Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มทฤษฎีการเชื่อมโยง สิ่งเร้า –ตอบสนอง - Coggle Diagram
กลุ่มทฤษฎีการเชื่อมโยง สิ่งเร้า –ตอบสนอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ พาฟลอฟ (lavan P.Povlov)
นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย
สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ ดังนี้
1.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ (สุนัข น้ำลายไหลเมื่อได้รับผงเนื้อ)
2.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นจากสิ่งเร้าที่มีความเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ(สุนัข น้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง)
3.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
จะลดลงเรื่อยๆและหยุดลงในที่สุด หากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ (เมื่อสั่นกระดิ่งโดยไม่ให้ผงเนื้อติดๆกันหลายๆครั้งสุนัขจะหยุดน้ำลายไหล)
4.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและ หยุดไป เมื่อได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะเกิดขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ (เมื่อผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่งสั่นกระดิ่งใหม่โดยไม่ให้ผงเนื้อเช่นเดิม สุนัขจะน้ำลายไหลอีก)
5.มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันและจะตอบสนองเหมือนกัน (เมื่อสุนัขเรียนรู้โดยมีเสียงกระดิ่งเป็นเงื่อนไขแล้ว ถ้าใช้เสียงนกหวีดหรือระฆังที่คล้ายเสียงกระดิ่งน้ำลายก็จะไหลได้)
สรุป
สร้างบรรยากาศในห้อง และสิ่งแวดล้อมในการให้ความรู้ทางสุขภาพให้น่าเรียน เป็นกันเองเป็นการกระตุ้นการ เรียนรู้ของผู้รับความรู้
ผู้ให้ความรู้และผู้รับความรู้ สร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาในการเรียนรู้ร่วมกัน
ก่อนให้ความรู้ทางสุขภาพ ผู้ให้ความรู้แจ้งจุดประสงค์การให้ความรู้ และการประเมินผล เพื่อประเมินผลการ เรียนรู้เป็นรายบุคคล เป็นการวางเงื่อนไขให้ผู้รับความรู้ตั้งใจที่จะเรียนรู้
จัดกิจกรรมการสอนที่แปลกใหม่ เพิ่มความตื่นเต้น น่าสนใจในการเรียนรู้แต่ละครั้ง
ผู้ให้ความรู้นำสิ่งที่คล้ายคลึงกับการเรียนรู้ครั้งแรกมาอธิบายเปรียบเทียบ หรือยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ สกินเนอร์(Burrtius F. Skinner)
มีแนวความคิด พื้นฐานว่า พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การควบคุม ของเงื่อนไขการเสริมแรงและลงโทษ
การเสริมแรงมี ๒ ประเภท คือ
การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจกับผู้รับความรู้ และความพึง พอใจนั้น ทำให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการมากขึ้น เช่น การให้คำชมเชย ของขวัญ เป็นต้น
การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement)
เป็นการพยายามทำให้เกิดการตอบสนองเพิ่มขึ้น โดยการ กำจัดสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ออกไป เช่น การกำจัดเสียงดัง การลดการลงโทษ การลดการต่อว่า หรือตำหนิ
สรุป
ให้ผู้รับความรู้รับทราบผลการเรียนรู้ถูกหรือผิดทันที (Feedback)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมแรงทางบวก สร้างความสุขและพึงพอใจแก่ผู้รับความรู้
จัดกิจกรรมให้ผู้รับความรู้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (Interaction) กระตุ้นให้ผู้รับความรู้ รู้สึกอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกให้รับผิดชอบ กล้าแสดงออก ฝึกการแก้ไขปัญหา
มีการสริมแรง ให้รางวัล ส่งเสริม ให้กำลังใจเมื่อผู้รับความรู้มีพฤติกรรมการเรียนรู้หรือมีพฤติกรรมสุขภาพที่ พัฒนาไปในทางที่ดีเหมาะสม
ให้ความรู้เป็นขั้นเป็นตอน(Step by Step) สอนจากง่ายไปยาก
ให้ผู้รับความรู้เรียนรู้สิ่งที่เป็นความรู้พื้นฐานก่อน
จัดกิจกรรมที่ผู้รับความรู้ทำเองได้ ผู้ให้ความรู้เป็นผู้แนะนำ เช่น โปรแกรมแบบเรียนสำเร็จรูป ซึ่งจะกระตุ้นความสนใจ
ผู้ให้ความรู้จะต้องมีความแน่ใจว่าสิ่งที่ต้องการจะให้ความรู้นั้นคืออะไร ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมใด และควรจะมีวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่จะให้ความรู้อย่างชัดเจน