Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 – 2564)
หลักการของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นาไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุขและตอบสนองต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ
วิสัยทัศน์
ระบบสุขภาพไทยเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เพื่อคนไทยสุขภาพดี
สร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
พันธกิจ
เสริมสร้าง สนับสนุนและประสานให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ เอกชน นักวิชาการและภาคประชาสังคม ในการอภิบาลและพัฒนาระบบสุขภาพไทยให้เข้มแข็ง รองรับกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เป้าประสงค์
เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัย ได้รับการพัฒนาศักยภาพและสร้างเสริมให้มีสุขภาวะที่ดี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ปูองกันโรค และปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ มีการคุ้มครองด้านสุขภาพที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมี สุขภาพดี มีระบบการดูแล ผู้สูงอายุที่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการได้สะดวกส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าสู่สังคมสูงวัยได้อย่างมีความสุข ลดการตายก่อนวัยอันควร
เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพทุกระดับมีการเพิ่มขีดความสามารถ มีคุณภาพ มาตรฐาน มีระบบบริการที่ทันสมัย มีความพอเพียง มีการกระจายที่เป็นธรรม มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงที่คนไทยสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก เหมาะสม ทั้งนี้โดยการบูรณาการและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เพื่อให้มีระบบการอภิบาลด้านสุขภาพมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีกลไกทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ ที่จะทาให้การดาเนินงานงานด้านสุขภาพมีการบูรณาการ มีการกาหนดเปูาหมายร่วมกัน มีการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างเหมาะสม ส่งผล ให้ระบบสุขภาพมีความยั่งยืน คนไทยได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ
เพื่อให้มีระบบการบริหารจัดการกาลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ มีแผนความต้องการอัตรากาลังคนด้านสุขภาพที่ชัดเจน มีการผลิตและพัฒนากาลังคนด้านสุขภาพที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการ
ของประเทศ
เพื่อให้คนไทย ชุมชน ท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมด้านสุขภาพ มีความรอบรู้
ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถช่วยเหลือ ดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนด้านสุขภาพได้
การขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560 – 2564) สู่การปฏิบัติ
ดาเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาคมสาธารณสุข องค์กร ภาคี
สุขภาพ ตระหนักและเข้าใจในสาระสาคัญของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564)
สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) และ
นโยบายรัฐบาล เข้าสู่แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ แผนคาของบประมาณ และแผน
ระดับอื่นๆ เช่น แผนการลงทุน แผนพัฒนาระบบข้อมูล แผนการผลิตบุคลากร เป็นต้น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกาลังคนด้านสุขภาพ (People Excellence)
3.1 วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างกลไกและระบบการบริหารจัดการกาลังคนด้านสุขภาพ รวมทั้งระบบการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการกาลังคนด้านสุขภาพในทุกระดับ
เพื่อบูรณาการระบบการผลิตกาลังคนด้านสุขภาพของประเทศให้ตั้งอยู่บนฐานของความร่วมมือระหว่างผู้ผลิต และผู้ใช้กาลังคนด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน
เพื่อวางแผนกาลังคนด้านสุขภาพที่สอดรับกับการออกแบบระบบสุขภาพและความจาเป็นด้าน
สุขภาพของประชาชนแต่ละพื้นที่
เพื่อสร้างเครือข่ายกาลังคนด้านสุขภาพ ที่ประกอบด้วยภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน
3.2 เป้าหมายการพัฒนา
มีกลไกในการบูรณาการระดับประเทศ ในการกาหนดนโยบายและยุทธศาสตร์กาลังคนด้าน
สุขภาพของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
มีระบบการบริหารจัดการกาลังคนและการธารงรักษากาลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
มีการวางแผนและการกระจายกาลังคนด้านสุขภาพที่เหมาะสม ครอบคลุมตามความต้องการ
เชื่อมโยงการผลิต
มีเครือข่ายกาลังคนด้านสุขภาพเข้มแข็ง
มาตรการ/ แนวทางการพัฒนา
เร่งผลิตและพัฒนากาลังคนด้านสุขภาพ
สร้างกลไกการสื่อสารและภาคีเครือข่ายกาลังคนด้านสุขภาพ
พัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ การบูรณาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2: สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้าในระบบบริการสุขภาพ (Service Excellence)
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อสร้างและพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจาให้ครบทุกแห่งเพื่อ เพิ่มความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการและคุณภาพในการดูแลประชาชน
2.1.2 เพื่อยกระดับขีดความสามารถของหน่วยบริการทุกระดับให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน มีความเป็นธรรม ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ทัดเทียมกัน
2.1.3 เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสามารถในการแข่งขันให้กับระบบสุขภาพของประเทศ
2.1.4 เพื่อลดความเหลื่อมล้าในการได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
2.2 เป้าหมายการพัฒนา
2.2.1 จัดกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster)
2.2.2 ลดความเหลื่อมล้าและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพทุกระดับ
2.2.3 สร้างความร่วมมือทางวิชาการและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2.2.4 จัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้กับประชากรที่เป็นกลุ่มเปูาหมายเฉพาะและประชากรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
มาตรการ/ แนวทางการพัฒนา
จัดกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster)
พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายและพันธมิตรในการจัดบริการด้านสุขภาพ
สร้างระบบคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย(Patient Safety) และการลดปัญหาการฟ้องร้อง
พัฒนาระบบการประเมินเพื่อการตัดสินใจในการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HTA)
ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 1: เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก (P3: Health Promotion +Disease Prevention + Consumer & Environmental Protection Excellence)
1.1 วัตถุประสงค์
1.1.1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของบุคคล ชุมชน ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมด้านสุขภาพให้มีศักยภาพ มีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องด้านพฤติกรรมสุขภาพ
1.1.2 เพื่อสร้างระบบสุขภาพเชิงรุก ที่มุ่งสร้างเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพดี มีระบบการปูองกันควบคุมโรคและปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ มีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพที่ดี
1.1.3 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่เกิดจากความร่วมมือของครอบครัว ชุมชน และสถานพยาบาล ให้มีความพอเพียงและเหมาะสมต่อการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ
1.2 เป้าหมายการพัฒนา
1.2.1 คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพดี แข็งแรง
1.2.2 มีนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการทาลายสุขภาพ
1.2.3 มีการสื่อสารสาธารณะ ในการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพของประชาชน
1.2.4 มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ และองค์กรด้านสุขภาพ ในการดาเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ปูองกัน ควบคุมโรคและคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพมากขึ้น
1.3 มาตรการ / แนวทางการพัฒนา
เสริมสร้างภาคีเครือข่ายและพันธมิตร
พัฒนากระบวนการกาหนดนโยบายและกฎหมายด้านสุขภาพ
สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
พัฒนาระบบเพื่อจัดการกับปัจจัยที่กาหนดสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ(Governance Excellence)
4.2 เป้าหมายการพัฒนา
มีกลไกบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพที่เหมาะสม และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วน
ร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ
มีการจัดตั้งกลไกที่ทาหน้าที่กาหนดนโยบายด้านสุขภาพระดับชาติ
มาตรการ/ แนวทางการพัฒนา
ส่งเสริมระบบการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพ
พัฒนาระบบยา เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีของประเทศ
สร้างระบบธรรมาภิบาลและการจัดการความรู้
เสริมสร้างกลไกและกระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพ
ปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันสุขภาพ
สร้างและพัฒนากลไกการดูแลด้านการเงินการคลังสุขภาพของประเทศ
4.1 วัตถุประสงค์
เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีธรรมาภิบาล เป็นเอกภาพ อันจะส่งผลให้มีความมั่นคง ยั่งยืน
ของระบบสุขภาพ
เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริการสุขภาพ ระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การเงินการคลัง
ด้านสุขภาพ รวมถึงยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ