Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection…
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection during pregnancy)
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคที่สําคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่ภายในกรวยไตจนถึงท่อไต
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต ในไตมีระบบการหมุนเวียนของเลือดเพิ่มจึ้นประมาณร้อยละ 70-85 ทําให้ไตต้องปรับตัว และเพิ่มหน้าที่การกรองของไตขึ้นประมาณร้อยล45
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ โดยมีปัจจัยส่งเสริม คือ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์ทําให้ท่อไตตึงตัว ทําให้การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตลดลง ประสิทธิภาพในการดูดซึมกลับลดลง ทําให้ปัสสาวะค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบขับถ่ายปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว พบประมาณร้อยละ 1-4 ของการตั้งครรภ์
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ(Nephrotic syndrome)
เป็นพบโปรตีนในปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ํา ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ร่วมกับมีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะจนต้องรีบปัสสาะ (urgency) ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือสีแดง (เกิดจากการมีเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวออกมากับปัสสาวะ) มีไข้สูง อ่อนเพลีย และปวดบริเวณท้องน้อย
ภาวะไตวาย (renal failure)
ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure)
มักมีสาเหตุมาจากโรคหลายอย่าง ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์ได้ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เลวลงอาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์
ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)
มักมีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ (septic abortion), preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia syndrome ปัจจุบันสามารถดูแลภาวะนี้ได้ดี ทําให้มารดาที่มีภาวะนี้ได้รับการดูแลและสามารถตั้งครรภ์ต่อไป
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)
เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml (cfu/ml) จากการเก็บปัสสาวะอย่างสะอาด 2 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอดหรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทํางานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะได้ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะตั้งครรภ์ของไต
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI) สตรีตั้งครรภ์จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ บางรายอาจพบปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ําล้างเนื้อ ปวดบริเวณหัวหน่าว
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI) ได้แก่ กรวยไตอักเสบ โดยจะพบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ําล้างเนื้อ เจ็บบริเวณชายโครงปวดหลังบริเวณตําแหน่งของไต มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน หากอาการรุนแรงอาจมีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอาจช็อกและเสียชีวิต
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย จะตรวจพบปัสสาวะขุ่น หรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ําล้างเนื้อ มีไข้ ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว หากกดบริเวณcostovertebral angle จะปวดมาก (positiveGoldflam sign or kidney punch)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจ urine analysis จะพบไข่ขาว เม็ดเลือดขาย ตรวจ urine culture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า105 dfu/ml ในรายที่มีการติดเชื้อที่กรวยไต ควรตรวจ urine culture เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกทุกรายและตรวจซ้ําเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์
การซักประวัติ ซักประวัติเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ ซักประวัติอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจะกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ทําให้เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด และ/หรือถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด ทารกน้ําหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
แนวทางการป้องกันและรักษา
การป้องกัน
แนะนําให้ดื่มน้ําอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ทําการคัดกรองการติดเชื้อตั้งแต่ต้น โดยตรวจเพาะเชื้อปัสสาวะ (urine culture) ในสตรีที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกทุกรายหรือทําเฉพาะในรายที่มีความเสี่ยง
แนะนําให้ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
การรักษา
รายที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อและปลอดภัยต่อมารดาและทารกมากที่สุด
รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายทางหลอดเลือดดํา และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดํา พร้อมทั้งส่งตรวจ Urine culture เมื่อตรวจไม่พบเชื้อในปัสสาวะจึงเปลี่ยนมาเป็นยาชนิดรับประทาน และติดตามผลการตรวจเพาะเชื้อเป็นระยะไปจนถึงหลังคลอด
รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB จําเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาทุกราย เพื่อป้องกันการเกิด upper UTI โดยให้ยาปฏิชีวนะได้แก่ ampicillin, cephalexin, amoxicillin และ nitrofurantoin หลังจากได้รับการรักษา 7 วัน ควรตรวจ urine culture เพื่อตรวจหาเชื้อโรคซ้ําจากนั้นตรวจทุกเดือนจนกระทั่งคลอด ถ้ายังตรวจพบเชื้ออาจจําเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะต่อในระยะยาว
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป และเน้นเรื่องการทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่ายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ และในกรณีที่คลอดก่อนกําหนดเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิดให้พร้อม
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
ให้คําแนะนําเช่นเดียวกับคําแนะนําเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการคุมกําเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกําเนิดแบบถาวร เพราะการตั้งครรภ์จะทําให้โรครุนแรงมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อชีวิตของมารดาได้
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ในรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ถึงความจําเป็นของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะรับประทานยา
ดื่มน้ําวันละ 8-10 แก้ว หรือ 2,000-3,000 มิลลิลิตร และไม่กลั้นปัสสาวะ
แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบาพบแพทย์
พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยแนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ
เน้นความสําคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ และทุกครั้งที่มากครรภ์ต้องประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เพื่อคัดกรองการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
กรณีที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้การพยาบาลดังนี้
ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารกเพื่อประเมินสภาวะของทารกในครรภ์ รวมทั้งเตรียมการตรวจและติดตามผลการตรวจต่าง ๆ
สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกจากร่างกาย และติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินการทํางานของไต
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ แนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับท่อไต
ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าในถึงความจําเป็นในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ดูแลประคับประคองจิตใจ ในรายที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ กรวยไตหรือไตอักเสบเฉียบพลัน จนกระทั่งไตวาย แพทย์อาจพิจารณาทําแท้งเพื่อการรักษา จึงควรเตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวให้พร้อม
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก และแผนการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์คลายความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือในการดูแลรักษาพยาบาล