Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแบ่งปันข้อมูล text - Coggle Diagram
การแบ่งปันข้อมูล text
ปี พ.ศ.2492 มีการนำเสนอรูปแบบการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่ง ช่องทาง และผู้รับ เพื่ออธิบายรูปแบบการสื่อสารด้วยโทรศัพท์และวิทยุสื่อสาร ต่อมาในปี พ.ศ.2503 มีการขยายรูปแบบและองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร โดยเพิ่มสารเข้าไปในองค์ประกอบหลักด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานในการศึกษาด้านการสื่อสารมาจนถึงปัจจุบัน
-
ช่องทาง (medium) – วิธีการสำหรับส่งสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การโทรศัพท์ การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ การพูดคุยต่อหน้า โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5
องค์ประกอบของการสื่อสาร ผู้ส่ง (sender) – ผู้ที่มีสารหรือเนื้อหาข้อมูล ต้องการส่งสารไปยังผู้รับ ผู้ส่งต้องเลือกรูปแบบและช่องทางที่เหมาะสมกับผู้รับสารในการสื่อสาร
ผู้รับ (receiver) – แปลความหมายสารที่ผู้ส่งนำเสนอ ซึ่งความสามารถในการแปลขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การศึกษา วุฒิภาวะ พื้นฐานทางสังคม ความเชื่อ
เทคนิคและวิธีการแบ่งปันข้อมูล
-
-
ในการแบ่งปันข้อมูลนั้น ผู้ส่งสารต้องจัดเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับช่องทางและผู้รับ โดยช่องทางในการสื่อสารแบ่งได้ดังนี้
-
การเขียนบล็อก
-
-
บล็อก (blog) มาจากคำว่า เว็บ-ล็อก (web-log) เป็นการเขียนบทความอธิบายหรือให้ข้อมูล เพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ให้บริการที่มีความนิยมหลายเว็บไซต์ เช่น Medium, Blognone, Dek-D ส่วนใหญ่เปิดให้เขียนบทความเผยแพร่ได้ฟรี ผู้ที่เข้าไปเชียนบล็อกและเผยแพร่ข้อมูล มีชื่อเรียกว่า บล็อกเกอร์ (blogger) หากบล็อกเกอร์คนใดมีผู้ติดตามจำนวนมาก ก็จะกลายเป็น อินฟลูเอนเซอร์ (influencer) หรือผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคม ซึ่งมักมีรายได้จากค่าโฆษณาหรือมีผู้จ้างให้แนะนำสินค้า
ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล
ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย – ข้อมูลสุขภาพ การเงิน หมายเลขประจำตัวประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ สามารถถูกผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปแสวงหาผลประโยชน์ได้
ข้อมูลบางชนิดอาจะถูกนำมาใช้หลอกลวง – ข้อมูลทั่วไป เช่น อาชีพ การศึกษา ชื่อคนรู้จัก อาจถูกนำมาใช้ในการฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญไป เช่น ได้รับอีเมล์ปลอมจากธนาคารที่ระบุอาชีพได้ถูกต้อง ทำให้หลงเชื่อว่าธนาคารจริงๆ ติดต่อมา แล้วให้ข้อมูลสำคัญไปในอีเมล์ปลอม
ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์ – ข้อมูลที่เปิดเผยเฉพาะกลุ่มส่วนตัว อาจถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพราะข้อมูลดิจิทัลทำซ้ำได้ง่าย
การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย – ข้อมูล่วนตัวหรือข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย หากมีการเผยแพร่แล้วเกิดความเสียหาย ผู้แบ่งปันข้อมูลอาจถูกดำเนินคดีได้
การทำแฟ้มผลงาน
โดยส่วนใหญ่แล้ว มักรวบรวมผลงานเพื่อนำเสนอต่อมหาวิทยาลัยหรือบริษัท เพื่อประกอบการพิจารณารับเข้าศึกษาต่อหรือเข้าทำงาน แฟ้มสะสมผลงานควรแสดงตัวตนของผู้จัดทำ ว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้อ่าน
อย่างไรก็ดี ผู้จัดทำแฟ้มผลงาน ควรวางแผนทำแฟ้มผลงานล่วงหน้า เพราะช่วยให้ทราบว่ายังมีผลงานไม่เพียงพอ หรือขาดผลงานที่จะนำเสนอตัวตนในด้านที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อเร่งสร้างผลงานเพิ่มเติมเต็มผลงานที่ยังไม่สมบูรณ์
แฟ้มผลงาน (portfolio) เป็นเอกสารในการรวบรวมหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถและผลงานของบุคคล เพื่อใช้ในการนำเสนอ ประกอบการพิจารณาการประเมินการทำงาน การสมัครเข้าเรียน หรือการสมัครเข้าทำงาน การทำแฟ้มผลงานต้องคำนึงถึงจุดประสงคในการใช้ประโยชน์ เพื่อนำมากำหนดรูปแบบในการนำเสนอและสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ