Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก, ด1, ด3, ด4, ด6, ด7, ด8, ด9, ด10,…
การสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก
1.การสำลักสิ่งแปลกปลอมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ซึ่งสาเหตุหลักเกิดขึ้นเพราะว่าเด็กวัยดังกล่าวมีพัฒนาการที่ชอบหยิบจับสิ่งของเล็ก ๆ เข้าปาก ซึ่งตำแหน่งที่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดบ่อยคือ หลอดลม ส่วนตำแหน่งที่พบการเสียชีวิตมากที่สุดคือ ตำแหน่งระหว่างกล่องเสียงและหลอดลม เพราะจะเกิดการอุดกั้นอย่างสมบูรณ์
2.อาการและอาการแสดง
2.1สิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่ มักติดที่บริเวณช่องเปิดของสายเสียงบริเวณกล่องเสียง ผู้ป่วยจะมีอาการ หอบ หายใจมีเสียงดังฮึด หากเกิดการอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ จะทำให้ร้องไม่มีเสียง เกิดภาวะ cyanosis และหมดสติ
2.2สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก มักหลุดไปยังทางเดินหายใจส่วนล่าง จะทำให้หายใจมีเสียง wheezing
อาการที่ควรนำมาพบแพทย์ด่วน!!
หอบเหนื่อยเฉียบพลัน
ตัวเขียว (cyanosis)
หมดสติ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมแบ่งได้ 3 ระยะ
ระยะที่ 1
มีอาการไออย่างรุนแรง
มีอาการหายใจไม่ออก
มีอาการขย้อน
มีเสียงหายใจดังฮึด หรือเสียง wheezing
หากสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่ จะเกิดการอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยจะหมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ระยะที่ 2 ช่วงไม่แสดงอาการ ระยะนี้สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กอาจเกาะนิ่ง อยู่ที่ผนังหลอดลม ทำให้อาการแสดงและอาการระคายเคืองลดลง
ระยะที่ 3 ระยะที่มีภาวะแทรกซ้อน
ติดเชื้อตามหลังการสำลักสิ่งแปลกปลอม
มีไข้สูง
ไอเรื้อรังหรือไอปนเลือด
ปอดอักเสบ หรือมีภาวะปอดแฟบได้
3.การวินิจฉัย
3.1.ซักประวัติ หากผู้ป่วยมีประวัติการสำลักสิ่งแปลกปลอม จะทำให้สามารถหาข้อวินิจฉัยได้เร็วขึ้น สามารถใช้เป็นเหตุผลในการส่องกล้องหลอดลมได้
3.2.การตรวจร่างกาย ขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของสิ่งแปลกปลอม ที่เข้าไปในทางเดินหายใจแบ่งเป็น
การอุดกั้นอย่างสมบูรณ์ คือไม่มีลมผ่าเข้าไปในทางเดินหายใจได้ มักเกิดที่กล่องเสียง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้
การอุดกั้นบางส่วน คือยังมีลมผ่านจุดที่อุดกั้นได้ มักพบที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ผู้ป่วยจะหายใจมีเสียง wheezing หรือหายใจเบาลง
3.3.การตรวจทางรังสีวิทยา
1.การถ่ายภาพรังสีทรวงอก หากมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ จะมีเงาของลมในปอดเพราะมีการอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอม
2.การถ่ายภาพทางเดินหายใจส่วนบน หากมีสิ่งแปลกปลอมจะพบเงาของสิ่งแปลกปลอมในหลอดลมข้างที่เกิดการอุดกั้น
การส่องกล้องในทางเดินหายใจ หากการถ่ายภาพทรวงอกไม่พบความผิดปกติ หากมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่จะพบว่าภายในหลอดลมมีสิ่งแปลกปลอมเบียดอยู่
4.การรักษา
4.2 ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่หายใจและไอ พูดไม่มีเสียง เกิดภาวะ cyanosis ถือว่าผู้ป่วยมีการอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์
หากไม่สามารถนำสิ่งแปลกปลอมออกได้ ให้ทำ needle cricothyrotomy เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย จากนั้นให้ส่องกล้องหลอดลมแบบฉุกเฉินต่อไป
การส่องกล้องทางเดินหายใจ หากพบสิ่งแปลกปลอมให้คีบออกทันที
ในเด็กอายุ > 1 ปี ให้ทำ Heimlich maneuver หรือ sub diaphragmatic abdominal thrust
ในเด็กอายุ < 1 ปี ให้ทำ back blows 5 ครั้ง และ chest thrusts 5 ครั้ง
4.1. หากผู้ป่วยยังไอได้ หายใจเสียงดังหรือหายใจมีเสียง wheezing ถือว่าผู้ป่วยอาจเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน ให้รีบสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและรีบส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการส่องกล้องให้เร็วที่สุด
ห้าม!! ทำการภาพบำบัด หรือพ่นยาขยายหลอดลม เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์ได้
5.ภาวะแทรกซ้อน หากการวินิจฉัยล่าช้า หรือ สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กติดค้างอยู่เป็นเวลานานจะทำให้เกิด ปอดอักเสบ หรือบางรายมีการอุดกั้นหลอดลมเรื้อรังจนเกิดภาวะหลอดลมโป่งพองได้
6.การป้องกัน
6.1จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย โดยเก็บสิ่งของหรือของเล่นชิ้นเล็กให้พ้นมือเด็ก
6.2เลือกอาหารให้เด็กทานอย่างเหมาะสม เพราะเป็นสาเหตุหลักของการสำลักบ่อยที่สุด ไม่ควรให้อาหารประเภท ถั่ว เมล็ดผลไม้ ลูกกวาด
6.3 ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/พี่เลี้ยงเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก และอาการสำคัญที่ควรมาพบแพทย์
สรุป การสำลักสิ่งแปลกปลอมเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ควรรีบส่งต่อเข้ารับการรักษาด้วยการส่องกล้อง การป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญโดยการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่เป็นกลุ่มเสียง
https://www.youtube.com/watch?v=F_PV7N2c2pQ