Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์การขาย กลุ่มศิวาพร - Coggle Diagram
วิเคราะห์การขาย กลุ่มศิวาพร
วิเคราะห์กิจการ
ประเภทของกิจการ
กิจการเจ้าของคนเดียว
คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ หรือลงทุนคนเดียว ควบคุมดำเนินการเองทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว แต่หากขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบเพียงคนเดียว เช่นร้านเสริมสวย
กิจการห้างหุ้นส่วน
กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นเจ้าของ โดยตกลงร่วมทุนกัน ซึ่งจะลงทุนเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่นหรือแรงงานก็ได้ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะตกลงทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สัญญานี้อาจทำด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ แบ่งได้ 2 ประเภท
ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา
ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก คือหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด
ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นหุ้น
ส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
บริษัทจำกัด
กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จัดตั้งด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือหุ้นและผู้ถือหุ้น
มูลค่าหุ้นหนึ่งของบริษัทจำกัดมิให้ต่ำกว่า 5บาท ซึ่งหุ้นบริษัทจะแบ่งแยกกันไม่ได้ ในกรณีที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปถือหุ้นเดียวร่วมกัน ให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นให้บริษัททำใบหุ้นซึ่งใบสำคัญหุ้นใบหนึ่งหรือหลายใบมอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ในใบหุ้นทุกใบให้กรรมการลงลายมือชื่อ 1 คนเป็นอย่างน้อยและประทับตราบริษัท
บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และได้ระบุความประสงค์ไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ เช่น
องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ
บุคคลหรือแรงงาน (Man) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นกำลังทางความคิด ความรู้และปัญญาให้กับองค์กร
เงินทุน (Money) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญนับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ เพราะต้องใช้ในการลงทุน และแลกเปลี่ยนซื้อขาย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
อุปกรณ์และวัตถุดิบ (Material) เป็นองค์ประกอบที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องใส่ใจคุณภาพและต้นทุน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การจัดการดำเนินงานธุรกิจ (Management) เป็นกระบวนการที่ต้องพิจารณาวางแผนอย่างรอบคอบมีการวางเป้าหมาย จัดรูปแบบการบริหารและกระบวนการจัดการให้เหมาะสมกับธุรกิจ เพราะจะส่งผลต่อความมั่นคงและการขยายตัวของธุรกิจในระยะยาว
ความหมายของกิจการ
หมายถึง องค์การหรือกิจการที่ก่อให้เกิดสินค้า และบริการ ธุรกิจเป็นกระบวนการทั้งหมดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพตามกรรมวิธีการผลิตด้วยแรงคน และเครื่องจักรให้เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ
วิเคราะห์คู่เเข่งขัน
วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ของคู่แข่งขัน
ให้เน้นย้ำไปที่คู่แข่งทางตรงก่อน เพราะถือเป็นสิ่งที่ธุรกิจจะต้องพบเจอบ่อยที่สุด แล้วจัดการวิเคราะห์ข้อมูลของคู่แข่งเจ้าหลัก ๆ ออกมาให้มากที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลเหล่านี้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ เช่น โปรโมชั่น, การขายราคาส่ง, ขายแบบยกแพ็ค, ใช้ช่องทาง Omni Marketing ฯลฯ
กลุ่มลูกค้าที่คู่แข่งขันพุ่งเป้าเป็นกลุ่มหลัก อายุ, เพศ, ความสามารถในการตัดสินใจซื้อ, รายได้, ที่อยู่อาศัย ฯลฯ
วิธีโฆษณา / ประชาสัมพันธ์ เช่น การโฆษณาด้วย Google Ads, Banner, การทำ SEO, การตั้งบูธสินค้าในงานแสดงสินค้า, การใช้ Influencer ฯลฯ
จุดแข็ง / จุดอ่อนของคู่แข่ง เช่น กำลังการผลิต, ต้นทุนวัตถุดิบ, วิธีขนส่ง ฯลฯ
อุปสรรคที่ธุรกิจเหล่านั้นเคยพบเจอและวิธีแก้ปัญหา
ภาพลักษณ์ภายนอกที่ลูกค้ามองเข้าไป
วิเคราะห์ธุรกิจตนเอง
การวิเคราะห์ธุรกิจตนเองเพื่อการมองเห็นอย่างชัดเจนว่า มีตรงไหนที่เราเหนือกว่า และส่วนไหนที่ยังด้อยคุณภาพ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วิธีวิเคราะห์ธุรกิจแบบง่ายที่สุดคือการเลือกใช้ SWOT Analysis ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
S = Strength จุดแข็ง คือ จุดเด่นของธุรกิจตนเองที่มีเหนือกว่าคู่แข่ง เช่น มีต้นทุนการผลิตถูกกว่า, คุณภาพสินค้าดีกว่า เป็นต้น
W = Worth จุดอ่อน คือ จุดด้อยที่ธุรกิจยังสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ แต่สามารถพัฒนาด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอปัจจัยภายนอกอื่น ๆปัจจัยที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้
O = Opportunities โอกาส คือ ปัจจัยภายนอกที่จะสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจ เช่น นโยบายของรัฐบาล, สภาพอากาศ, เทรนด์แฟชั่น ฯลฯ
T = Threat อุปสรรค คือ ปัจจัยภายนอกที่มักทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาและไม่สามารถควบคุมหรือหยุดสิ่งดังกล่าวได้ด้วยตนเอง เช่น โรคระบาด, กระแสข่าว ฯลฯ
จัดประเภทของคู่แข่ง
ประเภทคู่แข่งทางตรง หรือ Direct Competitor
คือ คู่แข่งที่มีตำแหน่งการตลาดใกล้เคียงกันหรืออยู่ในกลุ่มเดียวกับธุรกิจเลย เช่น ประเภทสินค้า, ราคา, ช่องทางการจัดจำหน่าย
ประเภทคู่แข่งทางอ้อม หรือ Indirect Competitor
คือ คู่แข่งที่วางตำแหน่งการตลาดคนละกลุ่มกับธุรกิจ อาทิ ราคาสูง-ต่ำกว่า, ใช้ช่องทางการขายคนละแบบ แต่อาจมีบางอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับธุรกิจ เช่น ประเภทสินค้า
รู้จักคู่แข่งทุกเจ้าในตลาดธุรกิจ
ต้องรู้จักกับคู่แข่งทุก ๆ เจ้าที่อยู่ในวงการธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเจ้าเล็ก เจ้าใหญ่ รวบรวมมาให้หมด
สร้างจุดเด่นของธุรกิจที่แตกต่างจากคู่แข่ง
Winning Zone ความแตกต่างที่โดดเด่นที่มั่นใจว่าเหนือกว่าคู่แข่งชัดเจน
Losing Zone ยังเป็นจุดที่คู่แข่งเหนือกว่าและต้องพยายามหาวิธีเอาชนะให้ได้
Risky จุดที่มีความสูสีกันระหว่างธุรกิจและคู่แข่ง เช่น นวัตกรรมที่ใช้, ภาพลักษณ์, ต้นทุนที่มี
วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ประวัติของผลิตภัณฑ์
ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
กรรมวิธีการผลิตหรือกระบวนการผลิต
คุณภาพของผลิตภัณฑ์
รูปร่างของผลิตภัณฑ์
วิธีการใช้และการระวังรักษา
บริการที่ลูกค้าจะได้รับ
ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
เช่น
ประเภทของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค
ผลิตภัณฑ์สะดวกซื้อ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการซื้อบ่อยครั้ง เช่น ผงซักฟอก
ผลิตภัณฑ์เลือกซื้อ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องมีการเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น เสื้อผ้า
ผลิตภัณฑ์เจาะจงซื้อ หมายถึง สินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เน้นชื่อเสียงตรายี่ห้อ เช่น เครื่องประดับ
ผลิตภัณฑ์ไม่แสวงซื้อ หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคอาจจะรู้หรือไม่รู้จักก็ได้ เช่น ประกันภัย ประกันชีวิต
ผลิตภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรม
สิ่งติดตั้ง หมายถึง สินค้าประเภททุน มีความสำคัญในกระบวนการผลิต
อุปกรณ์ประกอบ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบการดำเนินการผลิต
วัสดุสิ้เปลือง หมายถึง สินค้าที่ใช้ในการดำเนินงานซึ่งมีอายุการใช้งานสั้น
บริการ หมายถึง ธุรกิจที่สร้างความสะดวกสบาย ไม่มีตัวตน ไม่สามารถจับต้องได้
วัสดุและชิ้นส่วน หมายถึง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
วัตถุดิบ หมายถึง สินค้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการทำเกษตรกรรม
ผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาด
สิ่งที่เป็นรูปธรรม คือ สิ่งที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ เช่น เครื่องจักรกล
สิ่งที่เป็นนามธรรม คือ สิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้ เช่น การให้บริการ เทคโนโลยีทางด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ ออกแบบโลโก้
วิเคราะห์ลูกค้า
ลูกค้าต้องการซื้ออะไร
สินค้าลดราคา
ของกิน
ของใช้
ของคุณภาพดี
ทำไมลูกค้าถึงซื้อ
ราคาถูก
น่าเชื่อถือ
คุณภาพดี
ความต้องการ
ลูกค้าเป็นใครหรือใครคือลูกค้า
กลุ่มเป้าหมายที่เราบริการ
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการนำเสนอขายสินค้า
ลูกค้าซื้ออย่างไร
ออนไลน์
ร้านค้าโดยตรง
มีคนแนะนำ
ลูกค้าซื้อสินค้าเมื่อไร
ตามโอกาสที่จะใช้หรือซื้อ
ขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า
เมื่อที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ
ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ
โฆษณา
ลูกค้า
เจ้าของกิจการ
พนักงานขาย
คนรอบข้าง
ลูกค้าซื้อที่ไหน
ร้านค้าใกล้บ้าน
ร้านค้าชั้นนำทั่วไป
ออนไลน์
ห้างสรรพสินค้า