Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
(Hepatitis B virus)
พยาธิสรีรภาพ
ระยะที่สอง
ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อจะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อ
จะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน
ระยะที่สาม
ระยะที่ anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ
ระยะแรก
ได้รับเชื้อ Hepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติ
ระยะที่สี่
ระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทำให้เกิดการ
อักเสบของตัมีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับบขึ้นมาอีก
อาการและอาการแสดง
เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน) ดังนั้นในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะ
ไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่ม้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลำพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
และทารกที่คลอดมา มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้
การพยาบาล
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด โดยฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก เนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านน้ำนมพบได้น้อยมาก
. แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนำบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อติดตามอาการและป้องกันการติดเชื้อ
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ
(hepatitis A virus: HAV)
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV) ติดต่อโดย
การรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคตับอักเสบเอเข้าไป
เชื้อไวรัสจะผ่านกระเพาะไปยังลำไส้
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การพยาบาล
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
. อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม
หัดเยอรมัน
(Rubella/German measles)
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังการรับเชื้อหัดเยอรมันเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแพร่กระจายไปทางกระแสเลือดเชื้อหัดเยอรมัน
จะเข้าไปทำลายผนังหลอดเลือดและเนื้อรกทำให้เนื้อรกและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย ส่วนในทารกเชื้อ
จะเข้าไปในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว ทำให้เซลล์ติดเชื้อ ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
การสร้างอวัยวะต่าง ๆ บกพร่อง เกิดเป็นความพิการแต่กำเนิด
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย โดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้า
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทำให้เกิดการแท้ง ตายคลอด หรือพิการแต่กำเนิด
การพยาบาล
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดำเนินของโรค ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และ
ต่อทารกในครรภ์และการรักษาพยาบาล
รายที่ตัดสินใจดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ และคลอดทารกที่มีความพิการ ดูแลด้านจิตใจของมารดา
และครอบครัวโดยเปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดและครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถาม
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนำ
ให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีน
เพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน
โดยก่อน ฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
สุกใส
(Varicella-zoster virus: VZV)
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ ตอนเป็นตุ่มน้ำจะรู้สึกคันมาก โดยตุ่มจะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน หลังจากนั้นจะพัฒนาไปเป็นตุ่มหนอง และแห้งลงจนตกสะเก็ดในที่สุด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อสุกอีใสในผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์
ซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม
บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทำให้ซึมลง และมีอาการชัก ทำให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
ความผิดปกติของตา (ต้อกระจก) สมอง (ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ)
แขนขาลีบเล็ก และผิวหนังผิดปกติ
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์
การพยาบาล
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค
การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันทีหากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5 วันก่อนคลอดถึง 2 วันหลังคลอด
เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด และมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ
แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
มีพาหะหลักคือ แมว ส่วนพาหะชั่วคราวคือ หนูกระต่าย แกะ รวมทั้งคน
การติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผัก หรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มีoocyte ของเชื้อ
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification)
ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
การพยาบาล
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด
การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส
(Cytomegalovirus: CMV)
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ
ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลง หากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่ มีการติดเชื้อซ้ำ หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์
จะมีทำให้การดำเนินของโรครุนแรงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดา
ในครรภ์ในระยะคลอด ในระยะให้นม การถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ เพศสัมพันธ์ทางหายใจ
(โดยสัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส (โดยสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ)
การพยาบาล
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธุ์
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสำคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง
ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
จะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วันหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยในคือ
มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด
ผลกระทบต่อทารก
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
มียุงลายเป็นพาหะนำโรคโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)
และไข้เหลือง สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด
และโรคนี้ยังสามารถติดต่อ จากคนสู่คนได้โดยผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
การพยาบาล
เน้นย้ำการมาตรวจครรภ์ตามนัด เพื่อประเมินสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ หรืออาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้
ควรรีบปรึกษาแพทย์ และเข้ารับการรักษาทันที
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา
และไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกในอวัยวะภายในได้
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป เน้นย้ำการรับประทานอาหาร
ที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ในแม่ที่พ้นระยะการติดเชื้อสามารถให้เลี้ยงนมมารดาได้
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
อาการและอาการแสดงของโรค ความรุนแรงของโรค
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์
(COVID-19 during Pregnancy)
SARS-CoV-2 การติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม อาการของโรคคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของ
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ทำให้การดำเนินของโรครุนแรงขึ้นเนื่องจากภูมิต้านของร่างกายขณะตั้งครรภ์
ลดต่ำลง สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อ COVID-19
ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งที่มีการไอจาม
สัมผัสสิ่งแปลกปลอม ก่อนรับประทานอาหาร หรือออกจากห้องน้ำ
ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ถ้ามีอาการไอ จาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ำนม ดังนั้นจึงสามารถกินนมแม่ได้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้
หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการ
เฝ้าระวัง 14 วัน เพื่อพิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่