Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแบ่งปันข้อมุล 8808-3 - Coggle Diagram
การแบ่งปันข้อมุล
เทคโนโลยีในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีพื้นที่ในการสื่อสาร และแบ่งปันข้อมูลได้มากขึ้น แต่การสื่อสารที่ดีนั้น ผู้ส่งสารควรมีความเข้าใจในรูปแบบการสื่อสาร รวมทั้งเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการสร้างสื่อในรูปแบบต่างๆ จากสารที่ต้องการ เพื่อให้ผู้รับได้รับสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็ว ในการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารควรจะต้องรู้ และมีความเข้าใจในองค์ประกอบและรูปแบบพื้นฐานในการสื่อสาร รวมถึงสามารถสร้างสารที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น บล็อก อินโฟกราฟฟิก วิดีโอ และแฟ้มผลงาน”
องค์ประกอบและรูปแบบพื้นฐานในการสื่อสาร
ปี พ.ศ.2492 มีการนำเสนอรูปแบบการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่ง ช่องทาง และผู้รับ เพื่ออธิบายรูปแบบการสื่อสารด้วยโทรศัพท์และวิทยุสื่อสาร ต่อมาในปี พ.ศ.2503 มีการขยายรูปแบบและองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร โดยเพิ่มสารเข้าไปในองค์ประกอบหลักด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานในการศึกษาด้านการสื่อสารมาจนถึงปัจจุบัน
-
-
ผู้ส่ง (sender) – ผู้ที่มีสารหรือเนื้อหาข้อมูล ต้องการส่งสารไปยังผู้รับ ผู้ส่งต้องเลือกรูปแบบและช่องทางที่เหมาะสมกับผู้รับสารในการสื่อสาร
-
ช่องทาง (medium) – วิธีการสำหรับส่งสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การโทรศัพท์ การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ การพูดคุยต่อหน้า โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5
ผู้รับ (receiver) – แปลความหมายสารที่ผู้ส่งนำเสนอ ซึ่งความสามารถในการแปลขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การศึกษา วุฒิภาวะ พื้นฐานทางสังคม ความเชื่อ
-
-
-
การแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวบางเรื่องสู่สาธารณะ เช่น การบอกว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน กับใคร นับเป็นการสร้างตัวตนดิจทัลและแบ่งปันข้อมูลสู่ชุมชนดิจิทัล หากเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยขาดความระมัดระวังอาจะทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นก่อนการแบ่งปันข้อมูลใดๆ ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์ – ข้อมูลที่เปิดเผยเฉพาะกลุ่มส่วนตัว อาจถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพราะข้อมูลดิจิทัลทำซ้ำได้ง่าย
ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย – ข้อมูลสุขภาพ การเงิน หมายเลขประจำตัวประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ สามารถถูกผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปแสวงหาผลประโยชน์ได้
ข้อมูลบางชนิดอาจะถูกนำมาใช้หลอกลวง – ข้อมูลทั่วไป เช่น อาชีพ การศึกษา ชื่อคนรู้จัก อาจถูกนำมาใช้ในการฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญไป เช่น ได้รับอีเมล์ปลอมจากธนาคารที่ระบุอาชีพได้ถูกต้อง ทำให้หลงเชื่อว่าธนาคารจริงๆ ติดต่อมา แล้วให้ข้อมูลสำคัญไปในอีเมล์ปลอม
การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย – ข้อมูล่วนตัวหรือข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย หากมีการเผยแพร่แล้วเกิดความเสียหาย ผู้แบ่งปันข้อมูลอาจถูกดำเนินคดีได้
-