Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม -…
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบ ABO(ABO Incompatibility)
สาเหตุ
หมู่เลือดระบบABO ไม่เข้ากับแม่จะพบในทารกหมู่เลือดA หรือ B ที่เกิดจากมารดาหมู่เลือด O แนวโน้มทารกที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในคนผิวดําและผิวขาว
แนวทางการประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกายทารกที่มีจุดเลือดออกตามตัว ตับ ม้าม พบว่าเกิดจาการติดเชื้อภายในครรภ์ อาการซีดอาจเกิดจากการแตกทําลายของเม็ดเลือด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับบิลิรูบินใน serum ตรวจค่า Total bilirubin
ตรวจนับเม็ดเลือด นับจํานวน reticulocytes และ ตรวจลักษณะรูปร่างเม็ดเลือดแดง
ตรวจหมู่เลือด ของมารดาและทารกแรกเกิด
Direct Coomb’s testเพื่อตรวจหาmaternal antibodies Rh and ABO typing เพื่อหาสาเหตุhemoglobin levels และRBC counts
การซักประวัติการตรวจกลุ่มเลือด และประวัติการตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อน
ทารกแรกเกิดที่ไม่ได้รับการรักษาเสี่ยงต่อการที่สมองถูกทําลายอย่างรุนแรงจากภาวะkernicterus ทารกที่เกิดภาวะkernicterus
การพยาบาล
ติดตามภาวะ jaundiceด้วยการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงต่อ hemolytic disease
ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด หากตรวจพบภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดเพื่อเฝ้าระวังและประเมินภาวะpathologic jaundice
อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยส่งเสริม พยาธิสรีรภาพ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์และ การรักษาและพยาบาล
ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ให้วางทารกไกลแสงไฟพอประมาณ ระวัง burn พลิกตัวทุก 3-4 ชั่วโมง และปิดตาทารกด้วย eye patches เพื่อป้องกันตาเกิดการระคายเคือง
ประเมินความเสี่ยงของคู่มารดาและทารกจากการซักประวัติ
โรคโลหิตจางจากโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
อาการและอาการแสดง
อาการรุนแรงปานกลาง ได้แก่ Hb H, α-thalassemia/Hb CS โดยจะมีอาการซีดปานกลาง ตับและม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลือง มีการเจริญเติบโตเกือบเหมือนคนปกติ แต่ในรายที่เป็น Hb H จะมีลักษณะเฉพาะคือ ในภาวะปกติจะไม่มีอาการ
กลุ่มที่ไม่มีอาการ (thalassemia minor) ได้แก่กลุ่มที่เป็นพาหะ และกลุ่ม homozygous Hb E, homozygous Hb CS โดยจะไม่มีอาการแสดง แต่อาจมีฮีโมโกลบินต่ํากว่าปกติเล็กน้อย
อาการรุนแรงมาก (thalassemia major) คือ homozygous α-thalassemiaจะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเสียชีวิตไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด ทารกจะมีลักษณะบวมน้ําทั้งตัว ซีด ตับม้ามโต รกมีขนาดใหญ่
สาเหตุ
ความผิดปกติทางโครงสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวของ amino acid บน polypeptide chain ทําให้เกิด Hb ที่ผิดปกติ
Thalassemia เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ทําให้มีความผิดปกติในการสังเคราะห์โกลบิน (globin) ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นมามีความผิดปกติ ถูกทําลายง่ายและมีอายุสั้น
ความผิดปกติทางปริมาณ หมายถึง มีการสร้าง globin สายใดสายหนึ่งลดลงหรือไม่สร้างเลย โดยที่โครงสร้างของ polypeptide chain ยังปกติ ถ้าการสร้าง globin สาย alpha น้อยลง
ชนิดของโรคธาลัสซีเมีย
α-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทําให้มีการสร้าง α-globin น้อยลงหรือไม่สร้างเลย
β-thalassemia เป็นความผิดปกติที่ทําให้มีการสร้าง β-globin น้อยลงหรือไม่สร้างเลย
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีและทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด ในรายที่มีภาวะ Hb Bart’s hydrop fetalis มักเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คลอดยาก
ผลต่อทารก
ภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ น้ําหนักน้อย หรือขาดออกซิเจนในระยะคลอด และอาจได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติของโครโมโซม
การพยาบาล
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ลักษณะของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาการและอาการแสดงของโรค ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การรักษาและการพยาบาลที่จะได้รับ
ะสามีเป็นคู่เสี่ยงของโรคธาลัสซีเมียที่อาการรุนแรง ควรแนะนําเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด และให้สตรีตั้งครรภ์และสามีตัดสินใจว่าจะดําเนินการตั้งครรภ์ต่อไปหรือยุติการตั้งครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย และสามีเข้าใจถึงความจําเป็นในการคัดกรองหาพาหะธาลัสซีเมีย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษา
กรณีที่ตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ให้การสนับสนุนทางด้านจิตสังคมแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
กรณีที่ดําเนินการตั้งครรภ์ต่อ แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการป้องกันการติดเชื้อในระบบต่างๆ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรับประทานยาตามแผนการรักษา การมาตรวจตามนัด
ภาวะการไม่เข้ากันของหมู่เลือดระบบRh(RhIncompatibility)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่ค่อยพบผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
ผลกระทบต่อทารกในการตั้งครรภ์ที่ 2ทําให้ทารกเกิดภาวะ neonatal anemia, hydrops fetalis, ตับและม้ามโต, hyperbilirubinemia, kernicterus, dead fetus in uterus, still birth
สาเหตุ
การไม่เข้ากันของกลุ่มเลือดRh ของมารดาและทารกในครรภ์ Rh เป็นAntigen ตัวหนึ่งที่มีเม็ดเลือดแดงพบในคนผิวขาวร้อยละ85และร้อยละ95 พบในคนผิวดํา
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกายทารกมีภาวะโลหิตจาง นถึงซีดมาก ตัวบวมน้ํา ตับม้ามโต และเหลืองเร็วมาก มีอาการรุนแรงจนทําให้เกิดhydrops fetalis
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลการตรวจCoombs’ testให้ผลบวกอย่างรุนแรง
ผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดพบ hematocrit ต่ํามากreticulocyte countสูง peripheralblood smear พบลักษณะของsevere hemolysis
ระดับของbilirubin มีถึง180 mg% ในทารกแรกเกิดที่คลอดครบกําหนดทําให้เกิดภาวะKernicterus ทําให้มีการเกาะกับNucleus ของcell สมองทําให้มีอาการทางระบบประสาทเกิดขึ้น
การซักประวัติการตรวจกลุ่มเลือด ทั้งของสตรีตั้งครรภ์และคู่สมรสเกี่ยวกับการไม่เข้ากันของกลุ่มเลือดระบบ Rhโดยมารดาทมี Rh negative และทารกในครรภ์ Rh positive
การรักษาและการพยาบาล
เฝ้าระวังและตรวจหา antibodies ในหญิงตั้งครรภ์ และการดูแลสุขภาพของทารก
การเจาะเลือดครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ เพื่อตรวจหาหมู่เลือด Rh typing เพื่อหา antibodies ในมารดาการตรวจหา antibodies screening อีกทั้งการให้ RhoGAM จะให้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มี Rh negative ที่มีความเสี่ยง
ตรวจ Indirect Coomb’s test อีกครั้ง เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ หากไม่พบว่ามี antibodies ควรให้ RhoGAMเพื่อป้องกันการสร้าง antibodies
รให้คําแนะนําเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจถึงแผนการรักษา จะช่วยลดความกลัวและความวิตกกังวลได้ และควรบอกให้ทราบถึงผลของ RhoGAM ว่าไม่มีผลใดๆ ต่อมารดาและทารกในครรภ์
ป้องกันการเกิด Isoimmunization จะเกิดขึ้นเมื่อหญิงตั้งครรภ์มี Rh negative และทารกมี Rh positive ในขณะตั้งครรภ์เม็ดเลือดแดงที่มี Rh positive ของทารกจะผ่านรกเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดของมารดาทําให้เกิดการสร้าง antibodiesจะไปจับและทําลายเม็ดเลือดแดงของทารก