Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม - Coggle Diagram
การพยาบาลสตรีที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ส่วนใหญ่จะพบในทารกหมู่เลือดA หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O
พยาธิสรีรภาพ
มารดาหมู่เลือดO มักจะมี anti-A และ anti-B ชนิด IgG บ่อยกว่ามารดาหมู่เลือด A หรือ B
หลังคลอดจากมารดาหมู่เลือด Bโดยทั่วไป anti-A มักจะเป็นสาเหตุของภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิดได้บ่อยกว่า anti-B1
antigen A บนเม็ดเลือดแดงของลูก ไปกระตุ้นให้มารดาสร้าง antibody ทําให้มี antibody มากและส่วนใหญ่จะเป็น IgG
ซึ่งสามารถผ่านรกเข้าสู่กระแสเลือดของทารก จากนั้นจะทําปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดง ทําให้เม็ดเลือดแดงแตก
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่พบเพียงอาการตัวเหลืองเท่านั้นและมักจะมีอาการเหลืองภายใน 24ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
kernicterus
:แนวทางการประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติการตรวจกลุ่มเลือด และประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผ่านมา
การตรวจร่างกายทารกที่มีจุดเลือดออกตามตัว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับบิลิรูบินใน serumนิยมตรวจค่า Total bilirubin
ตรวจนับเม็ดเลือด นับจํานวน reticulocytes และ ตรวจลักษณะรูปร่างเม็ดเลือดแดง
ตรวจหมู่เลือด ของมารดาและทารกแรกเกิด
Direct Coomb’s test
แนวทางการรักษา
การรักษาที่ดีที่สุดคือ การกระตุ้นให้คลอด
การพยาบาล
ประเมินความเสี่ยงของคู่มารดาและทารกจากการซักประวัติ ประวัติการตั้งครรภ์
อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสรีรภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
ติดตามภาวะ jaundice
ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ให้วางทารกไกลแสงไฟพอประมาณ
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบRh
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การไม่เข้ากันของกลุ่มเลือดRh ของมารดาและทารกในครรภ์ Rh เป็นAntigen ตัวหนึ่งที่มีเม็ดเลือดแดง
พยาธิสรีรภาพ
Rh Isoimmunization จะเกิดขึ้นเมื่อแม่มี Rh negative และทารกมี Rh positive
ในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดา ทําให้เกิดการสร้าง antibodies
antibodies นี้จะไหลเวียนกลับเข้าสู่ทารกในครรภ์ และ antibodies เหล่านี้จะไปจับและทําลายเม็ดเลือดแดงของทารก ทําให้ทารกมีภาวะโลหิตจาง
อาการและอาการแสดง
hemolysis ที่รุนแรงขณะอยู่ในครรภ์ทารกจะซีดมาก
หัวใจวายตัวบวมนํ้าที่เรียกว่าhydrops fetalis
ผลกระทบต่อทารก
neonatal anemia
hydrops fetalis
ตับและม้ามโต
hyperbilirubinemia
kernicterus
dead fetus in uterus
still birth
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติการตรวจกลุ่มเลือด ทั้งของสตรีตั้งครรภ์และคู่สมรส
การตรวจร่างกายทารกมีภาวะโลหิตจาง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับของbilirubin
ผลการตรวจCoombs’ test
ผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดพบ hematocrit ต่ํามาก
แนวทางการรักษาและการพยาบาล
ป้องกันการเกิด Isoimmunization(Rh Isoimmunization)
เฝ้าระวังและตรวจหา antibodies ในหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์
โรคโลหิตจางจากโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
ทําให้มีความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน (globin)
ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นมามีความผิดปกติ
ถูกทําลายง่ายและมีอายุสั้น
ผิดปกติในการสังเคราะห์ globin มี 2 ลักษณะ
ความผิดปกติทางโครงสร้าง หมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวของ amino acid
ความผิดปกติทางปริมาณ หมายถึง มีการสร้าง globin สายใดสายหนึ่งลดลงหรือไม่สร้างเลย
ชนิดของโรคธาลัสซีเมีย
α-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทําให้มีการสร้าง α-globin น้อยลงหรือไม่สร้างเลย
β-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทําให้มีการสร้าง β-globin น้อยลงหรือไม่สร้างเลย
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อมีความผิดปกติของยีนทําให้การสังเคราะห์ α-globin และ β-globin ลดน้อยลงหรือไม่สร้างเลย
จะทําให้ globin ที่เหลืออยู่รวมตัวกันเอง แล้วตกตะกอนอยู่ในเม็ดเลือด ทําให้เลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ
เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับม้ามโต
อาการและอาการแสดง
homozygous α-thalassemia
ตับและม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีและทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด
ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
คลอดยาก เนื่องจากทารกโตตัว
ผลต่อทารก
ภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง
น้ำหนักน้อย
IUGR
การประเมินและวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
การซักประวัติ เกี่ยวกับโรคโลหิตจางในครอบครัว ประวัติโรคเลือด หรือโรคทางพันธุกรรม
การตรวจร่างกาย อาจพบภาวะซีด ตับและม้ามโต ตัวเหลือง ตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจ CBC
Screening test
แนวทางการรักษา
การให้ความรู้คําแนะนําเกี่ยวกับสาเหตุอาการการดําเนินของโรค
ทางเลือกของคู่สมรสที่มีอัตราเสี่ยงในการมีลูกเป็นโรคชนิดที่รุนแรงคือไม่มีลูกของตนเอง
การให้เลือดเพื่อป้องกันไม่ให้มีภาวะซีด
การให้ยาขับเหล็ก
ตัดม้าม
การปลูกถ่ายไขกระดูก
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย และสามีเข้าใจถึงความจําเป็นในการคัดกรอง
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
ในรายที่รุนแรงควรแนะนําเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด
ในกรณีที่ดําเนินการตั้งครรภ์ต่อ แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
ในกรณีที่ตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ให้การสนับสนุนทางด้านจิตสังคมแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว