Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.3 การติดเชื้ออื่นๆ ขณะตั้งครรภ์, ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก…
9.3 การติดเชื้ออื่นๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ
(hepatitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงที่พบ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และ ปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน
แต่เมื่อใดที่ตรวจพบน้ําดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทํางานผิดปกติ ซึ่งทําให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น อาการจะมีอยู่ 10-15 วัน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทําให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกัน ทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ดังนี้
2.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.2 รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
2.3 มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
2.4 หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
อาการและอาการแสดง
ไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน)
แต่ถ้ามีอาการจะเริ่ม ด้วยมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต
อาการทั่วไปจะดีขึ้นและส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ มีบางส่วนที่กลายเป็นโรค ตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะตับวาย กลายเป็นมะเร็งตับและเสียชีวิตในที่สุด โดยโอกาสที่จะกลายเป็น มะเร็งตับจะเพิ่มขึ้นตามจํานวนเชื้อไวรัสในร่างกายและอายุที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เส่ยี งที่ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามี โอกาสที่จะติดเชื้อได้ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นบวกจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสตรี ตั้งครรภ์ไปสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 90
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อและอยู่ในระยะที่มีอาการ
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การ ดําเนินของโรค แผนการรักษาพยาบาลที่จะให้แก่สตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อค้นหา ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อ ซ้ำซ้อน
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ประเมินการเต้นของ หัวใจทารกในครรภ์ ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด และสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ําคร่ำและการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ําคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้ มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทําให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ทําความสะอาดทารกทันทีที่คลอด เพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง
ระยะหลังคลอด
1.ไม่จําเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารกเนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผา่น น้ํานมพบได้น้อยมาก แต่หากมารดาหลังคลอดมีหัวนมแตกและมีการอักเสบติดเชื้อของหัวนม อาจแนะนํา ให้งดให้บุตรดูดนมเพราะอาจแพร่กระจายเชื้อสู่ทารกได้
แนะนําการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของ ร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ําคาวปลา การล้างมือให้สะอาดก่อนการดูแลทารกเพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนําบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อ ติดตามอาการและป้องกันการติดเชื้อ
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อ น้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป
จะมีผื่น ขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย โดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลําตัว แขนขา จนทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทําให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทําให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ผลกระทบที่สําคัญคือเกิดการติดเชื้อจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ ทําให้เกิดการแท้ง ตายคลอด หรือพิการแต่กําเนิด
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำปอดบวม กระดูกบาง เป็นต้น
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ เป็นต้น
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำๆ นํามาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตาม ไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal)
มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่ บางคนอาจมีต่อมน้ําเหลืองที่คอ และหลังหูโตขึ้น จนคลําได้ก้อนกดเจ็บ
ตอนเป็นตุ่มน้ําจะรู้สึกคันมาก โดยตุ่มจะทยอยขึ้น เต็มที่ภายใน 4 วัน หลังจากนั้นจะพัฒนาไปเป็นตุ่มหนอง และแห้งลงจนตกสะเก็ดในที่สุด ลักษณะที่บาง เม็ดขึ้นเป็นตุ่มน้ําใสๆ และบางเม็ดกลายเป็นตุ่มกลัดหนอง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อสุกอีใสในผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งมี ภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ พบว่าความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะ อายุครรภ์ใกล้ครบกําหนดคลอดจะยิ่งอันตราย ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 40 จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม ทําให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทําให้ซึมลง และมีอาการชัก ทําให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้ เช่น ความผิดปกติของตา (ต้อกระจก) สมอง (ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ) แขนขาลีบเล็ก
การติดเชื้อปริกําเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในราย ที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน เนื่องจากหากเป็น โรคก่อนคลอด 5 วัน จะยังไม่มีภูมิคุ้มกัน (antibody) ในมารดามากพอที่จะส่งไปช่วยป้องกันในทารก และถ้าอาการเกิดใน 2 วันหลังคลอด แสดงว่าปริมาณเชื้อสูงตั้งแต่ช่วงที่คลอด และทารกได้รับเชื้อไป ตั้งแต่ก่อนคลอดแล้ว ซึ่งอัตราเสียชีวิตของทารกที่ติดเชื้อในนี้สูงถึงร้อยละ 20-30
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์ โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ หรือการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการ ฉีดวัคซีน เนื่องจากวัคซีนสุกใสที่ได้รับเป็นวัคซีนที่มีชีวิต หากเกิดการตั้งครรภ์ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทํา ให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพ ร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกําลังกายสม่ำเสมอ และทําจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานต่อโรค
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การ แพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก เพื่อลดความวิตกกังวลของ สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว รวมถึงแนะนําแหล่งสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันที หลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด เพื่อ ป้องกันการติดเชื้อจากมารดา
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลัก universal precaution ในการสัมผัส น้ําคาวปลา แนะนําให้แยกของใช้สําหรับมารดา และทารก เน้นเรื่องความสะอาด
กรณีพ้นระยะการติดต่อ หรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้ว สามารถแนะนําเกี่ยวกับการให้ นมมารดาได้
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกําลังกาย สม่ําเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที หากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5 วันก่อน คลอดถึง 2 วันหลังคลอด รวมทั้งประเมินภาวะการติดเชื้อของทารก
เน้นย้ำให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด และมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกต
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndrome คือ ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง
การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจ ได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด อาการในเด็กทารกมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน ถึงอาการที่รุนแรง ทางสมองและระบบประสาท
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดา ในครรภ์ ในระยะคลอด ในระยะให้นม การถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ เพศสัมพันธ์ ทางหายใจ (โดย สัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส (โดยสัมผัสน้ําลาย ปัสสาวะ) แหล่งของเชื้อ CMV พบได้ จากสารคัดหลั่งหลายชนิด เช่น น้ําลาย ปัสสาวะ น้ําอสุจิ สารคัดหลั่งจากปากมดลูก น้ํานม น้ําตา อุจจาระ และเลือด มีหลักฐานพบการติดเชื้อ CMV ครั้งแรกที่ประเทศบราซิล และหลังจากนั้น เชื้อ CMV สายพันธุ์ ต่าง ๆ มากมาย ก็แพร่กระจายไปในหมู่ประชากรทั่วโลก ประชากรส่วนใหญ่มักจะได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้ แล้วตั้งแตว่ ัยเด็ก โดยไม่มีอาการของโรค นอกจากบางกลุ่มที่อาจเป็นโรค Mononucleosis ซึ่งมีอาการไข้ สูงเป็นเวลานาน มีตับอักเสบเล็กน้อย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลง หากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่ มีการติดเชื้อซ้ำหรือติดเชื้อ ใหม่ในขณะตั้งครรภ์ จะมีทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้น ทําให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ําคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกําหนด น้ําหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด ส่วนทารกแรกเกิดนั้นอาจไม่มีอาการแสดงใด จนถึงมีอาการรุนแรง hepatosplenomegaly, thrombocytopenia
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การ ดําเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล รวมถึงเปิดโอกาสให้ซักถาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
3.แนะนําและเน้นย้ำให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลัง คลอด
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายที่ รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกําเนิด ถุงน้ําคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ กรณีทื่ทารกมีการติดเชื้อแต่กําเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสําคัญ คือ ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม และให้กําลังใจในการรักษา
ติดตามผลการตรวจเลือด
3เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
4แนะนําเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ ต่าง ๆ
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที จากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตาม ตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
โดยจะมี อาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและ ทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และ บางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด อาการอื่น ๆ ที่พบ คือ อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา คือความผิดปกติเกี่ยวกับ ระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
การพยาบาล
ให้คําแนะนําในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อาการและอาการ แสดงของโรค ความรุนแรงของโรค
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
อธิบายเกี่ยวกับการดําเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการ รักษา และไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป ทั้งนี้ให้ยึดหลัก universal precaution เมื่อทารกคลอด ให้รีบดูดน้ําคร่ําและสารคัดหลั่งที่อยู่ในคอ ช่องปาก และจมูกของทารก
ออกมาให้สะอาด
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ
หากน้อยว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป เน้นย้ําการรับประทานอาหารที่มี โปรตีนและวิตามินสูง
โรคโควิด-19กับการตั้งครรภ์(COVID-19duringPregnancy)
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใดๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ามูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้นเนื่องจากภูมิต้านของร่างกายขณะตั้งครรภ์ลด ต่ำลง สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด การติดเชื้อ COVID-19 ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากร เน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPE การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในรพ.และไปกับรถพยาบาล
บุคลากรต้องใส่ full PPE
การดูแลรักษา
สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19
ถ้ามีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
หากเป็นไปได้ให้เลื่อนการนัดผ่าตัดคลอดหรือการกระตุ้นคลอดออกไปอย่างน้อย 14 วันหรือจนกว่าผลตรวจเชื้อไวรัสเป็นลบ
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง ให้ยาต้านไวรัส พิจารณาตามแนวทางของกรม ควบคุมโรค
สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง
หากอาการแยล่ ง เช่น หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น เจ็บหน้าอก หรือมี hypoxia เป็นต้น ควรคิดถึงภาวะ pulmonary embolism
ไม่ให้ออกซิเจนทาง face mask หรือ face mask with bag เนื่องจากจะเกิดการ แพร่กระจายของละอองฝอยได้ ควรให้เป็น cannula แทน
On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
ให้ยาต้านไวรัสและ/หรือยาอื่นๆ เช่น Lopinavir/Ritonavir, remdesivir (nucleotide analog), chloroquine (antimalarial drug), favipiravir เป็นต้น ตามแนวทางของกรม ควบคุมโรค
การดูแลทารกแรกเกิด การให้ทารกดูดนมจากเต้า หรือการแยกทารกออกจากมารดา
ชั่วคราวขึ้นกับนโยบายของโรงพยาบาล และใช้การตัดสินใจใจร่วมกันระหว่างมารดากับทีมแพทย์ผู้ดูแล
การดูแลมารดาหลังคลอด หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด ใช้การประเมินผ่านทาง
video call แทน หากจําเป็นต้องเข้าไป ให้ใส่ชุด full PPE
การดูแลด้านจิตใจ เฝ้าระวังและประเมินความเครียดและอาการซึมเศร้า
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่ม เสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 ควรปฏิบัติตน
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีหลักฐาน การติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ํานมแต่อย่างใด ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 จัดเป็นผู้มี ความเสี่ยง จะต้องมีการแยกตัวออกจากผู้อื่น และต้องสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน บุคลากรทาง การแพทย์ ควรอธิบายถึงความเสี่ยง ความจําเป็น และประโยชน์ ของการแยกแม่ออกจากทารกชั่วคราว ให้แม่เข้าใจและปฏิบัติตาม
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคํานึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ํานม ดังนั้นจึงสามารถกินนมแม่ได้ โดย ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
ข้อแนะนําการปฏิบัติสําหรับมารดาหลังคลอด ในกรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ หรือมารดาที่ ติดเชื้อ COVID-19 แล้ว และมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะปั๊มนมได้ ควรปฏิบัติ
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และ ปัญญาอ่อน