Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มทฤษฎีการเชื่อมโยง สิ่งเร้า –ตอบสนอง - Coggle Diagram
กลุ่มทฤษฎีการเชื่อมโยง สิ่งเร้า –ตอบสนอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์(Edward Lee Thorndike)
นักการศึกษา และจิตวิทยาชาวอเมริกาเชื่อว่าทฤษฏีสัมพันธ์เชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไว้นอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมว พยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
กฎการเรียนรู้ 3 กฎ
กฎแห่งการฝึกหัด ( Law of Exercise)
กล่าว่า บุคคลได้กระทำ หรือฝึกฝนและทบทวนบ่อย ๆ จะทำได้ดีและ เกิดความชำนาญ
กฎแห่งผล ( Law of Effect)
คือรางวัลหรือความสมหวัง จะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้นมากขึ้น แต่การทำโทษหรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness)
ความพร้อมของร่างกาย ถ้าพร้อมแล้วได้กระทำจะเกิดความพอใจ แต่ถ้าหากพร้อมแล้วไม่ได้กระทำหรือไม่พร้อมแต่ถูกบังคับให้กระทำจะเกิดความรำคาญใจ
สรุป
แจ้งให้ผู้รับความรู้ทราบเรื่องที่จะให้ความรู้ วัตถุประสงค์ แผนการให้ความรู้ เนื้อหา กิจกรรม สื่อและการ ประเมินผล
จัดกิจกรรมการให้ผู้รับความรู้ได้มีประสบการณ์หรือฝึกทดลองปฏิบัติด้วยตนเองกระตุ้นให้ผู้รับความรู้ กระทำพฤติกรรม
เปิดโอกาสให้ผู้รับความรู้ได้เรียนรู้แบบสนุกสนาน
มีการสำรวจความพร้อมของผู้รับความรู้
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการให้ความรู้ทางสุขภาพ
เมื่อผู้รับความรู้เกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้ให้ความรู้ควรกระตุ้น/ติดตามให้ผู้รับความรู้ ได้ฝึกการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วนั้นไปใช้
ผู้ให้ความรู้ต้องศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้า หรือรางวัลที่ผู้รับความรู้พึงพอใจ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Clark L. Hull)
นักวิทยาศาสตร์ สนใจและศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในแนวของแรง ขับ(drive) ทางชีวภาพ แรงขับของความหิว ความกระหาย แรงขับทางเพศ แรงขับของความไม่พอใจ ฮัลล์ กล่าวว่า การ เรียนรู้จะเกิดขึ้นถ้าทำให้แรงขับของร่างกายลดลง และการลดลงของแรงขับนี้จะมีได้ก็ต่อเมื่อร่างกายได้รับสิ่งที่ต้องการและ พึงพอใจ การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย
การประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้ทางสุขภาพ
จัดกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
คำนึงถึงความต้องการของผู้รับความรู้เป็นสำคัญ
การให้ความรู้เริ่มจากทักษะที่ง่ายไปยาก เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
เน้นองค์ประกอบระหว่างบทเรียน เนื้อหา กิจกรรม
สื่อมีความเหมาะสมกระตุ้นความสนใจผู้รับความรู้
ให้เสริมแรง รางวัล ยกย่องชมเชย เมื่อผู้รับความรู้
แสดงพฤติกรรมการรับรู้ที่เหมาะสม สอดคล้อง วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
กำหนดเนื้อหาการให้ความรู้ให้เหมาะสมกับเวลา
เพราะถ้าใช้เวลามากผู้รับความรู้จะเบื่อ เกิดความไม่พึง พอใจได้
คำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้รับความรู้แต่ละวัยจะรับได้ดีที่สุด
ควรให้ทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย
เพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้รับความรู้