ็บป่วยของร่างกาย : เช่น สายตาเอียง ตาบอดสี หูตึง มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
สภาพถนน
ถนนไม่มีไหล่ทาง
ความกว้างของถนนแคบ ทำให้รถเฉี่ยวชนได้ง่าย
แนวทางแก้ไข
ผู้ขับขี่
ควรมีการฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัย มีใบขับขี่
ควรรณรงค์ลดการดื่มแอลกอฮอลล์ขณะขับขี่
สวมหมวกกันน็อคหรือขาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง
ยานพาหนะ
ตรวจสภาพรถก่อนออกเดินทาง
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้านพาหนะ
สภาพแวดล้อม
จัดให้มีช่องทางการวิ่งของรถจักรยานยนต์ออก
มาจากพื้นผิวถนนร่วมอย่างชัดเจน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
ตรวจสอบเครื่องหมายัญลักษณ์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
ติดตั้งไฟเพื่อให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ
และสัญญาณไฟกระพริบบริเวณทางเบี่ยง
อุบัติเหตุจากไฟฟ้า
สาเหตุ
ขาดความระมัดระวัง ไม่เห็นถึงอันตรายของไฟฟ้า ประมาท
ไม่มีการปรับปรุงดูแลระบบไฟฟ้า เป็นผลให้แปลนวงจรไฟฟ้าอาจชำรุดเสียหาย
ขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้า
ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
แนวทางแก้ไข
.ติดป้ายเตือนที่เห็นเด่นชัดในจุดเสี่ยงสำคัญของระบบไฟฟ้า
จัดให้มีการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าทุกเดือน
สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
เมื่อพบเจอปัญหา ต้องแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบ
พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขทันที
ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน
อุบัติการณ์
จากการเฝ้าระวังและวิเคราะห์สถานการณ์อันตรายจากกระแสไฟฟ้าในไทย ช่วงปี 2545-2549 โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบทั่วประเทศมีแนวโน้มการบาดเจ็บสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 9,128 รายในปี 2545 เป็น 12,692 ราย ในปี 2549 พบตลอดทั้งปี เฉลี่ยปีละ 11,060 ราย ซึ่งประมาณร้อยละ 5 บาดเจ็บรุนแรง และจำนวนการเสียชีวิตเพิ่มจาก 493 ราย เป็น 673 ราย ในช่วงเดียวกัน เฉลี่ยปีละ 548 ราย สำหรับสถานที่เกิดเหตุเกือบครึ่งเกิดขึ้นที่บ้านหรือในบริเวณบ้าน รองลงมาคือสถานที่ก่อสร้าง โรงงาน ร้อยละ 22 ตามถนนทางหลวง ร้อยละ 8 ในไร่นา ร้อยละ 6 สถานที่ขายสินค้า ร้อยละ 5
ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ส่วนใหญ่ ร้อยละ 81 เป็นชายมากกว่าผู้หญิง 4-5 เท่าตัว โดยร้อยละ 42 มีอายุระหว่าง 15-29 ปี และพบเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ถูกไฟฟ้าช็อตปีละ 6-10 ราย เสียชีวิตปีละ 1 ราย
อุบัติเหตุในเด็ก
อุบัติการณ์
กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 2-8 ส.ค. 2563 จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ข้อมูลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2553-2562) พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 8,394 ราย เฉลี่ยปีละ 839 ราย หรือวันละ 2 ราย จากการเฝ้าระวังเหตุการณ์ในปี 2563 ถึงปัจจุบัน ได้รับรายงานเหตุการณ์จมน้ำเสียชีวิต 34 เหตุการณ์ จาก 20 จังหวัด มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.4
สาเหตุ
ด้านบุคคล
ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง
เด็กโตและวัยรุ่น มักเกิดจากการเล่นในน้ำหรือว่ายน้ำ การที่เด็กว่าน้ำไม่เป็นไม่ได้เป็นข้อรับรองความปลอดภัยเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อเป็นแหล่งน้ำที่ไม่คุ้นเคย หรือมีการดื่มสุราร่วมด้วย
เด็กเล็ก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากระดับพัฒนาการของเด็กเอง เช่น เป็นวัยที่ชอบสำรวจ วิ่งเล่น แต่ความสามารถในการทรงตัวยังไม่ค่อยดี พลัดตกหกล้มได้ง่าย
ด้านสิ่งแวดล้อม
ขาดการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยง โดยไม่มีรั้วกั้นอย่างถูกต้อง ผู้ดูแลไม่ตระหนักถึงความเสี่ยง หรือผู้ดูแลเด็กหลายคนในเวลาเดียวกัน
แนวทางการแก้ไข
เด็กเล็ก
ไม่ปล่อยให้อยู่ใกล้แหล่งน้ำโดยลำพัง จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
เน้นย้ำให้ผู้ดูแลเข้าใจพัฒนาการของเด็กตามวัย เด็กเล็กที่สามารถเคลื่อนที่ได้ตั้งแต่วัยเริ่มคลานก็สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำในบ้านได้
เด็กโตและวัยรุ่น
สอนให้รับรู้ความเสี่ยง เช่นไม่กระโดดลงน้ำหากไม่แน่ใจในความลึกของน้ำ เลิกเล่นน้ำหากเป็นตะคริว
สอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น หรือใช้ชูชีพ ในกรณีว่ายน้ำไม่เป็น
อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ
การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
อุบัติการณ์
ประเทศไทยมีการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ มีผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มสูงถึง ๒,๐๐๗ คน หรือเฉลี่ยวันละ ๖ คน โดยเกือบครึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ และพบในเพศชายสูงกว่าเพศหญิง ๓ เท่า เมื่อพิจารณาตามภูมิภาค พบว่า จังหวัดในภาคเหนือมีอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสูงเป็นลำดับต้น ๆ
สาเหตุ
การพลักตกหกล้มส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพื้นลื่น / เปียก พื้นต่างระดับ สะดุดสิ่งกีดขวาง เสียการทรงตัว หน้ามืดวิงเวียน แสงสว่างไม่เพียงพอ ไม่มีราวจับบริเวณบ้าน บันได และห้องน้ำ เป็นต้น
ปัจจัย
ปัจจัยเสี่ยงด้านร่างกายและความสามารถที่ลดลง
เช่น การมองเห็น การเดิน การทรงตัว
ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นและบันไดลื่น
พื้นต่างระดับ ไม่เรียบ แสงสว่างไม่เพียงพอ
ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น
รายได้และระดับการศึกษา สัมพันธภาพในสังคม
แนวทางแก้ไข
ตัวผู้สูงอายุ
ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหลล้มและรู้สถานะความเสี่ยงสุขภาพของตนเอง
ฝึกการเดินและออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
กรณีที่มีความบกพร่องในการเดิน หรือการทรงตัว ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น โครงเหล็กช่วยเดิน ไม้เท้า เป็นต้น
ด้านสิ่งแวดล้อม
มีแสงสว่างเพียงพอ ทั้งในบ้านและบริเวณบ้าน
โดยเฉพาะบริเวณทางเดิน บันไดและห้องน้ำ
พื้นและทางเดินเรียบเสมอกัน ไม่ลื่น ไม่เปียก
ไม่มีสิ่งกีดขวาง หลีกเลี่ยงการยกระดับสูงต่ำไม่เท่ากัน
ควรอาศัยอยู่ในบ้านชั้นเดียว กรณีบ้าน ๒ ชั้นบันไดมีราวจับ ๒ ข้าง
จัดทำโดย : นางสาวปุณฑริกา สิทธิ
รหัสนักศึกษา 61102301085 กลุ่ม A4