Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์🦠🤰🏻 - Coggle Diagram
9.3 การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์🦠🤰🏻
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงที่พบ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และ ปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน แต่เมื่อใดที่ตรวจพบน้ําดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทํางานผิดปกติ ซึ่งทําให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทําให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกัน ทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป อย่างไรก็ตามหากสตรีตั้งครรภ์มีการติด เชื้อในระยะใกล้คลอด อาจมีการแพร่กระจายเชื้อไปยังทารกในระยะคลอด หรือระยะหลังคลอดได้
การป้องกันและการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาการติดเชื้อ HAV ให้หายได้อย่างเด็ดขาด ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบ ประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ ถึงแม้ว่าเชื้อ HAV จะไม่ผ่านรก แต่หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อใน ระยะใกล้คลอด ทารกมีโอกาสติดเชื้อหลังคลอดได้ ดังนั้นอาจพิจารณาให้ immune serum globulin (ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ หรือรายที่ต้องไปอยู่ในถิ่นที่มีการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อป้องกันหรือลดความ รุนแรงของตับอักเสบไวรัสเอ ส่วนทารกที่คลอดจากสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอดควร ได้รับ ISG ขนาด 0.5 mg แก่ทารกทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
2.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.2 รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
2.3 มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
เกิดจากการติดเชื้อ hepatitis A virus ซึ่งเชื้อไวรัสสามารถทําให้ตับเกิดการอักเสบ ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ําที่ มีการปนเปื้อนเชื้อโรคตับอักเสบเอเข้าไป เชื้อไวรัสจะผ่านกระเพาะไปยังลําไส้ จากนั้นประมาณ 15-50 วัน (เฉลี่ย 28 วัน) เชื้อจะกระจายเข้าสู่ตับทําให้ตับเกิดการอักเสบเฉียบพลัน
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus ผ่าน ทางเลือด น้ําลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ํานม และผ่านทางรก เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะ แบ่งตัวได้รวดเร็วส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง โดยผู้ที่ติดเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการของตับอักเสบทําให้ ไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย แต่ตับยังคงมีการอักเสบเรื้อรังอย่างต่อเนื่องทําให้กลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับในอนาคต
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน) ดังนั้นในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่ม ด้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เส่ยี งที่ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามี โอกาสที่จะติดเชื้อได้ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นบวกจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสตรี ตั้งครรภ์ไปสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 90 และสามารถพัฒนาเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคตในขณะที่ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นลบจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อเพียงร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 20 เท่านั้น
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อและอยู่ในระยะที่มีอาการ จึงควรแนะนําให้พักผ่อนอย่าง เพียงพอรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำย่อยง่ายให้พลังงานสูงในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจยีน ดูแลให้ได้รับยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การ ดําเนินของโรค แผนการรักษาพยาบาลที่จะให้แก่สตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และแนะนําการสังเกตการณ์ดิ้นของทารกในครรภ์ อาการผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้น หากพบต้องรีบมาโรงพยาบาลทันที
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ประเมินการเต้นของ หัวใจทารกในครรภ์ ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด และสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ําคร่ำและการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ําคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้ มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทําให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ทําความสะอาดทารกทันทีที่คลอด เพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง
ระยะหลังคลอด
1.ไม่จําเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารกเนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านน้ํานมพบได้น้อยมาก แต่หากมารดาหลังคลอดมีหัวนมแตกและมีการอักเสบติดเชื้อของหัวนม อาจแนะนํา ให้งดให้บุตรดูดนมเพราะอาจแพร่กระจายเชื้อสู่ทารกได้
แนะนําการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของ ร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ําคาวปลา การล้างมือให้สะอาดก่อนการดูแลทารกเพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ rubella virus (german measles virus) โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ มีระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะติดเชื้อ 7 วัน ก่อนผื่นขึ้นและ 4 วันหลังผื่นขึ้น หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะ 3-4 เดือนแรกของการ ตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสจะสามารถผ่านไปยังทารก ทําให้ทารกเกิดความพิการแต่กําเนิดที่รุนแรงได
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อม น้ําเหลืองโต ทั้งสองกลุ่มสามารถทําให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้ เชื้อหัดเยอรมันจะเข้าไปทําลายผนังหลอด เลือดและเนื้อรกทําให้เนื้อรกและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงได้แก่ มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อมน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่น ขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย โดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลําตัว แขนขา จนทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว อาการจะเกิดขัดเจนใน วันที่ 7-10 และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ จากนั้นผื่นจะจางหายไป
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทําให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทําให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ปอดบวม กระดูกบาง
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อน ฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และหลังจากให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนําให้สตรีตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่า จะเป็นพาหะของเชื้อหัดเยอรมัน โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน การสัมผัสกับผู้ที่เป็น โรค และอาการแสดงของโรค
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ใน กรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติด เชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกใน ครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้สูง
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำๆ นํามาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตาม ไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อสุกอีใสในผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งมี ภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ พบว่าความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะ อายุครรภ์ใกล้ครบกําหนดคลอดจะยิ่งอันตราย ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 40 จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม ทําให้ระบบหายใจล้มเหลว
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้
การติดเชื้อปริกําเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในราย ที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน เนื่องจากหากเป็น โรคก่อนคลอด 5 วัน จะยังไม่มีภูมิคุ้มกัน (antibody) ในมารดามากพอที่จะส่งไปช่วยป้องกันในทารก
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์ โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ หรือการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการ ฉีดวัคซีน เนื่องจากวัคซีนสุกใสที่ได้รับเป็นวัคซีนที่มีชีวิต หากเกิดการตั้งครรภ์ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทํา ให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพ ร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกําลังกายสม่ำเสมอ และทําจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานต่อโรค
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การ แพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันที หลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากมารดา
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลัก universal precaution ในการสัมผัส น้ําคาวปลา แนะนําให้แยกของใช้สําหรับมารดา และทารก เน้นเรื่องความสะอาด
กรณีพ้นระยะการติดต่อ หรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้ว สามารถแนะนําเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกําลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndrome คือ ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจ ได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด อาการในเด็กทารกมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน ถึงอาการที่รุนแรง ทางสมองและระบบประสาท
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลง หากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่ มีการติดเชื้อซ้ำหรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์ จะมีทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้น ทําให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ําคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกําหนด น้ําหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด ส่วนทารกแรกเกิดนั้นอาจไม่มีอาการแสดงใด จนถึงมีอาการรุนแรง hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiae, microcephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineural hearing loss
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การ ดําเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล รวมถึงเปิดโอกาสให้ซักถาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ คลายความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือในการรักษา
3.แนะนําและเน้นย้ำให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสําคัญของ การมาตรวจตามนัดหลังคลอด
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายที่ รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกําเนิด ถุงน้ําคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ กรณีทื่ทารกมีการติดเชื้อแต่กําเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสําคัญ คือ ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อสมองและตาจะถูกทําลาย
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม และให้กําลังใจในการรักษา
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที จากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก ต้องรีบพามาพบแพทย
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตาม ตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมี อาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และ บางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด อาการอื่น ๆ ที่พบ คือ อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา คือความผิดปกติเกี่ยวกับ ระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด นอกจากนี้ภาวะศีรษะเล็กในทารกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทหลักที่พบได้
การพยาบาล
ให้คําแนะนําในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อาการและอาการแสดงของโรค ความรุนแรงของโรค วิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าบุคคลในบ้านป่วยเป็นโรคโดยเฉพาะสตรี ตั้งครรภ์ และการป้องกันโรค
อธิบายเกี่ยวกับการดําเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การวินิจฉัย และการดูแลรักษาให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป ทั้งนี้ให้ยึดหลัก universal precaution เมื่อทารกคลอด ให้รีบดูดน้ําคร่ำและสารคัดหลั่งที่อยู่ในคอ ช่องปาก และจมูกของทารกออกมาให้สะอาด
โรคโควิด-19กับการตั้งครรภ์(COVID-19duringPregnancy)
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้น ไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้นเนื่องจากภูมิต้านของร่างกายขณะตั้งครรภ์ลดต่ำลง สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําคร่ำแตกก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด การติดเชื้อ COVID-19 ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด หรือตรวจพบภายใน 7 วันหลังคลอดได้ ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
1.1 หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันเป็นจํานวนมาก
1.2 รักษาระยะห่าง social distancing ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ด้วยการอยู่ห่างกัน 1-2 เมตร
1.3 หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
1.4 รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ หรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
1.5 หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น
1.6 ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ําสะอาดนานอย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งที่มีการไอจาม สัมผัสสิ่งแปลกปลอม ก่อนรับประทานอาหาร หรือออกจากห้องน้ํา หากไม่มีสบู่ ให้ใช้แอลกอฮอล์เจล 70 เปอร์เซ็นต์
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19
2.1 แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
2.2 งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จําเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นใน ระยะใกล้กว่า 2 เมตร
2.3 กรณีครบกําหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการ เฝ้าระวัง 14 วัน เพื่อพิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่
2.4 กรณีเจ็บครรภ์คลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
สรุป
ขณะตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการตอบสนองต่อเชื้อโรคได้น้อยลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ที่ทําให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง จึงทําให้สตรีตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค ไวรัส และ แบคทีเรีย ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นขณะที่ตั้งครรภ์ หรือสตรีที่เคยมีประวัติของการติด เชื้อมาก่อนการตั้งครรภ์จะทําให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือโรคกําเริบได้ง่ายขณะที่ตั้งครรภ์ การ ประเมินและการวินิจฉัยโรคจากการซักประวัติ การคัดกรอง การตรวจต่างกาย และการเตรียมส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการส่งตรวจพิเศษต่าง ๆ เป็นบทบาทหน้าที่ของพยาบาลผดุงครรภ์ที่ควรใส่ใจ และคัดกรองอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อการตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดได้ และเป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาลและปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพดีของสตรีตั้งครรภ์และทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพ