Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบต่อมไร้ท่อ Edocrine system, ธัญลักษณ์ เศรษฐบุตร ม.5/1 เลขที่ 29 -…
ระบบต่อมไร้ท่อ Edocrine system
หน้าที่และความสำคัญ
ต่อมไทรอยด์
ความสำคัญ
ควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่างๆ ,ระดับไขมันในเลือด ,ระบบย่อยอาหาร ,การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ,การทำงานของกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่มีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บ
หน้าที่
ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด
ต่อมพาราไทรอยด์
ความสำคัญ
ช่วยทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นถ้าระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ฮอร์โมนจะรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด โดยทำงานตรงข้ามกับแคลซิโทนิน จากต่อมไทรอยด์
หน้าที่
ผลิตพาราทอร์โมน (PTH) หรือ พาราไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของแคลเซียม และฟอสฟอรัส ในเลือด และเนื้อเยื่อให้ปกติ
ต่อมไพเนียล
ความสำคัญ
ควบคุมการหลับ อารมณ์ การเข้าสู่วัยหนุ่มสาว และการสืบพันธุ์
หน้าที่
หน้าที่ของต่อมไพเนียลยังไม่ทราบแชัด แต่จากการศึกษาพบว่า ต่อมไพนียลผลิต และหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ความสำคัญ
กระตุ้นให้มดลูกหดตัว เป็นระยะๆ เมื่อหญิงตั้งครรถ์ใกล้คลอดและทำหน้าที่กระตุ้นการดูดซึมน้ำกลับสู่กระแสเลือดบริเวณท่อรวมของหน่วยไต ซึ่งช่วยรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย
หน้าที่
เก็บและหลั่งฮอร์โมนที่สร้างมาจากปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์จากสมองส่วนไฮโปทาลามัส คือ Oxytocin และวาโสเพรสซิน (ADH)
ต่อมไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
ความสำคัญ
ลดระดับน้ำตาล glucose ในเลือด ,กระตุ้นการสร้างโปรตีนจากกรดอะมิโน , กระตุ้นการสร้างไขมันจากกรดไขมัน
หน้าที่
สร้างฮอร์โมนชื่อ อินซูลิน
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
หน้าที่
สร้างฮอร์โมน Growth Hormone , Goadotrophin ,Prolactin , Adrenocorticotrophin ,
Thyroid Stimulating Hormone
ความสำคัญ
ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย , กระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์ , กระตุ้นการสร้างน้ำนมหลังคลอด , กระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งตามปกติ , กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั้งฮอร์โมนปกติ และระงับความเจ็บปวด
ต่อมไทมัส
ความสำคัญ
สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ชนิด ที หรือ เซลล์ ที (T - cell ) การแบ่งเซลล์และพัฒนาการของ ลิมโฟไซต์ชนิดที อาศัยฮอร์โมนไทโมซิน (thymosin) ซึ่งสร้างจากเซลล์บางส่วนของต่อมไทมัส ดังนั้นไทโมซินจึงเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
หน้าที่
สร้างฮอร์โมนไทโมซินซึ่งมีโครงสร้างเป็นสาย พอลิเปปไทด์ ที่มีกรดอะมิโนต่อกันเป็นสาย มีโครงสร้างหลายแบบ เช่น ไทโมซินแอลฟาหนึ่ง และไทโมซินเบตาสี่
ต่อมหมวกไต
หน้าที่
ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลแลฮอร์โมนอะดรีนาลีน
ความสำคัญ
หลั่งฮอร์โมนหลายชนิด ทั้งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิตและระดับโซเดียมในเลือด
อ้างอิง
http://119.46.166.126/self_all/selfaccess11/m5/biology5_1/lesson5/more/19.php
http://www.bknowledge.org/link/page/health/files/12.html
https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services-th/dm-and-endocrinology-center-th/item/1798-thyroid-disorders-th.html
https://sites.google.com/site/rabbtxmrithx11609/home/txm-thi-mas-thymus-gland
https://www.phukethospital.com/th/news-events/diabetes/
https://www.phyathai.com/article_detail/2977/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
โรคที่เกี่ยวข้อง
เบาหวาน
ปัจจัยการเกิด
กรรมพันธุ์
น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย
อายุที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากขึ้น
อายุที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากขึ้น
การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อตับอ่อน
ความเครียดเรื้อรัง
การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นหรือการตอบสนองของอินซูลินได้ไม่ดี
การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน
ลักษณะอาการ
ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน , กระหายน้ำ , อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด , หิวบ่อย รับประทานเก่งขึ้น , คันตามตัว ติดเชื้อได้ง่าย เป็นเชื้อรา ตกขาวบ่อย , ตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน , ปลายมือ ปลายเท้าชาอันเนื่องมาจากปลายประสาทเสื่อม
แนวทางการรักษาและการป้องกัน
แนวทางการรักษา
การรักษาแบบไม่ใช้ยา (non pharmacologic treatment)
การรักษาแบบใช้ยา (pharmacologic treatment)
การป้องกัน
ควบคุุมน้ำหนักและอาหาร , ออกกำลังสม่ำเสมอ , งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
ไทรอยด์
ลักษณะอาการ
ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
น้ำหนักขึ้น เบื่ออาหาร เพลียง่าย ง่วงนอนบ่อย ผิวแห้ง ท้องผูกบวม หนาวง่าย
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์
นื้อเยื่อที่โตผิดปกติ โดยที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาจทำให้เสียงแหบ กลืนอาหารหรือของเหลวลำบาก เนื่องจากไทรอยด์มีขนาดที่โตจนไปเบียดอวัยวะแถวลำคอ
ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง
เหนื่อยง่าย มือสั่น ใจสั่น น้ำหนักลดลง รู้สึกหิวบ่อย รับประทานเก่ง ขับถ่ายบ่อยผิดปกติ ผมร่วง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ร้อนง่าย
ต่อมไทรอยด์อักเสบ
เจ็บที่บริเวณต่อมไทรอยด์ อาจมีก้อนเนื้อหรือไม่มีก็ได้ มีไข้ขึ้น
แนวทางการรักษาและการป้องกัน
การรักษา
ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
การให้ฮอร์โมนเสริมไทรอยด์ เพื่อให้ฮอร์โมนในร่างกายปรับเข้าสู่ภาวะปกติ
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์
หากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ใหญ่จนเกินไป หรือมีภาวะความเสี่ยงว่าเป็นเนื้อเยื่อไม่ดีควรทำการผ่าตัด
ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง
รับประทานยาเพื่อรักษาลดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์หากมีคอโตมากจนผิดปกติควรทำการผ่าตัด
ต่อมไทรอยด์อักเสบ
รับประทานยาเพื่อลดอาการอักเสบ
การป้องกัน
ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ , หากมีอาการผิดปกติ เช่น เป็นไข้ น้ำหนักลด หรือน้ำหนักขึ้นอย่างผิดปกติ เหงื่อออกง่าย ควรรีบเข้าพบแพทย์ , ทานอาหารที่ปรุงสุกให้ครบ 5 หมู่ , ออกกำลังกายเป็นประจำ
ปัจจัยการเกิด
พันธุกรรรม , การสูบบุหรี่ , การดื่มแอลกอฮอลล์ , อดหลับ อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอบ่อยๆ , มีภาวะความเครียดสูง
ธัญลักษณ์ เศรษฐบุตร ม.5/1 เลขที่ 29