Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ - Coggle Diagram
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ.2552
หมวด 5 การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
มาตรการ
ข้อที่ 37 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาค ส่วนรองรับแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
ข้อ 36 ให้รัฐสนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจ พร้อมทั้งสร้างเสริมขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ 38 ใหห้รัฐจัดให้มีกลไกทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดนโยบายสาธารณะ
ข้อ 35 ให้รัฐมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพแบบมีสวนร่วม
ข้อ 39 ให้รัฐเร่งส่งเสริมและพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังของรัฐและภาคส่วนต่างๆเพื่อป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
ข้อ 40 ให้รัฐนำมาตรการภาษีมาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
ข้อ 41 ให้รัฐพัฒนากฎหมายเพื่อการคุ้มคลองสิทธิตามข้อ 32 และกฎหมายวิธีพิจารณาคดี หรือข้อพิพาทด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม
ข้อ 42 ให้รัฐส่งเสริมให้มีการรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสารและสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย
ข้อ 33 รัฐมีเอกภาพในการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพที่เชื่อมโยงและประสานสอดคล้องทุกระดับ
ข้อ 34 ชุมชนมีความเข้มเเข็งและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพระดับพื้นที่
หลัการ
ข้อ 32 บุคคลมีสิทธิดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ได้รับการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพอย่างมีมาตรฐาน
หมวด 1 ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
ข้อ 5 ระบบสุขภาพ เป็นระบบความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีระบบการบริการสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ
ข้อ 6 ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบสังคมและระบบความมั่นคงของประเทศ
ข้อ 7 ระบบสุขภาพต้องเสริมสร้างคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้ความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันในสังคม
ข้อ 4 สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ข้อ 8 ระบบสุขภาพต้องคำนึงถึงการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมภาวะของมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ ปัญญา และสังคม เชื่อมโยงกันอย่างสมดุล
ข้อ 9 ระบบสุขภาพจะต้องให้ความสำคัญสูงกับการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่ความยั่งยืน
ข้อ 10 ทุกภาคส่วนมีหน้าที่ร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาจากแนวทางบริโภคไปแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หมวด 6 การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
ข้อ 43 ระบบบริการสาธารณสุขต้องเป็นระบบที่มีคุณภาพมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และราคาไม่แพง มุ่งเน้นสนับสนุนและลงทุนในบริการและเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพสูง
ข้อ 44 ระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิได้รับการยอมรับมีศักดิ์ศรี ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่พึ่งหลักจากประชาชน และเชื่อมโยงกับระบบบริการสาธารณสุขระดับอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 45 มีระบบบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ
ข้อ 46 ให้รัฐส่งเสริมการบริการสาธารณสุขปฐมภูมิที่จัดโดยแพทย์หรือบุคลากรด้านสาธารณสุขประจำครอบครัว เพื่อให้บริการครอบคลุมประชากรอย่างทั่วถึงทั้งในเขตเมือง
ข้อ 47 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนใผ้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพในการับผิดชอบ การจัดบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมภูมิ
ข้อ 48 ให้รัฐส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำหรับประชากรกลุ่มปัญหาเฉพาะและมีความ จำกัดในเข้าถึงการบริการสาธารณสุข ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม
ข้อ 49 ให้รัฐและทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาให้เกิดระบบบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของปรัชาชนในการจัดบริการสาธารณสุขในรูปแบบของอาสาสมัคร
ข้อ 50 ให้รัฐส่งเสริมให้มีการรณรงค์ ให้ข้อมูลข่าวสาร และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ประชาชนและบุคลากรด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีบนพื้นฐานความเข้าใจ
ข้อ 51 รัฐไม่พึงให้การสนับสนุนหรือสิทธิพิเศษืทางภาษีและการลงทุนกับบริการสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
ข้อ 52 ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำกับดูแลทิศทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขกลไกที่ทำหน้าที่ควบคุมกำกับและพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุข
หมวด 7 การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และพัฒนาภูมิปัญญษท้องถิ่นด้านสุขภาพ และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
ข้อ 53 ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำกับดูแลทิศทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขกลไกที่ทำหน้าที่ควบคุมกำกับและพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุข
ข้อ 54 ชุมชนและชุมชนท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ เพื่อการดูแลสุขภาพของชุมชนและชุมชนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม
ข้อ 55 การแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีกลไกทรัพยากรที่เพียงพอต่อการใช้และการพัฒนาอย่างเป็นระบบและเป็นองค์รวม
ข้อ 56 มีรายการยาไทยและยาพัฒนาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างพอเพียงอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ของรายการยาทั้งหมดและได้รับการส่งเสริมและใช้ในระบบบริการสาธารณสุขเพื่อการพึ่งตนเองด้านยาของประเทศ
ข้อ 57 มีระบบและกลไกที่เข้มแข็งในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านในระดับชุมชนระดับประเทศและระดับภูมิภาค
ข้อ 58 มีระบบและกลไกที่เข้มแข็งมีฐานวิชาการที่เข้มแข็งอิสระและเป็นกลางในการคัดกรองส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคด้านการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ ที่มีประสิทธิผลประหยัดคุ้มค่าและปลอดภัย
ข้อ 59 มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ อย่างพอเพียงเพื่อการสร้างและจัดการความรู้อย่างเป็นระบบในการศึกษา
ข้อ 60 มีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยเพื่อเป็นต้นแบบที่มีมาตรฐานในการบริการการศึกษาวิจัยและการฝึกอบรมบุคลากรอย่างน้อยภาคละ ๑ แห่ง
ข้อ 61 ให้คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพภายใต้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนผลักดันการดำเนินงาน
ข้อ 62 ให้รัฐสร้างเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนและชุมชนท้องถิ่นในการฟื้นฟูสืบสานและใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพและการประยุกต์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบททางด้านสังคม
ข้อ 63 ให้รัฐสร้างเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถาบันวิชาการในท้องถิ่นในการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านโดยการสนับสนุนและเสริมสร้างสถานภาพของหมอพื้นบ้าน
ข้อ 64 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานโดยดำเนินการดังต่อไปนี้หน่วยงานของรัฐสถาบันการผลิตและสถาบันวิชาการร่วมกันพัฒนาระบบการศึกษาวิจัย
ข้อ 65 ให้รัฐหน่วยงานของรัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยาไทยและยาพัฒนาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติและในเภสัชตำรับของโรงพยาบาลให้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติผลักดันการนำยาไทย
ข้อ 66 ให้หน่วยงานของรัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสร้างระบบและกลไกในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านให้มีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพเชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับชุมชนระดับประเทศและระดับภูมิภาค
ข้อ 67 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ ที่มีประสิทธิผลประหยัดคุ้มค่าและปลอดภัยเพื่อการดูแลสุขภาพโดยดำเนินการดังนี้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติที่เป็นอิสระและมีฐานวิชาการที่เข้มแข็ง
หมวด 4 การเสริมสร้างสุขภาพ
หลักการ
ข้อที่ 19 การสร้างเสริมสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดสุขภาวะอย่างเป็นองครวมทั่วสังคม มุ่งสู่การลดการเจ็บป่วย การพิการและการตายที่ไม่สมควร และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
เป้าหมาย
ข้อ 21 มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรม
ข้อ 22 มีการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม อย่างสมดุลและเชื่อมโยงตามหลักการเสริมสร้างสุขภาพ
ข้อที่ 20 มีพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและเป็นรูปธรรม
ข้อ 23 มีชุมชนท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งด้านสุขภาพครอบคลุมร้อยละ 80 ของตำบลทั่วประเทศ
มาตรการ
ข้อ 26 ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาและเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคคล ครอบครัว และชุมชชน เพื่อเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตและการสร้างเสริมสุขภาพ
ข้อ 27 ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคล ครอบครัว ชุมชนและเครือข่าย
ข้อ 28 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนและบุคคลในการดูแลและป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เอื้อต่อสุขภาพ
ข้อ 29 ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ พัฒนามาตรการทางการเงิน การคลังเพื่อสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในสังคม
ข้อ 30 ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆสนับสนุนการสร้างและการจัดการความรู้ วิจัย เทคโนโลยี ทุน และการตลาด
ข้อ 25 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกระดับ ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม
ข้อ 24 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกระดับ พัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ใช้องค์ความรู้เป็นฐานอย่างเพียงพอ
ข้อ 31 ให้รัฐจัดให้มีแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์แบบมีส่วนร่วม
หมวด 8 การคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อ 68 ระบบคุ้มครองผู้บริโภคต้องเป็นไปเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยมุ่งเน้น
ข้อ 69 ผู้บริโภคต้องได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติตลอดจนได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถปกป้องคุ้มครองตนเองและสังคมรวมถึงได้รับความรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน
ข้อ 70 เด็กเยาวชนสตรีผู้สูงอายุผู้พิการหรือทุพพลภาพผู้ด้อยโอกาสในสังคมต้องได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติและต้องได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะชีวิต
ข้อ 71 ในการคุ้มครองผู้บริโภคให้รัฐดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) เร่งรัดการจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการชดเชยเยียวยาผู้เสียหายจากสินค้าและบริการ
(2) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในรูปแบบของกลุ่มชมรมสมาคมมูลนิธิเครือข่ายและอื่น ๆ ในการดำเนินงานเพื่อผู้บริโภคและเสริมสร้างความเข้มแข็ง
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายวางแผนติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานเพื่อผู้บริโภคทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
อ 72 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดนโยบายและจัดให้มีแผนงบประมาณข้อบัญญัติท้องถิ่นและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคเข้าไปเป็นภารกิจหลัก
ข้อ 73 ให้สถาบันวิชาการสภาวิชาชีพและคณะกรรมการวิชาชีพด้านสาธารณสุขร่วมกันสร้างและพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็งและเป็นธรรมร่วมตรวจสอบประเมินและพัฒนากลไก
ข้อ 74 ให้ผู้ประกอบธุรกิจและสื่อมวลชนต่างๆดำเนินงานโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคและมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสำคัญมุ่งสนับสนุนการบริโภค
ข้อ 75 ในการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายที่เกี่ยวพันมาจากหนังสือสัญญาระหว่างประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนิน
หมวด 3 การจัดให้มีหลักประกันและคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
ข้อที่ 16 หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพจะต้องคลอบคลุมประชาชนทุกคน โโยไม่มีการแบ่งแยกฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม ความพิการ เพศ อายุ ถิ่นที่อยู๋ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ และอุดมกาณ์ทางการเมือง้อ
ข้อ 17 การสร้างหลักประกันและความคุ้มครองดังกล่าวให้มีส่วมร่วมอย่างสมานฉันท์ เกื้อกูล เอื้ออาทร จากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของรัฐ เอกชน วิชาการ วิชาชีพ และประกันสังคม
ข้อ 18 หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพต้องครอบคลุมการจัดการกับปัจจุยทั้งหมดที่กระทบต่อสุขภาพทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งไม่จำกัด เฉพาะหลักประกันการเข้าถึงบริการสาธารณสุข
หมวด 9 การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
ข้อ 76 ความรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพรัฐมีหน้าที่สนับสนุนการสร้างความรู้บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ
ข้อ 77 นโยบายสาธารณะต้องพัฒนามาจากฐานความรู้ที่รอบด้านเพียงพอเชื่อถือได้โดยสามารถเปิดเผยที่มาของแหล่งความรู้นั้น
ข้อ 78 การสร้างการจัดการการสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
ข้อ 79 รัฐและภาคส่วนต่างๆมีการลงทุนและมีบทบาทในการสร้างการจัดการการสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดระบบสุขภาพที่อยู่บนฐานความรู้อย่างกว้างขวาง
ข้อ 80 ให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านสุขภาพทั้งการวิจัยระบบสุขภาพและการวิจัยในสาขาต่างๆที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
ข้อ 81 ให้รัฐส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการสร้างความรู้ด้านสุขภาพและจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม
ข้อ 82 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีความสามารถสร้างจัดการความรู้ด้านสุขภาพและสนับสนุนให้เกิดช่องทางการเรียนรู้และการสื่อสารที่เหมาะสม
ข้อ 83 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชนภาคประชาสังคมและชุมชนมีส่วนร่วมลงทุนในการสร้างการจัดการการสื่อสาร
ข้อ 84 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนและการพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายการสร้างการจัดการการสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพในทุกระดับ
ข้อ 85 ให้รัฐสร้างระบบตรวจสอบกลั่นกรองและติดตามการสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ข้อ 86 ให้รัฐกำหนดมาตรการและจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สื่อมวลชนทุกรูปแบบจัดสรรเวลาหรือพื้นที่เพื่อการสื่อสารเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ
ข้อ 87 ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการสร้างการจัดการการสื่อสารและการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอในการพัฒนาระบบ
หมวด 2 คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
ข้อ 12 ระบบสุขภาพจะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข้อ 13 การจัดการระบบสุขภาพจะต้องยึดหลักธรรมาภิบาล
ข้อ 14 ระบบสุขภาพจะต้องเกื้อหนุน ส่งเสริม และเอื้ออำนวยให้บรรลุเป้าหมายแห่งสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพทุกประการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อ 11 ระบบสุขภาพจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม ธรรมาภิบาล ความรู้และปัญญา
ข้อ 15 กรอบเวลาเป้าหมายของธรรมนูญ เป็นภาพรวมของระบบสุขภาพที่มองยาวไปถึง พ.ศ.2563
หมวด 10 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
ข้อ 88 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารด้านสุขภาพต้องมีความเป็นกลางเป็นธรรมและรอบด้านผ่านช่องทางที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้และนำไปประกอบการตัดสินใจ
ข้อ 89 ประชาชนได้รับการคุ้มครองเพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกต้องและเพียงพอ
ข้อ 90 มีระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ดีมีเครือข่ายครอบคลุมทั้งประเทศและเชื่อมประสานกับนานาชาติได้
ข้อ 92 ให้รัฐจัดให้มีกลไกตรวจสอบกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการเตือนภัยการคุ้มครองประชาชนและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน
ข้อ 94 ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพบริหารนโยบายติดตามดูแล
ข้อ 93 ให้รัฐสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาควิชาการภาคเอกชนภาคประชาชนและภาคส่วนอื่น ๆ ให้มีส่วนร่วมในการบริหาร
ข้อ 91 ให้รัฐพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและกลไกการนำข้อมูลด้านสุขภาพไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
หมวด 11 การสร้างและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
ข้อ 95 บุคลากรด้านสาธารณสุขรวมทั้งกำลังคนด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่มีบทบาทในระบบสุขภาพเป็นกำลังคนที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคม
ข้อ 96 รัฐมีหน้าที่กำหนดนโยบายการวางแผนการผลิตการพัฒนาและการกระจายบุคลากรสาธารณสุขอย่างเป็นธรรม
ข้อ 97 บุคลากรด้านสาธารณสุขรวมทั้งกำลังคนด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่มีบทบาทในระบบสุขภาพมีคุณภาพมีจริยธรรมมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม
ข้อ 98 บุคลากรด้านสาธารณสุขมีการทำงานเพื่อให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในลักษณะที่เป็นสหวิชาชีพ
ข้อ 99 ให้คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติภายใต้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติทำหน้าที่ดูแลทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ
ข้อ 100 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนระบบการผลิตที่ให้บุคคลจากชุมชนท้องถิ่นต่างๆให้มีโอกาสเข้าศึกษาและพัฒนา
ข้อ 100 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนระบบการผลิตที่ให้บุคคลจากชุมชนท้องถิ่นต่างๆให้มีโอกาสเข้าศึกษาและพัฒนา
ข้อ 102 ให้รัฐสนับสนุนให้บุคลากรด้านสาธารณสุขสาขาต่าง ๆ ให้เป็นวิชาชีพที่มีกฎหมายเฉพาะรองรับ
ข้อ 103 ให้รัฐสนับสนุนให้มีการพัฒนากลไกระดับพื้นที่เพื่อทำหน้าที่ประสานการวางแผนบุคลากรด้านสาธารณสุขและกำลังคนด้านสุขภาพอื่น ๆ
หมวด 12 การเงินการคลังด้านสุขภาพ
ข้อ 105 การเงินการคลังรวมหมู่สำหรับการบริการสาธารณสุขได้รับการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายในปี 2563
ข้อ 104 การเงินการคลังด้านสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ระบบการเงินการคลัง
ข้อ 106 ให้รัฐจัดระบบการเงินการคลังรวมหมู่มาจากแหล่งเงินซึ่งมีการจัดเก็บในอัตราก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นรวมถึงเพิ่มการจัดเก็บภาษีจากการบริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ
ข้อ 107 ให้รัฐขยายระบบการเงินการคลังรวมหมู่ให้ครอบคลุมประชาชนที่มีภูมิลำเนาถาวรในประเทศรวมถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าวเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างถ้วนหน้า
ข้อ 108 ให้รัฐเพิ่มการลงทุนในการบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
ข้อ 109 ให้รัฐพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังสำหรับการจัดบริการสาธารณสุขให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้
ข้อ 110 ให้รัฐส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสุขภาพของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานของรัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรค
ข้อ 111 ให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่วางแผนการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศในระยะยาวติดตามประเมินผลรวมถึงสนับสนุนการวิจัย
ส่วนที่ 4 สาระหมวด
หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
หมวด 2 การเสริมสร้างสุขภาพ
หมวด 3 การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
หมวด 4 การบริการสาธารณสุขและการสร้างหลักประกันสุขภาพ
หมวด 5 การส่งเสริมสนับสนุนและการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่น
หมวด 6 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
หมวด 7 การสร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
หมวด 8 การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
หมวด 9 การสร้างและพัฒนาสังคมด้านสุขภาพ
หมวด 10 การเงินการคลังด้านสุขภาพ
หมวด 11 สุขภาพจิต
หมวด 12 สุขภาพทางปัญญา
หมวด 13 การอภิบาลระบบสุขภาพ
หมวด 14 ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
ส่วนที่ 1 ส่วนนำ
แนวโน้มสถานการณ์ที่อาจมีผลต่อระบบสุขภาพใน 10 ปีข้างหน้า
สถานการณืทางการเมือง
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
สถานการณ์ทางประชากรและสังคม
สถานการณ์ทางการเกษตรและอาหาร
สถานการณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์ทางสารสนเทศและเทคโนโลยี
สถานการณ์ทางด้านสาธารณสุข
สถานะของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2559
ส่วนที่ 2 นิยามศัพท์
ความรู้เท่าทันด้านสุขภาพ
กำลังคนด้านสุขภาพ
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข
การแพทย์ทางเลือกอื่น
กองทุนสุขภาพพื้นที่
การอภิบาลโดยรัฐ
การอภิบาลโดยตลาด
สุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
การสร้างหลักประกันคุณภาพ
การบริการสาธารสุข
ประชาชนสังคม
คนด้อยโอกาสในสังคม
สิทธิด้านสุขภาพ
ระบบสุขภาพ
ส่วนที่ 3 หลักการสำคัญของระบบสุขภาพ
การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ