Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่9 การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์🦠🤱🏻🤰🏻 -…
บทที่9
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์🦠🤱🏻🤰🏻
9.1 การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection during pregnancy)
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคที่สําคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่ภายในกรวยไตจนถึงท่อ ไต โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากโดยเฉพาะด้านขวา ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ร่วมกับการถูก กดทับของมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทําให้มีการคั่งของน้ําปัสสาวะในไต ท่อไต ค้างอยู่นาน
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต ในไตมีระบบการหมุนเวียนของเลือดเพิ่มจึ้นประมาณร้อยละ 70-85 ทําให้ไตต้องปรับตัว และเพิ่มหน้าที่การกรองของไตขึ้นประมาณร้อยละ 45 ทําให้ระดับ creatinine และ BUN ในเลือดลดต่ำลง
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบขับถ่ายปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB) เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml (cfu/ml) จากการ เก็บปัสสาวะอย่างสะอาด 2 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ(Acutecystitis)เป็นการอักเสบของกระเพาะ ปัสสาวะ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ร่วมกับมีอาการเจ็บปวดขณะถ่าย ปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต(Acutepyelonephritis)เป็นการตรวจพบแบคทีเรียใน ปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว พบ ประมาณร้อยละ 1-4 ของการตั้งครรภ์
กลุ่มอาการโรคไตรั่วหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ(Nephroticsyndrome)เป็นพบโปรตีนใน ปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ำ ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ มีผลต่อการตั้งครรภ์คือทําให้ทารกในครรภ์น้ําหนักน้อย หรือคลอดก่อนกําหนด
ภาวะไตวาย (renal failure)
5.1 ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) มักมีสาเหตุมาจากโรคหลายอย่าง เช่น DM,SLE,glomerulonephritis ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์ได้ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด
5.2 ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) มักมีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ (septic abortion), preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia syndrome ปัจจุบันสามารถ ดูแลภาวะนี้ได้ดี ทําให้มารดาที่มีภาวะนี้ได้รับการดูแลและสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ โดยมีปัจจัยส่งเสริม คือ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์ ทําให้ท่อไตตึงตัว ทําให้การเคลื่อนไหวและการ หดรัดตัวของท่อไตลดลง ประสิทธิภาพในการดูดซึมกลับลดลง ทําให้ปัสสาวะค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทํางานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะได้ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะ ตั้งครรภ์ของไต
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI) เช่น ท่อปัสสาวะ อักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI) ได้แก่ กรวยไตอักเสบ โดยจะพบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ําล้างเนื้อ เจ็บบริเวณชายโครง ปวดหลังบริเวณตําแหน่งของไต มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน หากอาการรุนแรงอาจมีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก🤱🏻👩🏻🍼
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์🤰🏻
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจะกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ทําให้เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนด และ/หรือถุงน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลต่อทารก👼🏻
ทารกคลอดก่อนกําหนด ทารกน้ําหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
การพยาบาล🏥
ระยะตั้งครรภ์🤰🏻
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และ ทารก และแผนการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์คลายความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือในการดูแลรักษาพยาบาล
เน้นความสําคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ และทุกครั้งที่มากครรภ์ต้องประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์เพื่อคัดกรองการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
แนะนําการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป และเน้นเรื่องการทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ และในกรณีที่คลอดก่อนกําหนดเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิดให้พร้อม
ระยะหลังคลอด🤱🏻
1.การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและการป้องกนัการกลับเป็นซ้ำ
ให้คําแนะนําเช่นเดียวกับคําแนะนําเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการคุมกําเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกําเนิดแบบถาวร เพราะการตั้งครรภ์ จะทําให้โรครุนแรงมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อชีวิตของมารดาได้