Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจากสารหนู Disease caused by arsenic or its toxic compound - Coggle…
โรคจากสารหนู
Disease caused by arsenic or its toxic compound
อัตราการชุก :
ปี 2530 ประชาชนใน ต. ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ป่วยเป็นโรคไข้ดำ สาเหตุมาจากสารหนูสะสมอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ อันเป็นผลเนื่องมาจากการดื่มน้ำจากบ่อน้ำผิวดินที่มีการปนเปื้อนของสารหนู บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีสินแร่ดีบุกและมีการทำเหมืองแร่มาเป็นเวลานาน
สำหรับการศึกษาผลกระทบของสารหนูต่อสุขภาพ มีดังนี้
2) ปี 2535 อรุณ รัตนปริคณน์ ทำการศึกษาหาสารหนูในเส้นผม เล็บ เลือด และปัสสาวะ ของสตรีขณะตั้งครรภ์ และน้ำนมหลังคลอดบุตรที่ ต.ร่อนพิบูลย์ จำนวน 104 ราย พบว่าระดับสารหนูสูงกว่าปกติในเส้นผม 21 ราย ในปัสสาวะ 18 ราย และตรวจพบสารหนูในน้ำนม 11 ราย และในบุตรที่กำเนิดจากสตรีเหล่านี้พบสารหนูในเส้นผม 14 ราย ในเล็บ 13 ราย และมีค่าสูงกว่าปกติ 6 ราย และตรวจพบสารหนูจากสายสะดือ แสดงให้เห็นว่าเด็กมีโอกาสรับสารหนูระหว่างอยู่ในครรภ์มารดาและมีโอกาสรับเพิ่มขณะรับนมมารดา
3) ปี 2542 อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจและอมรา ทองหงษ์ ศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับสารหนูเรื้อรังกับการเจริญเติบโตของเด็ก อ.ร่อนพิบูลย์ โดยการวิเคราะห์สารหนูในเส้นผมเด็กวัยเรียน อายุ 6-9 ปี จำนวน 529 คน พบว่ามีสารหนูในเส้นผมอยู่ในช่วง 0.48-26.94 ppm ค่าเฉลี่ย 3.52 ppm และพบว่าการได้รับสารหนูในขนาดต่ำอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดสะสมในเส้นผม มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าของพัฒนาการด้านส่วนสูงของเด็ก
1) ปี 2532 ธาดา เปี่ยมพงศ์และคณะ ทำการศึกษาผลกระทบเรื้อรังของสารหนูในผู้ป่วย 1,231 รายที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนังอันเนื่องมาจากการดื่มน้ำปนเปื้อนสารหนู พบว่าระยะแฝงก่อนที่อาการของโรคปรากฎ (Latent period) ของโรคมะเร็งผิวหนัง เท่ากับ 6 เดือน โดยแบ่งระยะดังนี้ ระยะ 0 ผลการศึกษาไม่พบรอยโรคมะเร็งผิวหนัง แต่มีสารหนูในเล็บและเส้นผมปริมาณสูง ระยะ IA พบ pigmant บริเวณฝ่ามือ ระยะ IB พบตุ่มน้ำเท่าหัวหมุด ระยะ II พบตุ่มน้ำจำนวนมาก ระยะ III พบ Bowenoid เปลี่ยนแปลง ระยะ IV เกิด Epithelioma และ Bowen's disease และ Squamous cell carcinoma
ปี 2546 มีสำรวจจากประชากรจำนวน 2,791 คน ใน 21 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อสารหนู โดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง เก็บปัสสาวะและน้ำ เพื่อวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะเป็นค่า total arsenic จากการวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะ จำนวน 2,781 ตัวอย่าง
พบว่า ค่ามัธยฐานสารหนูในปัสสาวะ เท่ากับ 39 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าสูงสุด 3,882 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าต่ำสุด 5 ไมโครกรัมต่อลิตร ตัวอย่างปัสสาวะส่วนใหญ่ (ประมาณ 26%) มีระดับสารหนูระหว่าง 36-70 ไมโครกรัมต่อลิตร จากการวิเคราะห์สารหนูในน้ำดื่ม จำนวน 427 ตัวอย่าง พบสารหนูเกินมาตรฐาน 5 ตัวอย่าง (6%) ค่ามัธยฐานสารหนูในน้ำดื่ม 0.67 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าสูงสุด 92.6 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าต่ำสุด 0.001 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่ามาตรฐานสารหนูในน้ำดื่ม เท่ากับ 50 ไมโครกรัมต่อลิตร
สารหนู
: เป็นสารเคมีที่เป็นโลหะสีเทา มันวาว ค่อนข้างเปราะ มักใช้ในวงการอุตสาหกรรมอยู่2 ประเภท คือสารหนูอนินทรีย์ และสารหนูอินทรีย์
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
ซึ่งมีผลมาจากการประกอบอาชีพ
ลักษณะงานอาชีพที่เสี่ยง
ผู้ประกอบอาชีพและงานที่เสี่ยงต่อการได้รับพิษจากสารหนูได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ ผลิตอัลลอยด์ การผลิตสี สีย้อม อุตสาหกรรมแก้ว การผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การผลิตน้ำยาถนอมเนื้อไม้ :
สารหนูเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ
การดูดซึมที่ผิวหนัง
การกินอาหารหรือน้ำที่มีสาร หนูปนเปื้อนเช่น อาหารทะเล ข้าว เห็ด สัตว์ปีก
การหายใจ
เกิดอาการได้หลายระบบทั้งระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ
อาการทางระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชักและหมดสติ
ระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะออกน้อย มีไข่ขาวในปัสสาวะ ระบบโลหิตพบภาวะโลหิตจาง
แนวทางในการแก้ไขของปัญหาสุขภาพ
ได้แก่
ดื่มน้ำที่สะอาด ผ่านการกรอง และฆ่าเชื้อโรคมาแล้ว
ไม่ควรดื่มน้ำจากแหล่งธรรมชาติโดยตรง
ตรวจสอบฉลากอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มักมีสารหนูเจือปนอยู่ก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง
หากใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน ลบรอยเปื้อน หรือยาปราบวัชพืชที่ใช้มีสารหนูเป็นส่วนผสมอยู่ควรหลีกเลี่ยง เปลี่ยนยี่ห้อ หรือใช้ในพื้นที่ สิ่งของที่เสี่ยงถูกจับต้องน้อยที่สุด และเก็บให้พ้นมือเด็ก
ไม่ควรอยู่อาศัยใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารหนูเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจทำให้ร่างกายของคุณปนเปื้อน หรือรับสารหนูเข้าไปทีละนิดจนเกิดการสะสม
การมีการทำงานเกี่ยวกับโรงงานที่มีส่วนประกอบของสารหนู
ควรหาอุปกรณ์เพื่อป้องกันการสูดดมเช่น การใส่หน้ากาก และป้องกันการสัมผัสที่ผิวหนังคือ การใส่ชุด/เสื้อผ้าที่มิดชิดหรือชุดที่สามารถป้องกันสารเคมีได้