Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือแทรกซ้อนทางนริเวชกรรมและศัลยกรรม…
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือแทรกซ้อนทางนริเวชกรรมและศัลยกรรม
ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)
สาเหตุ
เกิดจากมีภาวะอุดกั้นของรูไส้ติ่ง ส่วนการอุดกั้นนั้นส่วนหนึ่งเป็นการเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากมีเศษอุจจาระแข็งๆ เรียกว่า "นิ่วอุจจาระ" (fecalith)ชิ้นเล็กๆ ตกลงไปอุดกั้นอยู่ภายในรูของไส้ติ่ง แล้วทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรูไส้ติ่งเกิดการเจริญรุกล้ำเข้าไปในผนังไส้ติ่ง จนเกิดการอักเสบตามมา
อาการและอาการแสดง
เริ่มจากอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาการปวดอาจจะเพียงเล็กน้อยหรือมากก็ได้
มีอาการปวดตื้อๆตลอดเวลาหรืออาจปวดมากเป็นพักๆ อาจมีท้องผูกหรือท้องเสียก็ได้ มีอาการกดเจ็บและท้องแข็ง (guarding)
มีไข้ อาจสูงถึง 38.3 C
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และคลอดก่อนกำหนด
แนวทางการรักษา
ควรวินิจฉัยแยกโรคไส้ติ่งอักเสบอักเสบ
หากอาการไม่รุนแรงอาจพิจารณาทำการผ่าตัด laparotomy เพื่อทำ laparoscopic ซึ่งอายุครรภ์ที่เหมาะสมที่สามารถทำได้คือเมื่ออายุครรภ์อยู่ในไตรมาสที่หนึ่งและสอง
พิจารณาการผ่าตัดทางหน้าท้อง เพื่อทำ appendectomy สำหรับสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่3
ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis)
สาเหตุ
ขณะตั้งครรภ์มีการเพิ่มขนาดของมดลูก ซึ่งทำให้เกิดแรงดันและกดเบียดทำให้การไหลเวียนและระบายของถุงน้ำดีไม่ทำให้ muscle tone และความยืดหยุ่นในถุงน้ำดีลดลง เมื่อมีการกดทับเป็นเวลานาน จะทำให้มีการเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรน ที่มีผลต่อภาวะ hypercholesterolemia
อาการและอาการแสดง
ปวดท้องที่เป็นพักๆ สลับหนักและเบา (colicky pain) คลื่นไส้อาเจียน โดยเฉพาะภายหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมัน มีไข้ และตัวเหลืองขณะตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง มดลูกหดรัดตัวก่อนกำหนด และคลอดก่อนกำหนด
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายพบ colicky sign และปวดมากบริเวณ right-upper quadrant or epigastrium
การตรวทางห้องปฏิบัติการ
CBC พบมีการเพิ่มของ leukocyte
ตรวจ U/A อาจพบการเพิ่มขึ้นของ WBC
การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น Radiographic diagnostic การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การรักษา
NPO
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ทำ Laparoscopic for cholecystectomy/ cholecystectomy ปลอดภัยที่สุดหากทำในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง
ภาวะลำไส้อุดกั้น (Bowel obstruction)
เกิดจากการอุดตันของลำไส้จากพังผืด (adhesions) การบิดของลำไส้ (volvulus) การตีบ ก้อนเนื้องอก หรือไส้เลื่อน มีประวัติการผ่าตัดในช่องท้อง อุ้งเชิงกรานและ การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องหรือมีประวัติการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
อาการและอาการแสดง
ท้องผูก (constipation) ถ่ายยาก ถ่ายลำบาก ถ่ายไม่ออก
ปวดเกร็งแน่นท้อง (มีกดเจ็บ)
อาเจียน
ปวดเสียด ปวดยิดเป็นพักๆ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การอักเสบและติดเชื้อ มดลูกหดรัดตัวก่อนกำหนด ภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโตรลัยท์ ปัญหาเกี่ยวกับไต ภาวะปริมาตรเลือดต่ำจากการเสียเลือด ช็อก และเสียชีวิต
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักตัวน้อย ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขัน ทารกเสียชีวิตในครรภ
การรักษา
NPO
ใส่สาย Nasogastric tube เพื่อการระบาย gastric content
ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทางรกในครรภ์ โดยใส่เครื่อง EFM
ติดตามการเกิดซ้ำของภาวะลำไส้อุดกั้นได้อีก (recurrent obstruction ในไตรมาสที่สาม
ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian tumor)
สาเหตุ มีการโตของ cystic corpus luteum ขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังจะพบภาวะของ ovarian cyst/tumor ที่โตขึ้น ร่วมกับการติดเชื้ออื่นๆของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกได้ ขนาดโตเมื่ออายุครรภ์ 12-14 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณปีกมดลูกและรังไข่โดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น มีภาวะท้องมานน้ำ และในระยะคลอดพบว่ามีการคลอดยาก
การรักษา
ผ่าตัดโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ (Laparoscopic) เพื่อตัดก้อนเนื้องอกออก (cystectomy) ก้อนเนื้อนั้นมีขนาดน้อยกว่า 8 เซนติเมตร หรือทำการผ่าตัดทางหน้าท้องเพื่อนำก้อนเนื้องอกและปีกมดลูกและรังไข่ (salphigo-oophorectomy) ข้างที่มีพยาธิสภาพออก หากขนาดของก้อนเนื้องอกใหญ่กว่า 10 เซนติเมตรขึ้นไป ทั้งนี้การผ่าตัดควรทำเมื่ออายุครรภ์ 12-14 สัปดาห์ ไม่ควรเกิน 18 สัปดาห์
ส่งชิ้นเนื้อที่ผ่าตัดออกมาเพื่อตรวจสอบทางพยาธิวิทยา
เจาะเลือดส่งตรวจค่ามะเร็ง CA-125
หากผลการชันสูตรพบว่าเป็นมะเร็งรังไข่ และมารดาต้องได้รับยาเคมีบำบัด ให้งด breast feeding
เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Uteri tumor)
Myoma Uteri
ก้อนของกล้ามเนื้อที่จับตัวเป็นก้อนกลมๆ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามอายุ หากอายุ 30 ปีขึ้นไป หากพบว่ามีภาวะ Myoma ในช่วงตั้งครรภ์ การดำเนินของโรคจะเป็นได้ 3 รูปแบบ 1)ขนาดเท่าเดิม 2)โตขึ้น 1 ใน 3 และ 3) เล็กลง 1 ใน 3 ทั้งนี้จะมีผลกระทบหรือไม่ขึ้นอยู่กับขนาด
และตำแหน่งของ Myoma
Adenomyosis
เนื้องอกที่หนาตัวโดยรวมทั้งหมด เป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก แทรกอยู่ตามกล้ามเนื้อ ทำให้หนาแต่ไม่ได้เป็นก้อนชัดเจน อาจเกิดการฝ่อของเนื้องอกขณะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการตั้งครรภ์ เพราะการฝ่อจะทำให้ก้อนเนื้อกลายเป็นน้ำและ
แตกได้ และส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
มักทราบก่อนการตั้งครรภ์ไม่ค่อยแสดงอาการ ปวดท้องโดยอาการปวดจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น อาจพบภาวะเลือดออกขณะตั้งครรภ์ได้ตรวจครรภ์พบขนาดของมดลูกโตกว่าอายุครรภ์คลำท่าทารกได้ยาก
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัด
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
NPO
ฟัง FHS ทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยการ On EFM (electro fetal monitor)
การพยาบาลขณะผ่าตัด
จัดท่าในการผ่าตัด หากเป็นไปได้ควรจัดท่านอนหงายศีรษะสูงเล็กน้อย กึ่งตะแคงซ้าย โดยระมัดระวังไม่ให้กดทับเส้นเลือด vena cava
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา และเตรียมให้ออกซิเจนทันทีระหว่างการผ่าตัดที่พบภาวะ fetal distress
การดูแลหลังการผ่าตัด
เฝ้าระวังภาวะ preterm labor
ประเมินและบันทึก FHS โดยการติดเครื่อง EFM อย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังภาวะ fetal distress
ดูแลให้ได้รับยา tocolysis
การบาดเจ็บระหว่างการตั้งครรภ์(Trauma during pregnancy)
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการบาดเจ็บ
Minor trauma
Bleeding/vg., uterine irritability
Abdominal tenderness, abdominal pain or cramps
Hypovolemia
FHR เปลี่ยนแปลง
Fetal activity หายหรือลดลง
Immediate care
ประเมินและวินิจฉัย การให้ยา และการช่วยฟื้นคืนชีพ
ช่วยฟื้นคืนชีพควรช่วยชีวิตมารดาเป็นอันดับแรก
Major trauma
ฟื้นคืนชีพแบบ ABCs ควรประเมินแบบ systematic evaluation ก่อนให้การดูแล
ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปตามระบบต่างๆ
ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่
การช่วยฟื้นคืนชีพในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น
การตอบสนองขั้นแรก (First responder)
แจ้ง maternal cardiac arrest team
บันทึกเวลาที่เริ่มเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น
จัดท่านอน supine
เริ่มทำการ chest compressions
การตอบสนองขั้นต่อมา (Subsequent responders)
ช่วยเหลือมารดา (maternal interventions)
ดูแลและช่วยเหลือในการช็อคไฟฟ้า (defibrillation) ทันที
ดูแลให้ได้รับชนิดยา
ดูแลให้ได้รับ 100% oxygen ทางท่อทางเดินหายใจ
ดูแลให้ได้รับการติด Monitor waveform capnography
ดูแลและจัดการให้ท่อทางเดินหายใจโล่ง ไม่อุดกั้นตลอดกระบวนการช่วยคืนชีพ
ค้นหาและดูแลรักษาปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น (BEAU-CHOPS)