Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases) หรือ NCDs - Coggle…
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
(non-communicable diseases) หรือ NCDs
โรคความดันโลหิตสูง
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
พันธุกรรม
ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคความดันสูงมีโอกาสเป็นโรคได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
พฤติกรรม
รับประทานอาหารมีโซเดียมสูง
ทำให้ร่างกายเกิดภาวะบวมน้ำ ซึ่งจะไปเพิ่มความดันโลหิตในร่างกายให้สูงขึ้น
รับประทานอาหารมีโพแทสเซียมต่ำ
ช่วยให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับปริมาณโซเดียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
ระบบหมุนเวียนเลือดต้องขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปให้เนื้อเยื่อภายในร่างกายมากขึ้น หัวใจต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดมากขึ้น
สูบบุหรี่หรือยาสูบ
สารที่อยู่ในบุหรี่และยาสูบเหล่านี้จะเพิ่มความดันโลหิตในร่างกายให้สูงขึ้น
ขาดการออกกำลังกาย
ทำให้อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำให้หัวใจต้องใช้แรงดันเพิ่มมากขึ้น
โรคเรื้อรังบางชนิด
โรคไต
โรคเบาหวาน
อายุ
อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูงมากขึ้นตามไปด้วย
เพศ
เพศชายประมาณ 45 ปีขึ้นไป,เพศหญิง 60-65 ปีขึ้นไป
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
อัตราการป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร 100,000 คน ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2558 – 2560) เพิ่มขึ้นจาก 916.89 (จำนวน 540,013 คน) เป็น 1,353.01 (จำนวน 813,485 คน)
ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 (ชายร้อยละ 21.5และหญิงร้อยละ 21.3) เป็นร้อยละ 24.7 (ผู้ชายร้อยละ 25.6 และผู้หญิงร้อยละ 23.9)
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ
BMI18.5-22.9 kg/m^2
การออกกำลังกาย
ออกกำลังกายความหนักระดับปานกลาง (ออกกำลังกายจนชีพจรเต้น ร้อยละ 50-70 ของชีพจรสูงสุดตามอายุ) อย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ5วัน เพื่อสุขภาพที่ดี โดยในแต่ละวันอาจแบ่งออกกำลังกายเป็นช่วงเวลาส้ันๆ คร้ังละ 10 นาที วันละ 3 คร้ัง
การจำกัดโซเดียมในอาหาร
บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,300 มก./วัน
การรับประทานอาหารตามแนวทาง DASH (Dietary Approaches to Stop Hypertension)
ผัก 5 ส่วนต่อวัน
ผลไม้ 4 ส่วนต่อวัน
นมไขมันต่ำและผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ 2-3 ส่วนต่อวัน
ธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง 7 ส่วนต่อวัน
การจำกัดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในกรณีที่ไม่ดื่มแอลกอฮอลอ์ยู่แล้วไม่แนะนำให้ดื่ม
ถ้าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรจำกัดปริมาณ ดังนี้
ผู้หญิงไม่เกิน 1 ดื่มมาตรฐาน/วัน
ผู้ชายไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐาน/วัน
1 ดื่มมาตรฐาน์ หมายถึง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ 10 กรัม
การหยุดบุหรี่
อาจไม่ได้มีผลต่อการลดความดันโลหิตโดยตรงแต่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
โรคอ้วน
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
พฤติกรรมการบริโภค
บริโภคอาหารมากเกินความจำเป็นโดยเฉพาะอาหารหวาน มัน เค็ม พฤติกรรมรับประทานอาหารพลังงานสูง อาหารหวาน/น้ำหวานในรูปต่างๆ เพิ่มขึ้น
ขาดการออกกำลังกาย
ไม่มีเวลาออกกำลังกาย พฤติกรรมทำงานใช้กำลังกาย ร่างกายไม่พร้อม
กรรมพันธุ์
อุปนิสัยคล้ายหรือเหมือนกัน ของคนในครอบครัว
ปัญหาสุขภาพ
โรคถุงน้ำในรังไข่ กลุ่มอาการคุชชิ่ง ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
ยาบางชนิด
ยาจิตเวช ยากันชัก อินซูลิน สเตียรอยด์
อายุ
อายุมากขึ้น การเผาผลาญพลังงานของร่างกายจะช้าลงจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วน โดยเฉพาะในหญิงวัยทอง
พักผ่อนไม่เพียงพอ
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
ความชุกของภาวะอ้วน (BMI ≥25กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ในประชากรอายุตั้งแต่15 ปีขึ้นไป จากร้อยละ34.7 ในปี2552 เพิ่มเป็นร้อยละ37.5 ในปี2557
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
ออกกำลังกาย
ระยะเวลาในการออกกำลังกาย ควรใช้เวลาอย่างน้อย 20 – 30 นาทีขึ้นไป
ก่อนออกกำลังกาย ควรมีการยืดกล้ามเนื้อ 5 – 1 0 นาที ให้พร้อมก่อน เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกายและทำให้กล้ามเนื้อเตรียมพร้อมในการที่จะออกกำลังกาย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้ถูกต้อง
โรคเบาหวาน
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
โรคเบาหวาน5 ในปี พ.ศ.2559 พบว่ามีการ เสียชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานเป็นจำนวนประมาณ 76,000 ราย หรือมากกว่า 200 รายใน แต่ละวัน
ความชุกของโรคเบาหวานอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จากร้อยละ 6.9 ในปี2547 เพิ่มเป็นร้อยละ 8.8 ในปี2557 โดยผู้หญิงเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 9.8 ขณะที่ผู้ชายเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 7.8 และกลุ่มอายุ60-69 ปี มีความชุกของโรคเบาหวานสูงที่สุด
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
กรรมพันธุ์
น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย
อายุที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากขึ้น
โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ ได้รับการผ่าตัดตับอ่อน
การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อตับอ่อน
ความเครียดเรื้อรัง
การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นหรือการตอบสนองของอินซูลินได้ไม่ดี
การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
1)การรับประทานอาหาร
จํากัดปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละครั้งโดยที่ไม่รับประทานอาหารมากจนเกินไปรับประทานเพียงเล็กน้อยแต่ไม่ใช่งดอาหารนั้นไปเลย
2)การควบคุมนํ้าหนักตัว
การควบคุมอาหารและการออกกําลังกายประเมินผลการควบคุมนํ้าหนักตัวโดยการชั่งนํ้าหนักตัวอย่างสมํ่าเสมอ
3)การออกกําลังกาย
ออกกำลังกายหนักปานกลาง 150 นาที/สัปดาห์ โดยออกกำลังกายวันละ 30-50 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ ในแต่ละวันอาจแบ่งเป็น 2-3 ครั้งได้ หรือออกกำลังกายระดับหนักมาก 75 นาที/สัปดาห์ ควรกระจายอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ และไม่งดออกกำลังกายติดต่อกันเกิน 2 วัน
4)การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล
ไม่แนะนำให้ดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าดื่ม ควรจำกัดปริมาณไม่เกิน 1 ส่วน/วัน สำหรับผู้หญิง และ 2 ส่วน/วัน สำหรับผู้ชาย
ถ้าดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ควรรับประทานอาหารร่วมด้วย เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
โรคตับแข็ง
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
ค.ศ. 2004 พบอัตราการตายในผู้ป่วยตับแข็งในเพศชายและหญิงรวมร้อยละ 7.28 และในปีค.ศ. 2009 พบอัตราการตายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.72
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
โรคตับจากดื่มแอลกอฮอล์
หยุดการดื่มแอลกอฮอล์
โรคตับจากไวรัสตับอักเสบบีและซี
รักษาด้วยยาต้านไวรัส
ไขมันพอกตับ
คุมอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและไขมัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ถ้าอ้วนหรือน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก
ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารครบหมู่ สารอาหารและพลังงานเพียงพอ ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
ดื่มแอลกอฮอล์จัดติดต่อกันเป็นเวลานาน
โรคไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
โรคต่างๆ ของท่อน้ำดี
ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง ท่อน้ำดีอุดตัน นิ่วในถุงน้ำดี
ร่างกายมีธาตุเหล็กสูง
โรควิลสัน (Wilson’s disease)
โรคตับอักเสบจากภูมิต้านตนเอง
โรคไขมันพอกตับ (Fatty liver)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบแบบหดรั้งเรื้อรัง
ตับติดเชื้อบางชนิด
ติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis)
การใช้ยาเกินขนาดหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน
ได้รับสารเคมีหรือสารพิษบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
โรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
อายุ
ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีเนื่องจากอายุมากขึ้นหลอดเลือดจะมีการแข็งตัวมากขึ้น และมีไขมันเกาะหนาตัวทำให้เลือดไหลผ่านได้ลำบากมากขึ้น
เพศ
เพศชาย มีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้
ความดันโลหิตสูง
ทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ หลอดเลือดจึงแตกได้ง่าย
เบาหวาน
ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น และตีบแคบทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ไขมันในเลือดสูง
โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ทำให้เกิดเป็นก้อนไขมันเกาะติดกับผนังหลอดเลือด ทำให้ หนาตัวขึ้นและหลอดเลือดตีบแคบ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
การสูบบุหรี่
จะลดปริมาณออกซิเจน และเพิ่มความหนืดของหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่เพียงพอโดยเฉพาะสมอง
โรคหัวใจ
เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตมากขึ้น
อัตราชุก/อุบัติการณ์การเกิดโรค
ปี 2563 จำนวน 800,749 รายและเสียชีวิตด้วยโรคนี้ จำนวนถึง 41,840 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 5.58 เพิ่มขึ้น จากในปี 2559 มีจำนวน 172 ราย เพิ่มเป็น 189 รายในปี 2563
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะส่งผลให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง รวมถึงอาหารที่มีรสเค็มจัด ที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
ควบคุมน้ำหนัก โรคอ้วนเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงต่าง ๆ รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง การควบคุมน้ำหนักจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยควรเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก
งดสูบบุหรี่
ควรรับการตรวจรักษาต่อเนื่องกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆโดยการใช้ยาร่วมกัน
การให้ยาควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
กรณีเป็นโรคหัวใจ ควรรับการรักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง โดยกรณีเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะควรได้รับยาป้องกันเลือดแข็งตัว
ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยความดันโลหิตที่เหมาะสม คือ ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยควบคุมอาการได้และทำให้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง