Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 นโยบายกฎหมายแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ,…
บทที่ 7 นโยบายกฎหมายแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
เส้นทางนโยบาย กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
ภาพลักษณ์ผู้สูงอายุไทย ที่พึงปรารถนาในทศวรรษหน้า เรียงลำดับตามความสำคัญ ดังนี้
พึ่งตนเองได้ มีประโยชน์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของครอบครัวและสังคมและมีศักดิ์ศรี
มีหลักประกันมั่นคง ได้รับสวัสดิการและบริการที่เหมาะสม
อยู่ในครอบครัวอย่างมีความสุข มีสังคมที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
มีความรู้และโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต
มีสุขภาพกายและจิตที่ดี
มาตราการด้านสุขภาพ
ต้องเน้นบริการที่เข้าถึงผู้สูงอายุในเชิงรุก การบริการระดับชุมชนแะการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน แบบบูรณาการและสหสาขา โดยชุมชน มีส่วนร่วมเป็นสำคัญ ทั้งอาสาสมัคร องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและองค์กรทางศาสนาโดยคำนึงถึงหลักการเข้าถึงและราคาไม่แพง
เส้นทาง (timeline) ของนโยบาย กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุไทย
พ.ศ. 2525
1.องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียประเทศไทยโดยการนำของรัฐมนตรีมหาดไทย พล.อ. สิทธิ จิระโรจน์ ได้เข้าร่วมประชุมทำให้เกิดการตื่นตัวเรื่องผู้สูงอายุและมีการดำเนินงานต่างๆ
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2525-2544) ในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดทำแผนผู้สูงอายุฉบับที่ 1 ประกอบด้วยการดำเนินงานใน 5 ด้าน
พ.ศ. 2540
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งมีมาตราที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 2 มาตรา คือ หมวดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย 2 มาตรา
พ.ศ. 2541
มีการรับรอง ปฎิญญามาเก๊า โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค-องค์การสหประชาชาติ และจัดทำแผนปฎิบัติการเรื่องผู้สูงอายุในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
พ.ศ. 2542
องค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี 2542 เป็นปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุ ประเทศไทยจึงได้ได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยระเบียบนี้ทำให้เกิด "คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า "กสผ." ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรีและ สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยได้เสนอให้รัฐบาลจัดทำ "ปฎิญญาผู้สูงอายุไทย"
พ.ศ.2546
ได้มีการจัดทำแผนผู้สูงอายุ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ซึ่งเป็นแผนที่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ถือปฎิบัติในขณะนี้
พ.ศ.2550
ประเทสไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งมีมาตราการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 2 มาตรา คือ หมวดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชายไทย 2 มาตรา ดังนี้ มาตรา 53 บัญญัติว่า "บุคคล ซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดฺ์ศรีและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ" มาตราที่ 80 วรรค2
กฏหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้สูงอายุ
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2525-2544
เป็นแบบแผนที่กำหนด "สิทธิ" ของผู้สูงอายุไทยอย่างชัดเจนฉบับแรก ช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยอยู่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดทำแผนผู้สูงอายุฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2525-2544)
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
ฉบับ 2 พ.ศ. 2545- พ.ศ. 2564
แผนผู้สูงอายุแห่งฉบับที่ 2 ถูกร่างขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับผู้สูงอายุต่อจากแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะเป็นแผนฯ ที่มีการบูรณาการ มีการกำหนด มาตราการ ดัชนีและเป้าหมายของมาตราการต่างๆ
พระราชบัญญาติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
เหตุผลในการตรวจตราพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 54 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุ ให้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติและเพื่อให้ได้กฎหมายที่ตรอบคลุมทุกด้านสำหรับผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองการส่งเสริม และการสนับสนุนต่อสิทธิและประโยชน์ของผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญิติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรของไทย ต่อมามีการแก้ไขใน พ.ศ. 2533
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545- พ.ศ. 2564
การปรับปรุงแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่2 ครั้งที่ 1 นี้ เกิดขึ้นจากกระแสวิชาการ ที่เห็นถึงปัญหาการดำเนินงานและผลการประเมินในช่วง 5ปีที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และสถานการณ์ประชากรประเทศไทย จึงเป็นจุดกำเนิดสำคัญในการปรับแผนฯ โดยมีเนื้อหาของแผนฯ ฉบับปรับปรุง
ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย
ปีพุทธศักราช 2542 เป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา ประกอบกับองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุ รัฐบาล องค์กรเอกชน ประชาชน และสถาบันต่างๆ ได้ตระหนักถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของผู้สูงอายุ ซึ่งได้ทำประโยชน์ในฐานะ "ผู้ให้" แก่สังคมมาโดยตลอด
สิทธิของผู้สูงอายุตามหลังกายขององค์การสหประชาชาติ
การมีอิสระภาพในการพึ่งตนเอง
การอุปการะเลี้ยงดู
การบรรลุความต้องการ
ความมีศักดิ์ศรี
กฏหมายนโยบายอื่นๆของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมของประชากรในการเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ
1.นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพและหลักประกันด้านรายได้
1.1 ปี พ.ศ. 2471พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471
1.2. ปี พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530
1.3 ปี พ.ศ. 2533 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
1.4. ปี พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
1.5. ปี พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ (กอช.) พ.ศ. 2554
1.6. ปี พ.ศ. 2544 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)
1.7. ปี พ.ศ. 2547 กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund)
ปัญหาจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้สูงอายุ
การพยาบาลและองค์ประกอบทางจริยธรรมในการช่วย้หลือผู้สูงอายุ
ส่งเสริมผู้สูงอายุ คงความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและการดูแลตนเอง ยอมรับความเห็น ความต้องการของผู้สูงอายุ
4.ปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้สูงอายุอย่างเท่าเทียมกับบุคคลในวัยอื่น
2.ยอมรับความสูงอายุ คงความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและดูแลตนเอง ยอมรับความคิดเห็น ความต้องการของผู้สูงอายุ
5.ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลัก เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
1.ให้ความเคารพยกย่อง คำนึงถึงคุณค่าของความสูงอายุที่สั่งสมความรู้ความสามารถ และประสบการณ์อันยาวนาน
6.ศึกษาความรู้ และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อมีให้ความรู้ให้การดูแลและให้คำแนะนำผู้สูงอายุ
7.รักและศรัทธาในวิชาชีพ เห็นคุณค่าของวิชาชีพว่าเป็นวิชาชีพที่มีประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ เพื่อพยาบาลจะได้มีอารมณ์ที่มั่นคงเมื่อต้องพบกับปัญหาจากผู้สูงอายุ ญาติหรือเพื่อนร่วมงาน
พินัยกรรม
วัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเกี่ยข้องกับพินัยกรรม พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเพื่อตายเรื่องทรัพย์สินของตนเอง
พินัยกรรมชีวิต (Living will)
คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงเจตนาจำนงว่าเมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง เช่น ในสภาวะเจ็บป่วยหนักไม่รู้สึกตัวและใกล้ตาย ว่าจะเลือกให้การดำเนินการรักษาในระยะสุดท้ายของชีวิตอย่างไร
การพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life care)
พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการประเมินความพร้อมในการรับรู้ความพร้อมที่จะตาย ผู้สุงอายุอาจพร้อมหรือไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต หากยังไม่พร้อมต้องมีเทคนิคในการสนทนาอย่างรอบครอบในการบอกข้อมูลแก่ผู้ป่วยสูงอายุ การแนะนำการเตรียมพินัยกรรม บางกรณีผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยถึงระยะสุดท้ายของชีวิตบางรายไม่กลัวที่จะตาย แต่ต้องการจากไปอย่างอบอุ่นท่ามกลางคนที่ตนรัก ได้รับการดูแลรักษาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดทรมานอย่างเต็มที่
เมตตามรณะ (Euthasia)
Active Euthasia
แพทย์จะฉีดยา ให้ยา หรือกระทำโดยวิธีการอื่นๆที่ทำให้ผู้ป่วยตายโดยตรง
Passive Euthasia
การที่แพทย์ปล่อยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายโดยไม่ให้การรักษา
การทำทารุณกรรมในผู้สูงอายุ (Elderly Abuse)
การทารุณกรรมทางร่างกาย (physical abuse)
การทารุณกรรมทางจิตใจ (phychological abuse)
สาเหตุการทารุณกรรม
การทารุณกรรมในบ้าน
1.ภาวะเครียดจากสถานการณ์ดูแล
2.ผู้ดูแลไม่พอใจที่ผู้ป่วยเป็นภาระ
3.ปัญหาครอบครัว
4.ไม่มีเงินใช้จ่ายสำหรับสิ่งของจำเป็น
5.มีประวัติการทารุณกรรมในครอบครัว
6.ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ
7.ผู้เคราะห์ร้ายหรือเหยื่อ
การทอดทิ้ง (Neglect)
ไม่ให้สิ่งที่จำเป็นในชีวิต เช่น อาหาร น้ำ เสื้อผ้า หรือที่พักอาศัย
ไม่ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ยารักษาโรค ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยส่วนบุคคล
การละทิ้ง (Abandonment)
การแสวงหาผลประโยชน์ทางด้านการเงิน (Financial exploitation)
การป้องกันการทารุณกรรม
การป้องกันการทารุณกรรมตามแนวคิดของ Bunmhover and Beall
มุ่งเป้าหมายไปที่ประชาชนทั่วไป โดยประชาสัมพันธ์สร้างความรู้เรื่องการทารุณกรรม สร้างความตระหนักสังคม และการรณรงค์ทางสื่อ
ให้บริการแก่ครอบครัวหรือบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงสูงในการทารุณกรรม โดยให้โปรแกรมการให้ความรู้ การทำกลุ่มสนับสนุน และปหล่งประโยชน์
การป้องกันการทารุณกรรมในผู้สูงอายุตามแนวคิด Pillmer
การป้องกันแบบถ้วนหน้า รณรงค์สร้างความตระหนักแก่สังคม การสร้างความตระหนักแก่วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
การคักเลือกวิธีการป้องกัน มุ่งเป้าไปที่การป้องกันผู้ที่มีแนวโน้มจะได้รับการทารุณกรรม
นางสาว พูนศิริ คำพันธ์ 621201141