Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรค NCDs - Coggle Diagram
ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โรค NCDs
โรคเบาหวาน
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
กรรมพันธุ์ สำหรับผู้ที่มีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เป็นเบาหวานมาก่อน ก็อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้เช่นเดียวกัน แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะหากรู้จักดูแลตนเองให้ดี และควบคุมอาหาร โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานของหวาน ของมัน คุณก็จะปลอดภัยจากโรคเบาหวานได้มากขึ้น นอกเสียจากว่าจะเป็นโรคเบาหวานมาอยู่แล้วโดยกำเนิด
อาหารการกิน เนื่องจากปัจจุบันนั้น วิธีการทานอาหารที่เปลี่ยนไป โดยพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งเต็มไปด้วยแป้งและไขมัน อีกทั้งรวมไปถึงเครื่องดื่มแต่ละชนิด ที่มีน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถขจัดให้หมดไปจากร่างกายได้ใน 1 วัน
ความอ้วน ร้อยละ 80 ของคนที่เป็นโรคอ้วนส่วนใหญ่มักมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานค่อนข้างสูง เนื่องจากไขมันส่วนเกินจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ประสิทธิภาพในการจัดการกับน้ำตาลและไขมันต่ำลง และเป็นผลให้เกิดโรคเบาหวานได้ในที่สุด
ความผิดปกติของตับอ่อน เนื่องจากตับอ่อนจะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน ดังนั้นหากตับอ่อนมีการเสื่อมสภาพหรือเกิดความผิดปกติก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย นอกจากนี้ ในคนที่ดื่มเหล้าหรือรับประทานยาที่มีผลต่อตับอ่อนก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานได้สูงอย่างมากทีเดียว
การออกกำลังน้อย ผู้คนในยุคนี้มีการขยับตัวกันน้อยจนเกินไป จนร่างกายมีประสิทธิภาพในการขจัดน้ำตาลได้น้อย เนื่องจากมีกิจกรรมทางกายน้อยจนเกินไป จึงทำให้น้ำตาลถูกสะสมในเลือดได้ง่าย
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
ควบคุมอาหาร
การควบคุมอาหารไม่ได้หมายถึงการลดปริมาณอาหาร แต่เป็นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมทั้งปริมาณและชนิดของอาหาร ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ
ออกกำลังกายช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
การออกกำลังกายทำให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด นอกจากนี้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตและทำให้ระดับไขมันในเลือดดีขึ้น
การใช้ยาจะเป็นลำดับสุดท้ายในการรักษาเบาหวาน
หากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จากการคุมอาหารและออกกำลังกาย ก็จำเป็นต้องใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาที่ใช้ในการรักษามีหลายกลุ่มทั้งยากินและยาฉีด ขึ้นกับระดับน้ำตาลในเลือดและสภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
ประเทศไทยมีรายงานสถิติผู้ป่วยเบาหวานใน ปีพ.ศ 2553 มีผู้ป่วยใหม่ 176,685 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 277.36 ต่อประชากรแสนคนและมีผู้ป่วยเบาหวานสะสม ปีพ.ศ 2549 ถึง 2553 จำนวน 888,580 รายคิดเป็นอัตราความชุก 1,394.91 ต่อประชากรแสนคน
(สํานักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข 2555)
อุบัติการณ์ร้อยละ 3-5 ของประชากรพบได้ทุกเพศทุกวัย และพบมากในคนอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป เพศหญิงมากกว่าเพศชาย
โรคถุงลมโป่งพอง
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
การที่เราสูดสารที่เป็นพิษ อาจจะอยู่ในรูปของฝุ่นควันที่มีอานุภาพเล็ก ๆ หรือแก๊ส หรือสารเคมีเข้าไปยังปอด นอกจากนั้นสาเหตุที่เรารู้กันดี คือ การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ยิ่งสูบนานสูบมากก็จะมีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการที่เราสูบเอง
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
วิธีป้องกันโรคนี้ เนื่องจากโรคถุงลมโป่งพองเกิดจากสารพิษที่สูดเข้าไป ต้องงดและหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ อย่างเช่น เลิกบุหรี่ หรือถ้ามีอาชีพที่จะต้องสัมผัสหรือสูดฝุ่นควันก็พยายามหลีกเลี่ยง หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรจะต้องใส่หน้ากาก และหน้ากากนั้นต้องได้มาตรฐานตามวิชาชีพ
การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ การงดบุหรี่ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แล้วก็การออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ถ้าผู้ป่วยมีออกซิเจนต่ำในร่างกายก็ต้องให้ออกซิเจนระยะยาว
การใช้ยารักษา ยาหลัก คือ ยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการคนไข้ ซึ่งเราจะใช้ในรูปของยาพ่นสูดเราจะไม่ใช้ในรูปของยารับประทานเนื่องจากมีผลข้างเคียงมากกว่า
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
กระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการความชุกของโรคจาก ปี พ.ศ. 2543 -2553 ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 2,268 ต่อประชากร หนึ่งแสนคน เป็น 7,035ต่อประชากรหนึ่งแสนคน และมีความรุนแรงของปัญหาอย่างต่อเนื่อง
ประเทศไทยจากสถิติของบัญชีจำแนกในปี พ.ศ. 2552 พบว่าโรคของระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มสาเหตุการตายในอันดับที่ 5 จาก 10 อันดับแรกของประเทศ จากจ านวนประชากร 26,166รายและคิดเป็นอัตราการตายได้ร้อยละ 41.2 ต่อประชากร 100,000 จากรายงานจำนวนผู้ป่วยนอก (รง. 504)ตามกลุ่มสาเหตุความเจ็บป่วยทั้งประเทศ และรายภาค (ไม่รวมกทม.) คิดเป็นอัตราร้อยละ 498.16ต่อประชากร 100,000ราย
โรคมะเร็ง
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
ประเทศไทยโดยประชากรไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปีละประมาณ 67,000 ราย หรือเฉลี่ย 8 รายต่อชั่วโมงและมีอัตราการตายต่อประชากร 100,000 คน เท่ากับ153.6(Cheirsilp,2017)
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
สารเคมีบางชนิด เช่น
สารเคมีในควันบุหรี่และเขม่ารถยนต์
สารพิษจากเชื้อรา
สารพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอดจนไหม้เกรียม
สีย้อมผ้า
สารเคมีบางชนิดที่เกิดจากขบวนการทางอุตสาหกรรม
การติดเชื้อเรื้อรัง
ไวรัสตับอักเสบชนิดบี มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งตับ
ฮิวแมน แพพพิโลมา ไวรัส (Human Papilloma Virus หรือ HPV) อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งของเซลล์เยื่อบุต่าง ๆ
เอบสไตน์ บาร์ ไวรัส (Epstein Barr Virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งโพรงหลังจมูก
เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลรัย (Helicobacter Pylori) มีความสัมพันธ์กับมะเร็งกระเพาะอาหาร
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
การผ่าตัด การเอาก้อนที่เป็นมะเร็งออกไป
รังสีรักษา การให้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
เคมีบำบัด การให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
ฮอร์โมนบำบัด การใช้ฮอร์โมนเพื่อยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
การรักษาแบบผสมผสาน การรักษาร่วมกันหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค
โรคความดันโลหิตสูง
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
secondary hypertension คือ ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากโรคอื่นๆ หรือผลข้างเคียงของการใช้ยา หรือการใช้ยาเสพติด สำหรับคนที่ตกอยู่ในประเภทนี้ อาจจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน
primary hypertension คือ ความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติจะพบในเวลาที่เราแก่ตัวลง
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
การให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดกินและชนิดฉีด ซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของอาการ โดยเกณฑ์การควบคุมความดันโลหิตสูง
ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี คือน้อยกว่า 150/90 mmHg เกณฑ์การควบคุมความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี หรือเป็นเบาหวาน และโรคไตร่วมด้วย คือน้อยกว่า 140/90 mmHg
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เหมือนดังที่กล่าวในแนวทางการป้องกัน คือการควบคุมการกินอาหาร การออกกำลังกาย และการลดน้ำหนัก ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสามารถลดความดันโลหิตได้เหมือนกับการใช้ยาลดความดันโลหิต 1 ชนิด
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง ผู้สูงอายุร้อยละ 95 เป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
ประเทศไทยมีผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงถึง 2.3 ล้านคน ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตปีละ 70,000 คน และเป็นสาเหตุของความพิการเพิ่มขึ้นปีละ 600,000 คน
โรคไขมันในเลือดสูง
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญสารไขมัน ความผิดปกตินี้ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ ถ้าได้รับความผิดปกติถ่ายทอดมากจากทั้งบิดาและมารดาร่วมกัน ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงประมาณ 700-1,000 มก./ดล. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเกิดตั้งแต่วัยเด็ก ถ้าไม่ได้บำบัดจะเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี ถ้าได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติจากบิดา หรือ มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายเท่านั้น ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงประมาณ 300-500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถ้าไม่ได้รับการบำบัด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะเกิดเมื่ออายุประมาณ 20-30 ปีไปแล้ว
เกิดเป็นผลจากโรคอื่นซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การเผาผลาญสารไขมันผิดปกติ เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมไธรอยด์ไม่ทำงาน โรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเป็นจากการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาคุมกำเนิดยากลุ่มสเตอรอยด์ และยาอื่นๆ อีกมาก ที่ผู้ป่วยบริโภคอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดย
-ลดปริมาณอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง - ลดอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
งดการสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
ทานยาลดไขมันในเลือดแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็สามารถทำการตรวจยีนเพื่อหาความเสี่ยงได้ว่ามีการถ่ายทอดมาจากครอบครัวหรือไม่ ก่อนที่จะให้ยารักษาที่เจาะจงต่อไป และถ้าทานยาสม่ำเสมอ
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
ประเทศไทยเมื่อปี 2553และ 2557 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงถึง 58,681 คน หรือ เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน (สำนักงานโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2558)
ความชุกของภาวะไขมันในเลือดสูงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 เป็น ร้อยละ 22.9 (สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย, 2557)