Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปรัชญาการศึกษาไทย, นางสาวณัฐนรี นามเนาว์ รหัส 63723713414 หมู่เรียน 4 -…
ปรัชญาการศึกษาไทย
จุดมุ่งหมาย
มุ่งให้การศึกษาอบรมแก่ผู้เรียนให้เป็นผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมความดีตามหลักของพระพุทธศาสนาถือดำเนินชีวิตตามกรอบประเพณีอันดีงามของสังคมไทยนำพาชีวิตไปสู่สิ่งที่เป็นอุดมคติเป็นของสูงส่งในชีวิต
แนวคิดพื้นฐาน
รากฐานของพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานหลักของสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนานนับตั้งแต่สังคมในยุคเกษตรกรรม ความเชื่อที่เข้ามาพร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตก ที่เน้น วัตถุ ทุน และการพัฒนาตามแนวทางของอุตสาหกรรมที่ทำให้วิถีชีวิตตามรากฐานของศาสนาได้ลดความสำคัญลงไปแต่ก็ยังคงพื้นฐานหลักไว้ที่รากฐานทางศาสนาและวัฒนธรรมเป็นหลักสำคัญ
กระบวนการเรียนการสอน
1.สอนหลักของศาสนาเป็นพื้นฐาน อบรมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนศีลธรรมตามหลักของศาสนา
2.การอบรมดูแลในเชิงของระเบียบวินัย ในเชิงของการฝึกและอบรมตนเองให้รู้จักควบคุมอารมณ์ ควบคุมจิตใจให้เข้าสู่สิ่งที่ดีงามในทางศาสนาและในระบบของสังคมด้วย
จุดมุ่งหมาย
ต้องการสร้างคนให้มีความสามารถทางปัญญา คิดเป็น สามารถนำความคิดและปัญญาไปใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ เหมาะสมต่อตนเองและต่อส่วนรวม
แนวคิดพื้นฐาน
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีความรวดเร็วซับซ้อน และแตกต่างไปจากอดีตที่ผ่านมาอย่างมาก คนในสังคมจึงต้องมีความรู้ความคิดตามทันและเท่าทัน กับการเปลี่ยนแปลงของสังคม จะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือหรือเป็นเหยื่อของสังคมได้ การปลูกฝังความคิดนอกจากให้รู้เท่าทันแล้วยังสามารถนำไปสู่การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ
กระบวนการเรียนการสอน
1.ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ ในเชิงที่มาและเหตุผลของสิ่งที่ศึกษา
- ให้เรียนเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงของสังคมในเชิงการวิเคราะห์ วิจารณ์เป็นหลัก
- เน้นกระบวนการคิด การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการแก้ปัญหาของตัวผู้เรียน และต้องมีกระบวนการให้ได้ทดสอบความคิดของผู้เรียน
จุดมุ่งหมาย
เน้นการสร้างผู้เรียนให้รู้จักเข้าใจชุมชนของตนเอง เข้าใจสภาพและปัญหาของชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ รู้ว่าชุมชนต้องการอะไร เติบโต และมีพัฒนาการมาจากอะไร มีจิตสำนึกที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนของตนเองให้ดีขึ้นด้วย
แนวคิดพื้นฐาน
การจัดการการศึกษาเพื่อสนองความจำเป็นของการพัฒนาประเทศ อีกทั้งได้รับการย้ำจากการพัฒนาประเทศเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของต่างประเทศ หรือโลกภายนอกอีกด้วยการเรียนรู้ในเรื่องของชุมชน ความเชื่อ วิถีชีวิต กิจกรรม ตลอดจนการดำเนินชีวิต การทำมาหาเลี้ยงชีพ ความสัมพันธ์ของหมู่บ้าน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเคารพตามสิทธิ ตามประเพณีของกันและกัน
กระบวนการเรียนการสอน
1.ผู้เรียนต้องเรียนจากของจริง ปฏิบัติจริง
2.ไม่ศึกษาแค่ภายในโรงเรียนเท่านั้น
3.การศึกษาจะต้องเกิดขึ้นได้ภายในชุมชน ท้องถิ่น หรือหมู่บ้าน ที่ผู้เรียนอาศัยอยู่
4.ครูผู้สอนเป็นผู้ปฏิบัติจริงให้เห็นเป็นตัวอย่าง
5.ผู้สอนอาจเป็นคนในชุมชน หรือผู้รู้ในชุมชนนั้นเป็นผู้สอนด้วยก็ได้
จุดมุ่งหมาย
เน้นคุณลักษณะของผู้เรียนที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า การทำงาน และการพัฒนางานให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาและสร้างนวัตกรรมจากเทคโนโลยีประเภทต่างๆ ได้ด้วย
แนวคิดพื้นฐาน
เกิดจากการเติบโตของเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง ทั้งเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร จนถึงเทคโนโลยีด้านข่าวสาร โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ทำให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นอย่างมาก
ทำให้เกิดแนวความคิดที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ในการศึกษาทั้งในด้านของการเรียนการสอน และการบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา
กระบวนการเรียนการสอน
1.ผู้เรียนต้องมีความสามารถในการคัด การเลือก การวินิจฉัยว่าอะไรดี อะไรเหมาะสม อะไรเป็นประโยชน์ เพราะในคอมพิวเตอร์นั้นมีทั้งสิ่งดีและสิ่งที่ไม่ดีควบคู่กันไป ทักษะต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
2.ผู้เรียนต้องมีความรู้ และทักษะทางคอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอ
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างดี มีความสนใจที่เรียนรู้อยู่เสมอ
ปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม
จุดมุ่งหมาย
เน้นการสร้างผู้เรียนให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตามตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไปโดยมีความรู้และทักษะ พร้อมทั้งค่านิยมที่จะไปหรือปรับให้ทำงานได้เป็นหลักสำคัญ
แนวคิดพื้นฐาน
เชื่อว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลักถ้าการศึกษาสอดคล้องกับระบบต่างๆ ของสังคม ก็จะทำให้สังคมดีตามไปด้วย การศึกษา “จึงถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ และทักษะบางประการที่สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคม”
กระบวนการเรียนการสอน
1.เน้นเนื้อหาสาระให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ให้ทำงานในตลาดแรงงานได้
2.เน้นการเรียนการสอนที่ให้ฝึกงาน ปฏิบัติงานในสภาพการณ์จริง
เพื่อให้ทำงานเป็น
3.มีทักษะสมัยใหม่ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและทักษะคอมพิวเตอร์
แม้ปรัชญาการศึกษาไทยจะมีหลายแบบ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การจัดการศึกษาของไทย หรือของประเทศอื่นๆ ก็ไม่ได้เน้นที่ปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง แต่จะเน้นปรัชญาใดเป็นตัวนำแล้วปรัชญาอื่นๆ จะไปเสริม
ในทางปฏิบัติของการศึกษาไทยปัจจุบันเห็นได้ชัดเจนว่า เป้าหมายจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ การศึกษาไทยเน้นไปที่ปรัชญาปฏิบัตินิยมค่อนข้างมาก คือ เน้นย้ำให้การศึกษาเป็นไปเพื่อสนองตอบต่อตลาดการนำปรัชญาไปใช้ในทางปฏิบัติจึงควรจะมองให้กว้างกว่าการใช้ประโยชน์จากปรัชญาหนึ่งเท่านั้น แต่ควรเป็นการมองภาพรวมของประเทศ ทิศทางที่ควรจะเน้นคนที่เหมาะสมสำหรับอนาคตแล้ว จึงกำหนดทิศทาง หรือปรัชญาให้สอดคล้อง และสมดุล
-