Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย - Coggle Diagram
การตรวจร่างกาย
ช่องท้อง (Abdomen)
-
-
- การคลำตับ : ใช้มือซ้ายรองรับทางด้านหลังผู้ป่วย มือขวาวางราบบน
ผนังหน้าท้อง ให้ปลายนิ้วชี้ไปทางศีรษะผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยงอเข่าขวาเล็กน้อย และหายใจเข้า-ออกลึก ๆ ช้า ๆ ทางปาก เริ่มคลำจากหน้าท้องด้านขวาล่าง แล้วค่อย ๆ เคลื่อนขึ้นข้างบนเข้าหาชายโครงจนนิ้วคลำพบขอบตับ
- Tenderness : กดเจ็บเฉพาะที่หรือทั่วไป แสดงว่ามี
พยาธิสภาพของอวัยวะตำแหน่งที่กดเจ็บ
- Rebound tenderness : รู้สึกเจ็บเมื่อผู้ตรวจเอามือกด
ลึก ๆ และปล่อยโดยเร็ว แสดงว่ามีการอักเสบของ Parietal peritoneum บริเวณนั้น
- Deep Palpation : วิธีการที่ใช้ตรวจอวัยวะที่โตกว่าปกติและคลำหาก้อน
ตา (Eye)
- คิ้ว (eye brow): การกระจายของคิ้ว การหลุดร่วง หยาบ แห้ง
- เปลือกตา (eye lid): หนังตาตกหรือไม่ (Ptosis)
- ขนตา (eye lash ): กระจายของขนตา มีขนตาม้วนเข้าข้างในหรือไม่
- กระจกตา ( cornea): ปกติเรียบ ใส มีขอบสีขาวรอบๆพบในผู้สูงอายุ(Arcus senilis)
- ตาขาว (sclera): เหลืองหรือไม่ (Icteric sclera)
- รูม่านตา (pupil): ดูสี ขนาด ตำแหน่ง รูปร่าง ปฏิกิริยาต่อแสง
(direct light reflex) และ consensual light reflex
- เลนส์ ( lens) : ใส สะท้อนกับแสงไฟฉาย
- Extraocular movement: EOM : ดูการเคลื่อนไหวของลูกตา 6 ทิศทางให้ผู้ถูกตรวจมองตามนิ้วของผู้ตรวจ สังเกตว่าตาของผู้ถูก
ตรวจเคลื่อนไหวเป็นอย่างไร
- ตรวจ visual eye field : ให้ผู้ถูกตรวจมองที่
ปลายจมูกของผู้ตรวจ ผู้ตรวจยื่นมือไปสุดแขน จากนั้นค่อยๆกระดิกนิ้ว
มาจนกระทั่งผู้ถูกตรวจเห็น
- ตรวจ accommodation : ผู้ถูกตรวจจ้องมองที่ปลายนิ้ว หรือปลายดินสอ ห่างประมาณ 2 ฟุต
จากนั้นผู้ตรวจเคลื่อนปลายนิ้วหรือปลายดินสอเข้าดั้งจมูก
-
คอ (Throat)
- การตรวจหลอดลม (Trachea) :ให้ผู้ป่วยก้มคอเล็กน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid หย่อนตัว จากนั้นให้ใช้นิ้วชี้และ
นิ้วกลางของมือที่ถนัด แยงที่ส่วนของ suprasternal notch จะ
รู้สึกนุ่มอยู่บริเวณตรงกลาง
- การคลำกล้ามเนื้อ Trapezius :ผู้ตรวจวางมือบนไหล่ทั้ง 2 ข้าง จากนั้น ให้ผู้ป่วยยกไหล่ต้านแรงผู้ตรวจ
- การคลำกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid :ให้ผู้ป่วยหันศีรษะไปด้านตรงข้าม ผู้ตรวจวางมือบริเวณคางและแก้ม จากนั้นบอกให้ผู้ป่วยหันศีรษะกลับผู้ตรวจใช้มือดัน
การตรวจต่อมไทรอยด์ : ผู้ตรวจอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้ ใช้หลักการเดียวกันคือ สอดมือเข้าใต้ Sternocleidomastoid และคลำขณะที่ผู้ป่วยกลืนน้ำลาย
หู(Ear)
- ใบหู :ดูและคลำตำแหน่ง รูปร่าง และสิ่ง
ผิดปกติ เช่น ก้อนไขมัน ถุงน้ำ ฝี เป็นต้น
- รูหู ตรวจดูว่า มีขี้หู (ear wax or cerumen) มีแผลในช่องหู ฝี
หรือไม่
ปาก (Mouth)
ดูริมฝีปาก ว่าซีด แดง เขียวหรือไม่
เหงือก เยื่อบุกระพุ้งแก้มมีแผลหรือไม่ ผนังคอแดงหรือมีหนองหรือไม่
ต่อมทอนซิลโต แดงหรือไม่
จมูก(Nose)
ดูสันจมูก ดูลักษณะภายในโดยเปิดปลายจมูกด้วยนิ้วหัวแม่มือ
ใช้ไฟฉายส่องดู vestibule, nasal septum, turbinate ว่า
บวม แดง ซีด มีริดสีดวงจมูก มีน้้ำมูก
หัว (Head)
- ดูรูปร่าง ลักษณะผม เส้นผม มัน
ละเอียด หรือหยาบแห้ง
ผมร่วงหรือไม่ ถ้าคลำพบก้อนต้องทดสอบว่า
กดเจ็บหรือไม่ ขนาด รูปร่าง ความนุ่มแข็ง