Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่7 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนทางอายุร…
บทที่7
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม🤰🏻🤱🏻
7.5.5 ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO (ABO Incompatibility)
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ส่วนใหญ่จะพบในทารกหมู่เลือด A หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O แนวโน้มทารกที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในคนผิวดํา (Black) เนื่องจาก anti-A และ anti-B จะมี ความแรงมากกว่าคนเอเชีย (Asian) และคนผิวขาว (Caucasian)
เป็นหนึ่งสาเหตุของ hemolytic disease ของทารก แรกเกิด คือเกิดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หมู่เลือด ABO ของมารดาและ ทารกเข้ากันไม่ได้ ที่พบบ่อยที่สุดคือมารดามีหมู่เลือด O และลูกมีหมู่เลือด A, B หรือ AB ทําให้เกิด ความเข้ากันไม่ได้ของหมู่เลือด (incompatibility) เป็นภาวะที่มักจะเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ใดก็ได้ อาการของโรคจะไม่เพิ่มความรุนแรงในครรภ์หลังๆ ไม่จําเป็นหรือไม่ต้องให้การรักษาทารกขณะอยู่ ในครรภ์ ทารกแรกเกิดมักมีอาการของโรคอยู่ในระดับปานกลางไม่มีอาการรุนแรง
พยาธิสรีรภาพ
มารดาหมู่เลือด O มักจะมี anti-A และ anti-B ชนิด IgG บ่อยกว่ามารดาหมู่ เลือด A หรือ B อย่างไรก็ตาม มีรายงาน anti-B ในมารดาที่มี หมู่เลือด A หรือ subgroup A2 เป็นสาเหตุให้ทารกหมู่ เลือด B เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ ทารกหมู่เลือด A1 B มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกอย่างรุนแรง หลังคลอดจากมารดาหมู่เลือด B โดยทั่วไป anti-A มักจะเป็นสาเหตุของภาวะเม็ดเลือดแดงแตกใน ทารกแรกเกิดได้บ่อยกว่า anti-B1 ชนิดของ IgG นั้นมีความสําคัญต่อการเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ในทารก เฉพาะ IgG1 และ IgG3 เท่านั้นที่สามารถจับกับ Fc-receptor ของเซลล์ฟาโกไซต์แล้ว กระตุ้นการทําลายเม็ดเลือดแดงได้
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่พบเพียงอาการตัวเหลืองเท่านั้น และมักจะมีอาการ เหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ไม่ค่อยพบอาการซีดเนื่องจากการสร้างแอนติเจนในหมู่เลือด ระบบ ABO ของทารกนั้นจะยังไม่ดีเท่าในวัยผู้ใหญ่ อีกทั้งแอนติบอดีในมารดาจะถูกลบล้าง (neutralized) ด้วยแอนติเจนA หรือ B ของทารกทั้งที่อยู่ในรูป soluble antigen และที่อยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของทารก
การพยาบาล
ประเมินความเสี่ยงของคู่มารดาและทารกจากการซักประวัติ ประวัติการตั้งครรภ์และคลอดที่ผ่านมา เพื่อค้นหาความเสี่ยงของทารกแรกเกิด
อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสรีรภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และการ ตั้งครรภ์ครั้งต่อไป รวมถึงการรักษาและพยาบาล แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว เพื่อให้เกิดความ เข้าใจ คลายความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
ติดตามภาวะ jaundice ด้วยการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในทารก แรกเกิดที่มีความเสี่ยงต่อ hemolytic disease เพื่อเฝ้าระวังและรายงานแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด หากตรวจพบภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อเฝ้า ระวังและประเมินภาวะ pathologic jaundice รายงานแพทย์ เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันที
7.5.6 ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ Rh (Rh Incompatibility)
เป็นหมู่เลือดที่มีความสําคัญเช่นกัน ถูกกําหนดโดยสารแอนติเจนที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงคือ สาร ดี (D antigen) โดยคนที่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชบวก (Rh positive) ส่วนคนที่ไม่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชลบ (Rh negative) ซึ่ง พบได้น้อยในคนไทยภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารกที่มีสาเหตุจาก anti-D ทารกมักมีอาการรุนแรง กว่าภาวะเม็ดเลือดแดง แตกจากหมู่เลือดระบบอื่น ๆ อุบัติการณ์ของการสร้าง anti-D ในมารดา ที่มี หมู่เลือด Rh(D) 1.3 รายต่อทารก 1,000 ราย และอัตราตายของทารกจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ร้อยละ 5-9 ของทารกที่ตายคลอดทั้งหมด
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การไม่เข้ากันของกลุ่มเลือด Rh ของมารดาและทารกในครรภ์ Rh เป็น Antigen ตัวหนึ่งที่มีเม็ด เลือดแดง พบในคนผิวขาวร้อยละ 85 และร้อยละ 95 พบในคนผิวดํา อินเดียนแดง และภาค ตะวันออกของอเมริกา มี Rh positive นอกนั้นจะมี Rh negative
พยาธิสรีรภาพ
Rh Isoimmunization จะเกิดขึ้นเมื่อแม่มี Rh negative และทารกมี Rh positive โดยในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดา ทําให้เกิดการสร้าง antibodies ในแม่ซึ่ง antibodies นี้จะไหลเวียนกลับเข้าสู่ทารกในครรภ์ และ antibodies เหล่านี้จะไปจับและทําลายเม็ดเลือดแดงของทารก ทําให้ทารกมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งอาจมี อาการเพียงเล็กน้อย หรือถ้ามีอาการรุนแรงอาจทําให้เกิด Hydrops fetalis ทารกจะมีภาวะบวมน้ํา และมีการไหลเวียนล้มเหลว (circulatory collapse) จากการที่มีการทําลายเม็ดเลือดแดงอย่างมาก ทําให้ระดับของ bilirubin สูงขึ้นอาจถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
อาการและอาการแสดง
หากทารกมี hemolysis ที่รุนแรงขณะอยู่ในครรภ์ทารกจะซีดมาก อาจเกิดหัวใจวายตัวบวมนํ้าที่ เรียกว่า hydrops fetalis และอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่ค่อยพบผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
มักพบผลกระทบต่อทารกในการตั้งครรภ์ที่ 2 ทําให้ทารกเกิดภาวะ neonatal anemia, hydrops fetalis, ตับและม้ามโต, hyperbilirubinemia, kernicterus, dead fetus in uterus, still birth
แนวทางการรักษาและการพยาบาล
ป้องกันการเกิด Isoimmunization (Rh Isoimmunization) จะเกิดขึ้นเมื่อหญิงตั้งครรภ์มี Rh negative และทารกมี Rh positive โดยในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะ ผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดาทําให้เกิดการสร้าง antibodies ซึ่งantibodies นี้จะ ไหลเวียนกลับเข้าสู่ทารกในครรภ์ และ antibodies เหล่านี้จะไปจับและทําลายเม็ดเลือดแดงของทารก
เฝ้าระวังและตรวจหา antibodies ในหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยให้การดูแล
2.1 การเจาะเลือดครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ เพื่อตรวจหาหมู่เลือด Rh typing ทุกรายหากหญิง ตั้งครรภ์มี Rh negative ควรตรวจ Indirect Coomb’s test เพื่อหา antibodies ในมารดาการ ตรวจหา antibodies screening (การคัดกรอง) อีกทั้งการให้ RhoGAM จะให้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มี Rh negative ที่มีความเสี่ยง
2.2 ควรตรวจ Indirect Coomb’s test อีกครั้ง เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ หากไม่พบว่ามี antibodies ควรให้ RhoGAMเพื่อป้องกันการสร้าง antibodies ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงระยะตั้งครรภ์
2.3 ควรให้คําแนะนําเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจถึงแผนการรักษา จะช่วยลดความกลัวและ ความวิตกกังวลได้ และควรบอกให้ทราบถึงผลของ RhoGAM ว่าไม่มีผลใดๆ ต่อมารดาและทารกใน ครรภ์อาจมีไข้เพียงเล็กน้อย ระยะคลอดควรเก็บเลือดจากสายสะดือเพื่อส่งตรวจหาหมู่เลือดและ Rh type ของทารก พร้อมทั้งทํา Direct Coomb’s test เพอื่ ดูจํานวนเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกที่ถูกจับโดย antibodies ของมารดา อาจพบ Anti-D antibodies เล็กน้อย
7.5.7 โรคโลหิตจางจากโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
เป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดที่พบบ่อยมากที่สุดใน ประเทศไทย พบได้ร้อยละ 20 ถึง 30 ของประชากรไทยเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ในเม็ดเลือด แดงมีองค์ประกอบหลักที่สําคัญคือ Hb ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลที่ประกอบด้วย heme และ globin โดย heme มีองค์ประกอบที่สําคัญคือ ธาตุเหล็ก และ porphyrin ส่วน globin ประกอบด้วยสาย ของโปรตีน 4 สาย (polypeptide chain) โดย polypeptide chain มีอย่างน้อย 4 ชนิด ได้แก่สาย alpha (α), beta (β), gamma (γ) และ delta (δ) ในการสร้าง polypeptide สาย beta จะถูก ควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 11 ซึ่ง Hb ในคนปกติวัยผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 95 จะเป็น HbA (α2β2) และอีกร้อยละ 3.5-4 จะเป็น HbA2 (α2δ2) และที่เหลือคือ HbF (α2 γ2)
สาเหตุ
เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive เกิดจากความ ผิดปกติของโครโมโซม ทําให้มีความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน (globin) ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่ สร้างขึ้นมามีความผิดปกติ ถูกทําลายง่ายและมีอายุสั้น
ชนิดของโรคธาลัสซีเมีย
α-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทําให้มีการสร้าง α-globin น้อยลงหรือไม่สร้างเลยที่พบ บ่อยได้แก่ α-thalassemia 1, α-thalassemia-2, Hb H และ Hb Bart’s hydrop fetalis
β-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทําให้มีการสร้าง β-globin น้อยลงหรือไม่สร้างเลยที่พบ บ่อยได้แก่ β-thalassemia trait, homozygous β-thalassemia, Hb E และ β-thalassemia/Hb E
พยาธิสรีรภาพ
คนปกติร่างกายจะมี α-globin และ β-globin อยู่ในสัดส่วนที่สมดุลกัน เมื่อมีความผิดปกติของ ยีนทําให้การสังเคราะห์ α-globin และ β-globin ลดน้อยลงหรือไม่สร้างเลย จะทําให้ globin ที่ เหลืออยู่รวมตัวกันเอง แล้วตกตะกอนอยู่ในเม็ดเลือด ทําให้เลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ ขาดความยืดหยุ่นผนังของเม็ดเลือดแดงถูกทําลายง่าย เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับม้ามโต ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงทดแทนตลอดเวลา ทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของลักษณะกระดูก เช่น รูปใบหน้าเปลี่ยน กระดูกบางแตกหักง่าย เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
อาการรุนแรงมาก (thalassemia major) คือ homozygous α-thalassemia (Hb Bart’s hydrop fetalis) เป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงที่สุด ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเสียชีวิต ไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด ทารกจะมีลักษณะบวมน้ําทั้งตัว ซีด ตับม้ามโต รกมีขนาดใหญ่
อาการรุนแรงปานกลาง (thalassemia intermediate) ได้แก่ Hb H, α-thalassemia/Hb CS โดยจะมีอาการซีดปานกลาง ตับและม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง มีการเจริญเติบโตเกือบเหมือนคน ปกติ แต่ในรายที่เป็น Hb H จะมีลักษณะเฉพาะคือ ในภาวะปกติจะไม่มีอาการ แต่เมื่อมีไข้ติดเชื้อ จะทําให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เกิดอาการซีดอย่างรวดเร็ว ถ้ารุนแรงอาจทําให้เสียชีวิตได
กลุ่มที่ไม่มีอาการ (thalassemia minor) ได้แก่กลุ่มที่เป็นพาหะ และกลุ่ม homozygous Hb E, homozygous Hb CS โดยจะไม่มีอาการแสดง แต่อาจมีฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีและทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีโอกาสติดเชื้อเนื่องจากความต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด ในรายที่มี ภาวะ Hb Bart’s hydrop fetalis มักเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คลอดยาก เนื่องจากทารกมีท้องบวมโต และอาจตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ผลต่อทารก
เกิดภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ น้ําหนักน้อย หรือขาดออกซิเจนในระยะคลอด และอาจได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติของโครโมโซมทําให้เป็นโรคหรือเป็นพาหะ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย และสามีเข้าใจถึงความจําเป็นในการคัด กรองหาพาหะธาลัสซีเมีย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษา แนะนําให้ตรวจทั้งสามีและภรรยาไป พร้อมกันเพราะหากตรวจสตรีตั้งครรภ์เพียงคนเดียวก่อนแล้วพบว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียจึงค่อยติดตามสามีมาตรวจภายหลัง จะทําให้เสียเวลามากขึ้น จนทําให้อายุครรภ์มากเกินกว่าที่จะตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดได้
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ลักษณะของการถ่ายทอด ทางพันธุกรรม ความแตกต่างระหว่างเป็นโรคและเป็นพาหะ อาการและอาการแสดงของโรค ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การรักษาและการพยาบาลที่จะได้รับ เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์และ ครอบครัวลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
ในกรณีที่ทั้งสตรีตั้งครรภ์และสามีเป็นคู่เสี่ยงของโรคธาลัสซีเมียที่อาการรุนแรง ควรแนะนํา เกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด และให้สตรีตั้งครรภ์และสามีตัดสินใจว่าจะ ดําเนินการตั้งครรภ์ต่อไปหรือยุติการตั้งครรภ์
ในกรณีที่ตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ให้การสนับสนุนทางด้านจิตสังคมแก่สตรีตั้งครรภ์และ ครอบครัว พร้อมทั้งให้การดูแลให้ได้รับการส่งต่อเพื่อปรึกษานักจิตวิทยาเมื่อมีความจําเป็น